APCEIU เกาหลีใต้ ให้ทุนโครงการ EIU Best Practices 2014

APCEIU เกาหลีใต้ ให้ทุนโ


ศูนย์ความเข้าใจอันดีในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก(Asia-pacific Centreof Education for InternationalUnderstanding:APCEIU)สาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินให้ทุนในโครงการEIU(Educationfor International Understanding) Best Practices ประจำปี 2014 

โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการเกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อนำไปเผยแพร่ยังภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ จะได้รับเงินรางวัล 1,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ต่อไป

 
หากผู้ที่สนใจผู้ใดมีผลงานการสร้างนวัตกรรมในการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ EIU โดยอาจดำเนินโครงการในลักษณะการอบรมครู กิจกรรมในชั้นเรียน หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดในการส่งเสริมการเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต้องดำเนินการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี

ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้เคยเข้าร่วมโครงการของ APCEIU เช่น การร่วมประชุม การเข้าอบรม หรือเคยเป็นผู้ได้รับทุนหรือเข้าร่วมโครงการของ APCEIU

 
ทั้งนี้ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ ที่นี่ และกรุณาส่งใบสมัครไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ 

ภายในวันที่ 30 เมษายน 2557 พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารไปยัง e-mail : rpunpukdee@hotmail.com  

สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.unescoapceiu.org  หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2628 5646 ต่อ 115

จุฬาฯ จับมือปิโก เปิดตัวนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ทางการศึกษา “Teachers as Learners” เพื่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูไทยทั่วประเทศ

จุฬาฯ จับมือปิโก เปิดตัว
 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์เปิดตัว Teachers as Learners นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ทางการศึกษา ในรูปแบบสื่อดิจิตอลผ่านทางยูทูป เฟซบุ๊ค และโมบาย แอพพลิเคชั่น มุ่งการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ให้กับครู นำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่  21 เป็นของขวัญสำหรับครูไทยทั่วประเทศ

Teachers as Learners เป็นนวัตกรรมที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์ ถ่ายทอดแนวทางการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ โดยสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ อันประกอบด้วย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางทฤษฎีการศึกษา ครูผู้เชี่ยวชาญการสอน และนิสิตฝึกสอน ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้เข้มแข็ง เผยแพร่ผ่านสื่อดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ขณะนี้เผยแพร่รายการผ่านยูทูป เฟซบุ๊ค และโมบาย แอพพลิเคชั่นแล้ว

นวัตกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ คือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาคเอกชน คือ ปิโก(ไทยแลนด์) ในลักษณะ Public and Private Partnership (PPP) เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชน ดำเนินการในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีตัวอย่างจากหลายประเทศ ที่พบว่า ความร่วมมือลักษณะดังกล่าว ให้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน หากมีการออกแบบมาให้สอดคล้องต่อสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้น

Teachers as Learners มุ่งหวังให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาทั้งองค์ความรู้ในเรื่องวิชาการ ศาสตร์การสอน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่แก้ปัญหาในชั้นเรียนได้จริง โดยเชื่อมโยงความรู้ระหว่างทฤษฎี (Theory) ในสถาบันทางครุศึกษา กับ ความรู้ทางการปฏิบัติ (Practice)ในห้องเรียน ให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และหวังสร้างผลกระทบวงกว้างโดยอาศัยสื่อรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นวัตกรรมนี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการอย่างเป็นทางการว่า “การพัฒนาชุมชนครูผู้เรียนรู้บนฐานนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางการศึกษา” โดยครุศาสตร์ จุฬาฯมีบทบาทหลักในการสร้างสรรค์เนื้อหา องค์ความรู้ส่วนวิชาการและสนับสนุนวิทยากร ส่วน ปิโก (ไทยแลนด์) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอ ผลิตและเผยแพร่รายการดังกล่าว

 
จุฬาฯ จับมือปิโก เปิดตัว
 
รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง  คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “Teachers as learners เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู บนฐานความร่วมมือจากทางภาครัฐ และเอกชน ที่หน่วยงานใดมีจุดเด่นที่ใด ก็นำจุดเด่นของตนเองมาสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาไทย คือ ครุศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะสถาบันครุศึกษาชั้นนำของประเทศมีองค์ความรู้ทางการศึกษามากมาย และก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงมีความพร้อมที่จะมีบทบาทหลักในเรื่องเนื้อหาวิชาการที่เป็นประโยชน์ในการนำไปผลิตรายการ ในขณะที่ ปิโก ก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์รายการให้น่าสนใจ ทันสมัย และเลือกสรรช่องทางเผยแพร่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ดังนั้นความร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ลงตัว นอกจากนี้การชมรายการบนโลกออนไลน์มีข้อดีที่ครูทุกคนสามารถรับชมได้ทุกที่ สามารถเลือกชมรายการใดเมื่อใดก็ได้ตามความสะดวก และยังสามารถโต้ตอบ สื่อสารกันผ่านเฟซบุ๊คและสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพครูร่วมกันได้ด้วย เราหวังว่าการจัดทำรายการนี้จะเป็นประโยชน์กับครูทั่วประเทศและสร้างให้เกิดชุมชนของครูผู้เรียนรู้ได้”
 
จุฬาฯ จับมือปิโก เปิดตัว
 
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา กล่าวถึงรายการ Teachers as Learners ว่า “รายการ Teachers as Learners  เป็นอีกหนึ่งรายการที่อยากแนะนำให้ครูได้ดู สิ่งที่น่าสนใจมากคือ Teachers as Learners เน้นการเรียนรู้ที่จะพัฒนาการเรียนการสอนของครู ซึ่งเป็นหัวใจการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง ที่ครู อาจารย์ นักการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาร่วมมือรวมพลังกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติวิชาชีพครูที่มีประสิทธิผล การเรียนรู้ร่วมกันของโปรแกรมนี้ไม่เพียงแต่จะนำไปสู่การสร้างความรู้ และความเข้าใจในการปฏิบัติวิชาชีพที่ชัดเจนและนำไปใช้ได้ผลจริงอย่างยั่งยืน แต่ให้ความสำคัญของการคลี่กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นเชื่อมโยงไปสู่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียนสู่ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น  หากลองสังเกตแนวทางพัฒนาการศึกษาของประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษา  เช่น  Academy of Singapore teachers ของสิงคโปร์ ที่เน้นการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง ให้ครูทุกคนในโรงเรียนเป็นทีมที่ร่วมมือรวมพลังกันเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน การเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิด ความรู้สึกผูกพันกับวงจรสะท้อนคิด และส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างลึกซึ้งจากการแบ่งปันประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน  ที่สำคัญนำสู่การพัฒนาวิชาชีพที่ยั่งยืน นอกจากนี้เนื้อหาของรายการเป็นประโยชน์แก่บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ตั้งแต่ นักศึกษาครู คณาจารย์ในคณะครุศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูประจำการ อันจะเป็นแนวทางในการสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่เข้มแข็งต่อไปได้”
 
จุฬาฯ จับมือปิโก เปิดตัว
 
นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บริษัทชั้นนำด้านการจัดอีเวนท์ และผู้นำด้านการสื่อสารองค์ความรู้กล่าวว่า “ นอกจาก EDUCA หรือ มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูที่ปิโกจัดขึ้นทุกปีแล้ว ปิโกยังมุ่งมั่นที่จะในเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือหรือ platform อื่นๆ และด้วยศักยภาพของบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพในเรื่องการผลิต สร้างสรรค์รายการ และเผยแพร่ผ่านสื่อดิจิตอล ดังนั้น ในความร่วมมือครั้งนี้กับคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จึงถือเป็นความร่วมมือแบบ PPP ในเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครู บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในคุณภาพการสร้างสรรค์ ผลิตและเผยแพร่รายการ ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดทั้งจากการจัดงาน EDUCA และการมีส่วนร่วมในการผลิตและเผยแพร่รายการในโครงการโทรทัศน์ครู และหวังว่า Teachers as Learners จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนวิชาชีพครูที่เข้มแข็ง เพราะ ครู คือบุคคลสำคัญที่ต้องเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ และผลักดันให้นักเรียนของตนเรียนรู้ เพื่อเป็นอนาคตของที่สามารถขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไปได้”

รายการ “Teachers as Learners” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ “Teachers as Learners” (2012) ของ ดร.ชารอน ฟีแมน-เนมเซอร์ (Prof.Sharon Feiman-Nemser) ศาสตราจารย์แมนเดล   ด้านศึกษาศาสตร์    มหาวิทยาลัยแบรนดีส์ สหรัฐอเมริกา ที่กล่าวถึงการเรียนรู้ในวิชาชีพครูว่า “ครูต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นต้นแบบการเรียนรู้ที่ดีแก่นักเรียน”

