ถอดประสบการณ์การเรียนรู้ อ.ดนยา เชี่ยววัฒกี : การเผยแพร่งานวิจัยสร้างสรรค์

 ผู้เล่าเรื่อง      อ.ดนยา เชี่ยววัฒกี        
 บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
.ด้านงานสอน อาจารย์ประจำคณะศิลปะและการออกแบบ
.ด้านงานวิจัยสร้างสรรค์ หัวข้อ ‘รัตนมาลาแห่งกาลเวลา’




ความเป็นมาของเรื่องที่เล่า 
สนใจศึกษาหลักปรัชญาตะวันออก-ตก ศาสนาพุทธสายวัชรยาน เต๋า เซน ชีววิทยา จักรวาลวิทยา
จิตรกรรมฝาผนัง งาน craft งานเย็บปักของชนเผ่าต่างๆ นำมาสร้าง content งาน และอยากพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ
ในการสร้างงาน ค้นคว้าหารูปแบบงานในระดับลึกอย่างเป็นระบบ
วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ใช้  ผู้มีส่วนร่วม อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางการแก้ไข
- ตรวจสอบงานไม่ซ้ำ หาประเด็นที่น่าสนใจ สร้างความแตกต่าง
- ค้นคว้าข้อมูล ภาคสนาม แหล่งเรียนรู้ใหม่ ศาสตร์อื่นๆ ที่แตกต่างจากความรู้เดิม
- ความพยายามที่จะสร้างเทคนิค รูปแบบ content การทดลองใหม่ๆ
- วิธีการทำงานให้เร็วขึ้น เพิ่มคุณภาพและปริมาณของงาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงาน
- การจัดการบริหารเวลา ระเบียบวินัยที่ออกแบบวางแผนโดยตนเอง
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น และสิ่งที่ผู้เล่าเรื่องที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าว
ค้นหาข้อมูลใหม่  ลึก นำไปสู่การสร้างานใหม่ การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงคุณภาพ
และมาตรฐานที่สูงขึ้นศึกษางานระดับปริญญาเอก การจัดระบบการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี เข้าใจหลักการ
เขียนวิจัย การถ่ายทอดโดยคำนึงถึงผู้อ่านงาน
ผู้ที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น
- ผู้บริหาร สนับสนุนให้เวลาทำงาน
- ที่ปรึกษาโครงการวิจัย อาจารย์ ผู้รู้จากหลายแหล่ง
- ผู้ช่วยงานวิจัย
- กลุ่มอาจารย์ พี่ เพื่อน รุ่นน้องวงการศิลปะ ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ความเคลื่อนไหวในวงการศิลปะ
 อุปสรรคหรือปัญหาในการทำงาน และแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว
- ความไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอในการทำงาน ทำให้ล่าช้า
- ปัญหาทางเทคนิค ทำให้ต้องรื้อแก้งาน
- ระบบในการส่งงาน ต้องติดตามข่าวสาร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการหรือกำหนดเวลาแนวทางแก้ปัญหา
- อาจารย์มีความเข้าใจ ติดตามความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะ ทั้งในสถาบัน และต่างสถาบัน
ระดับนานาชาติ มีการติดต่อ ร่วมมือ แลกเปลี่ยน เปิดโลกทัศน์
ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ
- ฝึกกระบวนการอย่างเป็นระบบ นำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพผลงาน
- เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการนำไปปรับใช้กับการเรียนการสอน
- เผยแพร่ และเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเทคนิค แนวทางการสร้างผลงาน
การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จดังกล่าว
- การศึกษาข้อมูลอย่างเข้มข้น โดยได้รับคำปรึกษาจากที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ
- เรียนรู้กระบวนการอย่างเป็นระบบ ถึงแม้งานที่ทำจะไม่ได้มีขั้นตอนตายตัวแบบแผนแน่นอนแต่ทำให้
เกิดการเรียงลำดับความสำคัญเฉพาะตน
         - ความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างต่างสถาบัน เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็ง 
เพื่อนำมาปรับใช้
สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ) ของผู้เล่าเรื่อง
การศึกษาหาความรู้ก่อน ระหว่าง หลัง ทำงานวิจัยและการ Work shop Art ทำให้เกิดพลังผลักดันในการ
ที่จะปรับปรุง และพัฒนาศักยภาพของตน ขยายวิสัยทัศน์ มีความยืดหยุ่น และการปรับตัวที่จะยอมรับสิ่งใหม่
ยอมรับความสามารถของผู้อื่น และยอมรับสิ่งที่ตนไม่รู้ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง