หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน (ใกล้อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ )มีกิจกรรมทางด้านศิลปะให้ผู้คนที่เดินสัญจรไปมาบนถนนราชดำเนิน ได้สัมผัสแล้ว ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ระหว่างวันนี้ - 28 เมษายน พ.ศ.2556 เวลา 16.00 - 20.00 น.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้เชิญศิลปินมากหน้าหลายตา มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างสีสันให้กับถนนสายนี้ผ่านงาน ถนนศิลปะราชดำเนิน (Art Street @ Ratchadamnoen) ได้แก่ กิจกรรมสาธิตวาดภาพลายเส้น สาธิตวาดภาพจิตรกรรม สาธิตการสร้างงานประติมากรรม และศิลปะการแสดง โดยศิลปินอิสระและนักศึกษาศิลปะจากหลากหลายสาขาที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาสาธิต และนำเสนอผลงาน | |||
ซึ่งเดิมที การแสดงศิลปะร่วมสมัยนานาชาติแห่งเอเชีย (The Asian International Art Exhibition หรือ AIAE มีขึ้นครั้งแรก เมื่อ ปี 2528 ที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยความร่วมมือกันของศิลปิน 3 ชาติ ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ป่น และไต้หวัน กระทั่งขยายความร่วมมือไปยังอีกหลายประเทศของเอเชีย ด้วยต้องการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนทางศิลปะและวัฒนธรรมระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย อย่างเป็นอิสระ ประเทศไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมครั้งแรก ในแสดงผลงานครั้งที่ 5 ณ ประเทศ มาเลเซีย และปีนี้เป็นปีที่การแสดงผลงานศิลปะในนาม AIAE ดำเนินมาเป็นครั้งที่ 27 แล้ว และมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นอกจากจะมีผลงานศิลปะของประเทศสมาชิกที่มีอยู่มาจัดแสดงแล้ว สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ยังได้เชิญ ศิลปินจากอีกหลายประเทศในเอเชียที่ไม่ได้เป็นสมาชิก อาทิ อิหร่าน อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ ปากีสถาน พม่า ลาว และกัมพูชา มาร่วมแสดงผลงานด้วย รวมเป็นทั้งสิ้น 21 ประเทศ และเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ยังได้จัดให้มีกิจกรรม Asian Artist Workshop ที่ จ.กระบี่ เพื่อให้ศิลปินซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศได้มีโอกาสใช้เวลาสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน และนำผลงานที่เกิดขึ้นระหว่างการเวิร์คชอป มาจัดแสดงร่วมกับผลงานที่หอบหิ้วจากประเทศตน รวมเป็นผลงานศิลปะทั้งสิ้นกว่า 250 ชิ้น ที่ศิลปินจาก 21 ประเทศอาเซียน มีมาให้ ชมฟรี!! ที่...ราชดำเนิน | |||
Celeb Online www.astvmanager.com และ M-Art eye view เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ |
การแสดงศิลปะร่วมสมัยนานาชาติแห่งเอเชีย (The Asian International Art Exhibition หรือ AIA หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
วารสารไทยคดีศึกษาฉบับ "ต่อสู้และต่อรอง"
การต่อสู้ระหว่างชายขอบกับศูนย์กลาง: ประวัติศาสตร์การสร้างอัตลักษณ์รัฐชาติไทย
รศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณิ
บทความนี้เป็นผลจากการกลับไปอ่านข้อมูลและการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยบางช่วงใหม่ จากนั้นจึงวิพากษ์และวิเคราะห์แนวคิดและการปฏิบัติในการสร้างรัฐไทยใหม่ในระยะเปลี่ยนแปลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาถึงต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในประเด็นของการสร้างอัตลักษณ์และการแข็งขืนของหัวเมืองและประเทศราชและพื้นที่ไม่มีรัฐในระยะแรก กรณีที่ใช้ในการศึกษาคืออาณาจักรปะตานีในภาคใต้และอาณาจักรล้านนาในภาคเหนือ คำถามสำคัญได้แก่่อะไรคือมูลเหตุแห่งการสร้างแนวคิดและวาทกรรมใหม่อันเกี่ยวเนื่องกับการสร้างรัฐชาติ ทำไมบรรดาหัวเมืองและประเทศราชหลายแห่งไม่ยอมหรือไม่ต้องการเข้ามาอยู่ใต้อำนาจศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร และอะไรคือปัจจัยในการทำให้สยามบรรลุความสำเร็จในการสร้างรัฐชาติไทยขึ้นมาได้สำเร็จ กรณีศึกษาที่ใช้ในบทความนี้มาจากสองที่คืออาณาจักรปะตานีในภาคใต้สุดกับอาณาจักรล้านนาในภาคเหนือ
รศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณิ
บทความนี้เป็นผลจากการกลับไปอ่านข้อมูลและการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยบางช่วงใหม่ จากนั้นจึงวิพากษ์และวิเคราะห์แนวคิดและการปฏิบัติในการสร้างรัฐไทยใหม่ในระยะเปลี่ยนแปลงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาถึงต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในประเด็นของการสร้างอัตลักษณ์และการแข็งขืนของหัวเมืองและประเทศราชและพื้นที่ไม่มีรัฐในระยะแรก กรณีที่ใช้ในการศึกษาคืออาณาจักรปะตานีในภาคใต้และอาณาจักรล้านนาในภาคเหนือ คำถามสำคัญได้แก่่อะไรคือมูลเหตุแห่งการสร้างแนวคิดและวาทกรรมใหม่อันเกี่ยวเนื่องกับการสร้างรัฐชาติ ทำไมบรรดาหัวเมืองและประเทศราชหลายแห่งไม่ยอมหรือไม่ต้องการเข้ามาอยู่ใต้อำนาจศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร และอะไรคือปัจจัยในการทำให้สยามบรรลุความสำเร็จในการสร้างรัฐชาติไทยขึ้นมาได้สำเร็จ กรณีศึกษาที่ใช้ในบทความนี้มาจากสองที่คืออาณาจักรปะตานีในภาคใต้สุดกับอาณาจักรล้านนาในภาคเหนือ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์กับสังคมไทย กรณี กบฏอ้ายสาเกียดโง้ง พ.ศ. 2358
วราภรณ์ เรืองศรี
วราภรณ์ เรืองศรี
บทความนี้ มีจุดประสงค์ในการทำความเข้าใจขบวนการเคลื่อนไหวซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมืองช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เพื่อไขปริศนาของการเคลื่อนไหวภายใต้ข้อจำกัดของถ้อยความคิดเดิมซึ่งให้ความสำคัญต่อขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวในลักษณะสัมพัทธ์กับการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหลังจากนั้น ผ่านประเด็นเรื่องการดึงอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางในรัชกาลที่ 5 และการเข้ามาของอาณานิคม
ผู้เขียน ได้หยิบยกกรณีอ้ายสาเกียดโง้งขึ้นมาอธิบาย โดยพิจารณาทั้งความเป็นมาของกลุ่ม ตลอดจนชีวิตทางวัฒนธรรมของผู้เข้าร่วมที่สัมพันธ์กับมิติความเชื่ออยู่ก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่ม “ข่า” ผู้เข้าร่วมหลักของขบวนการ ซึ่งจัดว่าเป็น “ไพร่ส่วย” และต้องส่งส่วยให้กับผู้ปกครองท้องถิ่นและรัฐสยาม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง ข่า กับ ผู้นำ (สาเกียดโง้ง)
บทความนี้เสนอข้อค้นพบว่าการรวมตัวของข่ามิได้เกิดจากความเชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ของผู้นำหรือ “โลกหน้า” เพียงอย่างเดียวหากต้องเป็นการปฏิบัติจริงใน “โลกนี้” ซึ่งผู้นำต้องสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในลักษณะความเชื่อในพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยม ที่เกิดขึ้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย ผู้เขียนจึงตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า การเคลื่อนไหวซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์และกบฏผู้มีบุญในยุคก่อนต้นศตวรรษที่ 25 เป็นดั่งภาพสะท้อนของการปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ของชนชั้นนำที่มีลักษณะของการหยิบยืมลักษณะผู้นำในวัฒนธรรมของชนชั้นล่างมาปรับใช้ เพราะฐานความคิดเรื่อง “โลกนี้-โลกหน้า” และ “อภินิหาร-มนุษยนิยม” ต่างเป็นส่วนหนึ่งของระบบวัฒนธรรมที่ไม่สามารถแยกขั้วออกจากกันได้อย่างชัดเจนนั่นเอง
คนไทยมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับแหล่งน้ำโดยตั้งบ้านเรือนกระจุกตัวอยู่ตามริมน้ำ เพื่ออาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ และลำคลอง เป็นน้ำกินน้ำใช้ในครัวเรือนและเพื่อการเพาะปลูก รวมทั้งใช้ลำน้ำลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ใช้เป็นช่องทางระบายของเสียและโสโครกจากครัวเรือนไปด้วยในตัว คนไทยดำรงชีวิตในรูปแบบนี้มาแต่ครั้งโบราณ จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจจากระบบผูกขาดเป็นระบบการค้าเสรี เนื่องจากผลของการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองใหม่ร่วมสมัยตะวันตก ดังพบว่ากรุงเทพมหานครมีการขยายพื้นที่เมืองให้กว้างขวางออกไป เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นไปอย่างสลับซับซ้อน มีชนชั้นกลางเกิดขึ้นโดยมีรูปแบบวิถีชีวิตแตกต่างไปจากชนชั้นเจ้าและชนชั้นสามัญ แม้สังเกตจากรูปแบบของน้ำกินน้ำใช้ในชีวิตประจำวันก็สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างชนชั้นได้อย่างชัดเจน
การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครนำมาซึ่งปัญหาความสกปรกของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแหล่งน้ำ ทำให้เกิดโรคระบาดที่มากับน้ำสกปรกอยู่บ่อยครั้ง ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเนื่องจากน้ำทะเลหนุนเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาในบางปี สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้สร้างการประปาขึ้นเป็นครั้งแรกในสังคมไทย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งนับเป็นวิธีแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและแสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชวิสัยทัศน์อันยาวไกล ฉับไว และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวิทยาการ แต่เมื่อสังคมไทยมีการประปาขึ้นแล้วก็ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากรูปแบบเดิมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมน้ำ เพื่ออาศัยน้ำจากแม่น้ำและลำคลองสำหรับบริโภคและใช้สอยโดยการตัก วิด หาบ ไข สูบ เก็บไว้ในตุ่ม โอ่ง บ่อ และสระ มาเป็นรูปแบบใหม่โดยคนไทยมีน้ำกินน้ำใช้ที่สะอาดบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อโรค ที่ไหลมาจากท่อ ต่อตรงถึงครัวเรือน สะดวกสบายแต่ต้องจ่ายสตางค์ซื้อ นอกจากนี้การมีประปาน่าจะส่งผลต่อด้านกายภาพในเวลาต่อมา ที่แม่น้ำและลำคลองลดความสำคัญลงในการเป็นแหล่งตั้งบ้านเรือน คนไทยสามารถกระจายตัวไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนได้ในทุกแห่งแม้ในพื้นที่กันดารน้ำ เพราะมีน้ำประปาสำหรับบริโภคใช้สอยแทนน้ำจากแม่น้ำและลำคลอง จึงมิจำเป็นต้องกระจุกตัวอยู่เฉพาะตามริมน้ำริมคลองอีกต่อไป
บทความนี้มุ่งศึกษาการประดิษฐ์สร้างความเป็นไทยในภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก และ ต้มยำกุ้ง ผลการศึกษาพบว่าความเป็นไทยถูกนำเสนอผ่านบทบาทของตัวละครเอก สัญลักษณ์ของชุมชนที่เชื่อมโยงกับสถาบันชาติและศาสนา คตินิยมเอ็กโซติก และสหบทจากภาพยนตร์นานาชาติ จึงกล่าวได้ว่า ปฏิบัติการทางความหมายในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องมุ่งเฉลิมฉลองความเป็นไทยในรูปแบบสินค้าทางวัฒนธรรมในบริบทข้ามชาติ การประกอบกันของความหมายทั้งมวลเป็นสิ่งที่ “แปลก” แต่น่าดึงดูดใจเพราะตอบสนองความเป็นไทยตามจินตนาการของชาวไทยและชาวต่างชาติได้ ทั้งยัง “ปลอม” เพราะมีกระบวนการเปิดเผย-อำพราง เลือกสรร-คัดทิ้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นไทยอันสมบูรณ์แบบในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้
บทความนี้เล่าถึงการทำงานของโครงการพัฒนาชนบทลุ่มน้ำแม่กลอง ปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน ตั้งแต่การประสานงาน การเขียนโครงการและการทำงานโดยสั่งการไปจากเบื้องบน จนถึงการที่เกิดการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ เพราะทีมในสนามได้ทำงานโดยยึดเอาความต้องการและความจำเป็นของชาวบ้านเป็นหลัก จึงเกิดการทำงานเพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านสำนึกในปัญหาของตน และร่วมมือกันหาวิธีแก้ปัญหา ทำให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเองที่จะแก้ปัญหาของตนเองได้
บทความนี้ได้เล่าถึงกระบวนการทำงานใน 6 ตำบลในลุ่มน้ำแม่กลอง ปัญหาในการดำเนินงานในแต่ละแห่ง ความล้มเหลวและความสำเร็จในแต่ละแห่งและบทเรียนในการทำงานพัฒนาพื้นที่ อันได้ถูกพัฒนาและใช้ต่อกันมาจนทุกวันนี้
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง ได้ล้มเหลวในเจตนาเบื้องต้นที่จะสร้างแผนสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตรทั้งลุ่มน้ำ แต่กลับประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างตัวแบบของการพัฒนาชุมชน.
บทความนี้ได้เล่าถึงกระบวนการทำงานใน 6 ตำบลในลุ่มน้ำแม่กลอง ปัญหาในการดำเนินงานในแต่ละแห่ง ความล้มเหลวและความสำเร็จในแต่ละแห่งและบทเรียนในการทำงานพัฒนาพื้นที่ อันได้ถูกพัฒนาและใช้ต่อกันมาจนทุกวันนี้
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง ได้ล้มเหลวในเจตนาเบื้องต้นที่จะสร้างแผนสำหรับพัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตรทั้งลุ่มน้ำ แต่กลับประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างตัวแบบของการพัฒนาชุมชน.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)