สามารถติดตามชมรายการ และ ร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ได้ทาง YouTube คือ  www. youtube.com/teachersaslearners หรือผ่านทาง Facebook www.facebook.com/teachersaslearners  และ  Application on mobile ที่รองรับทาง IOS และ Andriod ในชื่อ application : Teachers as Learners  สื่อสร้างสรรค์นี้ นับเป็นผลของความตั้งใจจริงของครูผู้รักการเรียนรู้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง เป็นของขวัญให้กับครูและเด็กไทยในปี 2557 นี้

ความงามที่มากกว่าตาเห็น

เรื่อง : นิลุบล  พรพิทักษ์พันธุ์
            
นภกมล  ชะนะ อาจารย์และนักออกแบบเครื่องประดับ
          การได้สนุกกับการขีดเขียนและวาดรูปเล่นบนผนังบ้านในวัยเด็ก ทำให้นภกมล ชะนะ รู้ใจตัวเองมาตั้งแต่ยังอยู่ในวัยซนว่า มีใจรักในทางนี้ ระหว่างเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นก็ได้เรียนรู้ว่า งานที่ตัวเองชอบนั้นมีสาขาวิชารองรับสามารถเรียนต่อจนประกอบอาชีพได้ จึงไม่ลังเลที่จะมุ่งเอาดีทางด้านนี้  นภกมล เลือกเรียนด้านศิลปะที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ จากนั้นก็ศึกษาต่อสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จนจบในปี 2536 ตามด้วยปริญญาโทอีก 1 ใบด้านการออกแบบเครื่องประดับและโลหะภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเท็กซัส เมืองเดนตัน มลรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในปี 2545
          ระหว่างเรียนปริญญาโท ก็ได้ทำงานออกแบบควบคู่กับการเป็นผู้ช่วยสอน เมื่อกลับมาก็ทำงานด้านออกแบบให้กับบริษัท Barse & Co.,Ltd. อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะมาเป็นอาจารย์ด้านการออกแบบเครื่องประดับและโลหะภัณฑ์ กลุ่มวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ซึ่งทำให้มีโอกาสร่วมงานกับโครงการส่งเสริมการออกแบบที่หน่วยงานราชการจัดขึ้นอยู่เสมอ  นภกมลเป็นหนึ่งในนักออกแบบที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการ Global SACICT 2011 ของ ศ.ศ.ป. โดยได้รับมอบหมายให้ออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิก เธอมองหาแรงบันดาลใจในการออกแบบจากแมลงชนิดต่างๆ ด้วยเหตุผลว่า “แมลงเป็นสัตว์ที่น่าสนใจ มีความสลับซับซ้อน น่าค้นหาทั้งในส่วนของรูปร่าง รูปทรง สีสัน และการดำรงชีวิต”
     
สร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจจากงานจักสาน...กำไลที่ซ่อนไว้ซึ่งความอ่อนนุ่น 
           เธอค้นคว้าหาข้อมูลโดยเลือกแมลงหายาก ที่ค้นพบได้ในประเทศไทย เพราะอยากให้แมลงที่เลือกมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบมีความเกี่ยวเนื่องกับประเทศไทยโดยตรง ก่อนมาลงตัวที่ตัวด้วงดินขอบทองแดง เจ้าตัวเล่าว่า “ตัวด้วงที่เลือกนี้ พบกระจายอยู่ทั่วไปในประเทศไทย มีความน่าสนใจทั้งในส่วนของฟอร์มและสีสัน นอกจากจะมีลำตัวสีดำเงา ตัดด้วยขอสีทองแดงอย่างน่ามหัศจรรย์แล้ว ยังมีเท็กซ์เจอร์ที่น่าสนใจคือ พื้นปีกเป็นร่องตื้นๆ เรียงเป็นแถวยาว ส่วนเขาและหนวดก็มีลีลาสวยงาม”
          หลังจากศึกษาลักษณะต่างๆ และสีสันของตัวด้วงจากข้อมูลที่พบแล้ว เธอก็ลองร่างแบบร่างแรก ก็ได้คำแนะนำจาก มร.มาสสิโม่ ซุกกี้ ดีไซเนอร์ชื่อดังของอิตาลี ผู้รับหน้าที่ผู้นำเวิร์คช็อปของโครงการ Global SACICT 2011 ว่า น่าจะตัดทอนรายละเอียดออกไปบ้าง เธอจึงนำเอาส่วนเด่นๆ ของฟอร์มตัวด้วงมาใช้และบางดีไซน์ก็นำสองสามส่วนของตัวด้วงมาผสมผสานกัน ด้วยการทดลองปั้นและสร้างเท็กซ์เจอร์ด้วยดินน้ำมัน สุดท้ายก็ได้งานออกแบบมา 4 เซ็ท เป็นโคมไฟ 1 เซ็ท และแจกัน 3 เซ็ท ดีไซน์บางชิ้นจะมีการผสมผสานวัสดุอื่นๆ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ และสร้างสิ่ง “เซอร์ไพร์ส” ซึ่งเป็นสิ่งที่นภกมลชอบซ่อนไว้ในงานออกแบบของเธอเสมอ
จี้ "เมล็ดพันธุ์วิเศษจากสุวรรณภูมิ 1"
          เมื่อครั้งร่วมงานออกแบบเครื่องประดับในโครงการวิจัยแนวทางในการสร้างนวัตกรรมใหม่ทางการออกแบบเครื่องประดับ หรือที่เรียกว่า Project Glitz ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งประเทศทไทยจัดขึ้นในปี 2552 นภกมลออกแบบแหวนที่มิใช้สำหรับสวมใส่กับนิ้วแบบทั่วไป แต่แหวนของเธอใช้หนีบระหว่างนิ้วเป็นการเตือนให้เราต้องมีสติรู้ตัวในทุกขณะจิต ดั่งคำสอนในพุทธศาสนาและยังออกแบบกำไลที่ได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงและลวดลายของงานจักสานกระบุง ซึ่งมีฐานโครงสร้างเป็นรูปหกเหลี่ยมแต่ปากกระบุงถูกรวบให้เป็นวงกลม โดยตัวเรือนกำไลด้านนอก ทำด้วยเงินเป็นลวดลายจักสาน ที่ละเอียดประณีตแต่สร้างพื้นผิวให้แลดูดินและเก่า โดยผ่านการลงดำ ส่วนด้านในของกำไลเป็นทองเงาวาว และมีการบุด้วยผ้าไหมสีแดงที่เย็บเป็นรูปทรงดอกบัว เพื่อเพิ่มความอ่อนนุ่มยามสวมใส่
แหวนที่ใช้หนีบระหว่างนิ้วเพื่อเตือนให้มีสติ
          “เวลาออกแบบ ชอบให้งานมีเซอร์ไพร์สซ่อนอยู่ทั้งในแง่ของรูปแบบและแนวความคิด อย่างกำไลที่ออกแบบให้ Project Glitz ต้องการสะท้อนให้เห็นความแตกต่างระหว่างความหยาบกระด้างที่เห็นจากภายนอก กับความประณีตพิถีพิถันและอ่อนนุ่มที่ซ่อนอยู่ภายใน เป็นงานที่ต้องพิจารณาลงไปในรายละเอียด เพื่อสัมผัสถึงความงดงาม” อาจารย์บอกเล่าความคิดในการออกแบบ

ที่มา :  Living Thai  ฉบับที่ 4 / 2553

เซลาดอน (Celadon)

Abstract
           Celadon glaze has been made since the ancient times. There are artifacts discovered and studied from various parts of old civilizations such as China , Korean ,Japan and Thailand. It is believed that the characteristic of this ceramic culture was set in China empire during Tsang’s Dynasty. The technique was passed though by generations and had influence on eastern and other western empire due to the uniqueness of the color, touch, and culture. Of course, ancient Sukhothai empire was introduced and it became production since then. The article gives details of history and specific glazing techniques. Characters of the glaze are also described in details.

