ปรัชญาและปณิธาน
พุทธศักราช 2530 ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ได้เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของงานศิลปะ จึงมีความประสงค์จะจัดตั้งคณะศิลปกรรมขึ้น ในมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อรองรับนักศึกษาที่มีความสนใจในการเรียนศิลปะและเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการศึกษา ของชาติ อีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากสถาบันต่าง ๆ ของรัฐที่มีอยู่แล้ว จึงมอบหมายให้อาจารย์บัณจบ พลาวงศ์ จัดทำหลักสูตรคณะศิลปกรรมขึ้น ในมหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์บัณจบ จึงได้ติดต่อเชิญ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันต่าง ๆคือ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร , ภาควิชาศิลปศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจาก สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง เข้าร่วมประชุมพิจารณาหลักสูตร
คณะศิลปกรรม (Faculty of Fine & Applied Arts) ซึ่งประกอบด้วย 2 ภาควิชา คือ
1. ภาควิชาวิจิตรศิลป์ (Fine Art)
2. ภาควิชาประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)
โดยแบ่งเป็น 8 สาขาวิชา คือ จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และเครื่อง
เคลือบดินเผา
ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนได้ตังแต่ปีการศึกษา 2530 เป็นต้นมา ต่อมามหาวิทยาลัยรังสิตได้แต่งตั้งให้ อาจารย์บัณจบ พลาวงศ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีกิติคุณ อาจารย์อำนวยวุฒิ สาระศาลิน ดำรงตำแหน่งเป็น คณบดี จนถึงปัจจุบันปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยรังสิต
ได้เปลี่ยนชื่อคณะศิลปกรรม (เดิม) เป็น คณะศิลปะและการออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการปรับปรุง
หลักสูตรและเปิดสาขาใหม่ๆขึ้นเพื่อให้มีความทันสมัย ในองค์ความรู้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันคณะศิลปะและการออกแบบ เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 6 สาขาวิชาในระดับปริญญาตรี คือ
คณะศิลปกรรม (Faculty of Fine & Applied Arts) ซึ่งประกอบด้วย 2 ภาควิชา คือ
1. ภาควิชาวิจิตรศิลป์ (Fine Art)
2. ภาควิชาประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)
โดยแบ่งเป็น 8 สาขาวิชา คือ จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ และเครื่อง
เคลือบดินเผา
ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนได้ตังแต่ปีการศึกษา 2530 เป็นต้นมา ต่อมามหาวิทยาลัยรังสิตได้แต่งตั้งให้ อาจารย์บัณจบ พลาวงศ์ ดำรงตำแหน่งคณบดีกิติคุณ อาจารย์อำนวยวุฒิ สาระศาลิน ดำรงตำแหน่งเป็น คณบดี จนถึงปัจจุบันปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัยรังสิต
ได้เปลี่ยนชื่อคณะศิลปกรรม (เดิม) เป็น คณะศิลปะและการออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการปรับปรุง
หลักสูตรและเปิดสาขาใหม่ๆขึ้นเพื่อให้มีความทันสมัย ในองค์ความรู้ใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ปัจจุบันคณะศิลปะและการออกแบบ เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 6 สาขาวิชาในระดับปริญญาตรี คือ
1.ศิลปภาพถ่าย (Bachelor of Fine Arts Program in Photography)
2.ออกแบบภายใน(Bachelor of Fine Arts Program in Interior Design)
3.ออกแบบนิเทศศิลป์(Bachelor of Fine Arts Program in Visual Communication Design)
4.ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Bachelor of Fine Arts Program in Industrial Design)
5.คอมพิวเตอร์อาร์ต (Bachelor of Fine Arts Program in Computer Art) เปิดหลักสูตร พ.ศ.2542 เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาของไทยเป็นแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรด้านคอมพิวเตอร์อาร์ต,แอนิเมชั่น,ภาพยนตร์,โมชั่นกราฟิก
6.แฟชั่นดีไซน์ (Bachelor of Fine Arts Program in Fashion Design)
เปิดหลักสูตร พ.ศ.2544 เป็นแห่งแรกของไทยที่เน้นการเรียนการสอนด้านการออกแบบแฟชั่นและธุรกิจแฟชั่น
หลักสูตรระดับปริญญาโท มี 2 หลักสูตรคือ
1. สาขาวิชาการออกแบบ (Master of Fine Arts Program in Design)
2. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต (Master of Fine Arts Program in Computer Art)
เปิดหลักสูตร พ.ศ.2550 เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาของในภูมิภาคเอเชียอาร์คเนย์เป็นแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรด้าน
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ในระดับปริญญาโท โดยร่วมมือทางการศึกษากับ บริษัทบ้านอิทธิฤทธิ์
1. สาขาวิชาการออกแบบ (Master of Fine Arts Program in Design)
2. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต (Master of Fine Arts Program in Computer Art)
เปิดหลักสูตร พ.ศ.2550 เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาของในภูมิภาคเอเชียอาร์คเนย์เป็นแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรด้าน
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ในระดับปริญญาโท โดยร่วมมือทางการศึกษากับ บริษัทบ้านอิทธิฤทธิ์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)