เซลาดอน (Celadon)
              เซลาดอน หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่เผาอุณหภูมิสูงประมาณ 1,250 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผลิต ภัณฑ์มีเนื้อแกร่ง เช่น สโตนแวร์ (Stoneware) และ พอร์สเลน (Porcelains) ที่เคลือบด้วยน้้าเคลือบสี เขียวอ่อน สีเขียวอมฟ้า สีเขียวอมเทา สีเขียวอมน้้าตาล สีเขียวเข้ม และมักมีรอยรานปรากฏอยู่ในผิว เคลือบเสมอ ค้าว่า เซลาดอนอาจมีที่มาจากการเลียนแบบสีของหยก ซึ่งชาวจีนถือว่า หยกเป็นอัญ มณีล้้าค่า คู่ควรแก่การเป็นเครื่องประดับของกษัตริย์ ซึ่งภาชนะเคลือบเซลาดอนของจีนในยุคแรก จะมีใช้เฉพาะในราชส้านักเท่านั้น ทางแถบตะวันตกเชื่อกันว่า ชื่อนี้ได้มาจากชื่อของตัวละครที่เล่น เป็นคนเลี้ยงแกะที่ชื่อ เซลาดอนซึ่งสวมเสื้อคลุมสีเขียวอมเทาในเรื่อง D’Urfe’s Romance ของ Astree ซึ่งเป็นละครที่ได้รับความนิยมมากใน คริสศตวรรษที่ 17 และเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ เคลือบ สีเขียวดุจหยกของจีนก้าลังเป็นที่นิยมอย่างมากในยุโรป คุณประดิษฐ์ ศรีวิชัยนันท์ กล่าวว่า ทาง เชียงใหม่ เชื่อว่า เซลาดอน มาจากค้าว่า ศิลาที่แปลว่า หิน รวมกับค้าว่า ดลซึ่งเป็นค้าในภาษา สันสกฤต แปลว่า เคลือบบนหินหรือ เคลือบหินก็น่าฟังเพราะ เซลาดอนจัดอยู่ในประเภท เครื่องหิน (Stoneware) ที่เผาด้วยอุณหภูมิสูงจนแกร่งเหมือนหิน
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เซลาดอน ผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน ราวปลาย ราชวงศ์ถัง และต้นราชวงศ์ซ้อง ที่ต้าบลลุงฉวน มลฑลซีเกียง ราวช่วงคริสศตวรรษที่ 6-10 โดยใช้ ขี้เถ้าจากการเผาไหม้ ผสมกับดิน และหินฟันม้า เนื่องจากขี้เถ้ามีคุณสมบัติเป็นด่างจึงท้าหน้าที่ช่วย ให้เคลือบหลอมละลายได้ดี จากนั้นจีนได้พัฒนาการท้าเคลือบเซลาดอนเรื่อยมาจนดีขึ้นเป็นล้าดับ โดยเฉพาะเซลาดอนที่ผลิตจากเตาลุงฉวนนี้ ใช้เนื้อดินละเอียด สีขาวที่ช่วยเพิ่มความสดใสของ เคลือบให้ดูกระจ่าง และมีความลึก ภาชนะที่ผลิตจากเตาลุงฉวนนี้ มีลักษณะเนื้อแกร่งสีฟ้าอมเทา ผิวเคลือบมีลักษณะนุ่ม เรียบเนียนคล้ายผิวของหยก การตกแต่งมีทั้งการแกะลวดลาย การปั้นนูน และการกด ลวดลายในแบบพิมพ์แล้วน้ามาติดบนภาชนะ การผลิตเคลือบเซลาดอนในยุคแรกของ จีน เตาเผาเคลือบเซลาดอนจะถูกควบคุมโดยราชส้านัก และมีใช้กันเฉพาะในราชส้านักเทานั้น ความรู้เรื่องการท้าเคลือบเซลาดอนของจีนได้แพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย ภายหลังจีนได้ผลิตภาชนะเคลือบเซลาดอนเป็นสินค้าส่งออกไปจ้าหน่ายยัง ภูมิภาคต่างๆ และยุโรป
เกาหลีได้รับอิทธิพลการท้าเคลือบเซลาดอนจากจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ราวปลาย คริสศต วรรษที่ 10 โดยมีแหล่งการผลิตอยู่ที่ พูอัน กังจิน ที่อยู่ทางตอนใต้ของเกาหลี การผลิตในยุคแรกมี เพียงเคลือบสีเขียว กระทั่งสมัยราชวงศ์โคเรียว เกาหลีได้น้ารูปแบบแจกันทรงเหม่ผิงของจีนมา
โดย ผศ.ศุภกา ปาลเปรม

           พัฒนา โดยปรับสัดส่วนของแจกันให้ดูอ่อนหวานมากขึ้น แต่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่งและงดงาม โดย ผสมผสานกับเทคนิคการใช้ดินสีขาว และสีด้า มาท้าการตกแต่งด้วยเทคนิคการขูดลวดลายแล้วถม ดินสีขาว สีด้า ลงบนลวดลายที่ขูดไว้จนเต็ม แล้วเคลือบทับด้วยเคลือบเซลาดอน ใสสีเขียว หลังเผา จะได้ภาชนะเคลือบสีเขียวใสคลุมพื้นภาชนะ และเกิดลวดลายที่มีน้้าหนักสีเขียวอ่อนไปจนถึงสี เขียวเข้ม เนื่องจากบริเวณลวดลายที่ถมดินสีขาวจะเกิดค่าน้้าหนักสีเขียวอ่อน ส่วนบริเวณลวดลายที่ ถมดินสีด้า จะเกิดค่าน้้าหนักสีเขียวเข้ม และบริเวณที่เป็นเนื้อภาชนะจะเกิดเป็นค่าน้้าหนักสีเขียว กลาง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเกาหลี และเรียกเทคนิคนี้ว่า สังกัม(Inlaid Celadon)
page3image4680
             ญี่ปุ่น รับอิทธิพลการท้าเซลาดอนจากจีน ในราว คริสศตวรรษที่ 13 โดยมีเมือง เซโตะ เป็น ศูนย์กลางกลางผลิตภาชนะเคลือบเซลาดอนแหล่งใหญ่ นอกจานี้ ญี่ปุ่น ยังรับอิทธิพลการท้าเคลือบ เซลาดอนส่วนหนึ่งมาจากช่างปั้นเกาหลีที่อาศัยในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกกวาดต้อนมาขณะ ท้าสงคราม เคลือบเซลาดอนของญี่ปุ่นในยุคแรกเป็นภาชนะเคลือบใสสีน้้าตาล จากนั้นญี่ปุ่นได้ พัฒนาผสมผสาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น
       จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตภาชนะเคลือบเซลาดอน ในสมัยสุโขทัย ช่วงระหว่าง คริสศตวรรษที่ 13-15 สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลการท้าจากจีนเช่นกัน โดยมีแหล่งการผลิตแหล่งใหญ่อยู่ที่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และแพร่กระจายขึ้นไปทางภาคเหนือ เช่น แหล่งเตาสันก้าแพง แหล่งเตาเวียงกาหลง แหล่งเตาพะเยา และแหล่งเตาพาน จังหวัดเชียงราย เป็น ต้น รูปแบบเซลาดอนของไทยในสมัยสุโขทัย มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาชนะที่ผลิตจากเตาลุงฉวน ของจีนมาก ต่างกันที่ลักษณะรูปทรงภาชนะและลวดลายสีน้้าตาลที่เขียนบนพื้นสีขาว ซึ่งเป็น ลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของสุโขทัย นอกจากนี้ลักการใช้พู่กันเขียนลวดลายก็แตกต่างจากการเขียน ลวดลายแบบจีน ซึ่งช่างจีนมักใช้พู่กันเล่นสีตวัดเส้นอย่างมีความช้านาญตามแบบอย่างของจีน ส่วน ช่างไทยจะใช้วิธีเขียนแบบเลี้ยงเส้น ลวดลายที่นิยมเขียน ได้แก่ ลายปลา ลายดอกไม้ ลายจักร และ ลายสังข์ เป็นต้น นอกจาการเขียนลวดลายดังกล่าวแล้ว ยังมีการขูดแกะลวดลาย และปั้นนูนด้วย เช่นกัน การผลิตภาชนะเซลาดอน ของสุโขทัย ส่วนใหญ่ผลิตเป็นภาชนะใช้สอย ประเภท จาน ชาม และจากหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่าสุโขทัย จากหลักฐาน มีการพบภาชนะเซลาดอนของ สุโขทัยตามแหล่งชุมชนต่างๆ จึงสันนิษฐานว่ามีการผลิตภาชนะเซลาดอนเป็นสินค้าจ้าหน่ายภาย ในประเทศ บริเวณรอบอ่าวไทย และยังส่งออกไปจ้าหน่ายยังประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศอินโด นีเซีย ประเทศฟิลิปินส์ ประเทศมาเลเซีย และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
         ส่วนผสมของเคลือบเซลาดอนในยุคโบราณจะใช้ขี้เถ้าที่ได้จากไม้เป็นวัตถุดิบหลัก เนื่อง จากขี้เถ้าไม้จะมีส่วนประกอบของธาตุที่เป็นด่างในปริมาณมาก ประกอบกับ อลูมินา และซิลิกา ปริมาณเล็กน้อย ซึ่งขี้เถ้าพืชแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของธาตุที่แตกต่างกันไป ดังนั้นขี้เถ้าพืช เกือบทุกชนิดจึงหลอมลละลายได้ง่ายในอุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียสขึ้นไป กลายเป็นเคลือบได้ ตามธรรมชาติ โดยสังเกตได้จากการเผาภาชนะในเตาฟืน ขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไหม้จะปลิวไปเกาะ บนผิวชิ้นงานและหลอมกลายเป็นแก้วฉาบติดอยู่บนผิวชิ้นงาน และเพื่อให้สามารถควบคุมให้ เคลือบหลอมละลายในระดับอุณหภูมิที่ต้องการ จึงได้น้าขี้เถ้ามาผสมกับวัตถุดิบอื่น เช่น หินฟันม้า และดิน เป็นต้น
สูตรเคลือบเซลาดอนสมัยสุโขทัยเตรียมจาก ขี้เถ้าไม้ ผสมกับดินผิวนา ซึ่งในปัจจุบัน โรงงานที่ท้าผลิตภัณฑ์เซลาดอน ในจังหวัดเชียงใหม่ยังใช้อยู่ ได้แก่
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 1 (.เสริมศักดิ์ นาคบัว :....) ขี้เถ้าไม้เนื้ออ่อน 25 %
ขี้เถ้าไม้เนื้อแข็ง 25 %
ดินผิวนา 50 %
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 2 (รศ.ไพรจิตร อิ่งศิริวัฒน์ : 149) ขี้เถ้าไม้ก่อ 15 %
page5image6216
ขี้ไม้รกฟ้า 15 %
ดินผิวนา 20 %
เฟลด์สปาร์ 50 %
Red Iron oxide 1 %
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 3 (รศ.ไพรจิตร อิ่งศิริวัฒน์ : 150) ขี้เถ้าไม้ก่อ 30 %
ขี้ไม้รกฟ้า 10 %
ดินผิวนา 60 %
Red Iron oxide 1 %
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 4 (รศ.โกมล รักษ์วงศ์ : 186) ขี้เถ้าไม้ยางพารา 30 %
ดินเหนียวสุราษฎร์ 4%
หินปูน 11%
หินฟันม้า 53 %
Red Iron oxide 2 %
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 4 (รศ.โกมล รักษ์วงศ์ : 186) ขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ 30 %
ขี้เถ้าเปลือกหอย 10 % ดินเหนียวบางระจัน 20 %
หินฟันม้า 40 % นอกจากสูตรเคลือบเซลาดอนที่เตรียมจากขี้เถ้าไม้เป็นส่วนผสมหลักและเผาในบรรยากาศ
รีดักชันแล้ว ยังมีผู้คิดค้นการท้าเคลือบเซลาดอนที่น่าจะเรียกว่าเซลาดอนเทียม หมายถึงเคลือบสี เขียวที่เผาในบรรยากาศแบบออกซิเดชัน โดยใช้ Copper oxide หรือ Copper carbonate เป็นสารให้ สี ได้แก่ ตัวอย่างสูตรเคลือบดังต่อไปนี้
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 5 (รศ.ไพรจิตร อิ่งศิริวัฒน์ : 151) โพแทสเฟลด์สปาร์ 25 %
หินปูน 28% โดโลไมท์ 3% ดินขาว 27%
ซิลิกา 17% คอปเปอร์ออกไซด์ 0.5 %
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 6 (ผศ.ศุภกา ปาลเปรม ) เนฟฟารีน ไซยาไนท์ 90 %
แบเรียมคาร์บอเนต 5% แคลเซียมคาร์บอเนต 5% คอปเปอร์ออกไซด์ 0.5 %
เคลือบเซลาดอนสูตรที่ 7 (ผศ.ศุภกา ปาลเปรม ) เนฟฟารีน ไซยาไนท์ 35 %
ซิลิกา 35%
โดโลไมท์ 15 % แคลเซียมคาร์บอเนต 4%
ซิงค์ ออกไซด์ 3 % ดินขาว 8 %
คอปเปอร์ออกไซด์ 0.5% สีเขียวของเคลือบเซลาดอนเกิดจากธาตุเหล็กที่อาจผสมอยู่ในขี้เถ้าพืช หรือในดินที่ใช้เป็น
ส่วนผสมของเคลือบ หรืออาจเป็นแร่เหล็ก (Iron oxide) ที่เติมลงไปในส่วนผสมของเคลือบเพื่อเพิ่ม ความเข้มของสีเคลือบ โดยปกติแร่เหล็กที่ใช้ผสมเคลือบถ้าเผาในบรรยากาศออกซิเดชัน(Oxidation) จะให้สีน้้าตาลเหลือง น้้าตาลอ่อน ไปจนถึงน้้าตาลเข้ม และแดงเลือดนก ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ผสม และถ้าเผาในบรรยากาศรีดักชัน (Reduction) จะให้สีเขียวอ่อนไปจนถึงสีเขียวเข้ม และสีน้้าตาลเทม โมกุ (Temmoku) การเปลี่ยนจากสีน้้าตาลเป็นสีเขียวนั้นเนื่องจากเหล็กเกิดการเปลี่ยนรูปจาก Ferric ไปเป็น Ferrous ดังสมการต่อไปนี้
Fe2O3 + CO 2FeO + CO2 หรือ Red Iron oxide + Carbon monoxide Black Iron oxide + Carbon dioxide
ลักษณะผิวเคลือบเซลาดอน จะมีตั้งแต่ ผิวทึบกึ่งด้านกึ่งมัน ไปจนกระทั่งใสเหมือนแก้ว ซึ่ง ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของเคลือบ และระดับอุณหภูมิที่เผา สีเขียวของเคลือบเซลาดอน จะใช้ เหล็กออก ไซด์ผสมในเคลือบ ปริมาณ 1-2 % จะให้สีเขียวอ่อน หรือสีฟ้าอ่อน ถ้าผสมเหล็กออกไซด์ในเคลือบ
page7image8896 page7image9056
ปริมาณ 4-6 % จะให้สีเขียวเข้มอมน้้าตาล หรือสีเขียวขี้ม้า ถ้าผสมเหล็กออกไซด์ในเคลือบปริมาณ 10-15 % จะให้เคลือบสีน้้าตาลด้าเทมโมกุ
รอยรานของผิวเคลือบเซลาดอน เกิดขึ้นเนื่องจาก สัมประสิทธิ์การหดขยายตัวระหว่างเนื้อ ดินปั้นและน้้าเคลือบแตกต่างกัน และเนื่องจากในส่วนผสมของเคลือบเซลาดอนจะมีสารจ้าพวกด่าง ผสมอยู่ในปริมาณมาก มีผลให้เคลือบเกิดการขยายตัวหลังการเผาสูง จึงมักปรากฏมีรอยรานเกิดขึ้น ในผิวเคลือบเซลาดอนเสมอ และช่างปั้นอาจใช้เทคนิคการฝังสีลงตามรอยรานด้วยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ หมึกจีนป้ายตามรอยรานของเคลือบ หรือใช้หมักภาชนะไว้ในกากใบชา หรืใช้น้้าเชื่อมทาลงในรอย รานแล้วน้าไปอบที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส แล้วน้ามาล้างคราบน้้าตาลที่ไหม้ออกให้หมด ขนาดรอยรานของเคลือบขึ้นกับความหนา บางในการเคลือบด้วย เช่น หากเคลือบบางรอยรานจะมี ความละเอียดกว่าเคลือบหนา
ผลิตภัณฑ์เคลือบเซลาดอนของไทย ในปัจจุบันการพัฒนายังไม่ค่อยได้รับคามสนใจจาก ผู้บริโภคมากนัก ซึ่งสังเกตได้จากผลิตภัณฑ์เคลือบเซลาที่ผลิตออกจ้าหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่จะพบว่ารูปลักษณ์ไม่ค่อยเปลี่ยนไปจากเดิมเท่าใดนัก คือเป็นแนวอนุรักษ์ ซึ่งผู้เขียนคิดว่า หากมีการพัฒนาให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น และสามารถน้าไปใช้ประดับตกแต่งให้เข้ากับที่อยู่อาศัย สมัยใหม่ได้ จะเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคกลับมาให้ความสนใจมากขึ้น
บรรณานุกรม
โกมล รักษ์วงศ์, เอกสารคาสอน วิชา 552 4501 นาเคลือบ 2 , ภาควิชาเครื่องปั้นดินเผา คณะเทคโนโลยี
อุตสาหกรรมสถาบนั ราชภฏั พระนคร:กรุงเทพฯ,2538
สุรพล ด้าริห์กุล, เครื่องปั้นดินเผา มรดกไทย, สตาร์ปริ๊น จ้ากัด: กรุงเทพฯ, 2542.
เปี่ยมสุข เหรียญรุ่งเรือง, เอกสารประกอบการสอน : ประวัติศาสตร์เครื่องปั้นดินเผา, มปป
ศุภกา ปาลเปรม
, เอกสารประกอบการสอน วิชา 365 108 เคลือบ, 1ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์
มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร:กรุงเทพฯ,2547
ไพรจิตร อิ่งศิริวัฒน์, รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์ : กรุงเทพฯ, โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์, 2537
เสริมศักดิ์ นาคบัว, เตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาทางภาคเหนือของประเทศไทย : กรุงเทพฯ, คณะมัณฑนศิลป์
มหาวทิ ยาลัยศลิ ปากร,2512
Hamer Frank, The Potter’s Dictionary of Material and Technique. London: Pitman Publishing, 1975 Grebanier Joseph, Chinese Stoneware Glazes, London: Pitman Publishing, 1977
Rhodes Daniel,
Clay and Glazes for the Potter, United States of America: Krause Publications, 2000 www.artsmia.org , 22/10/2551
www.korean-arts.com , 21/10/2551
www.metmuseum.org , 14/10/2551
www.21ceramic.com , 19/8/2551