4 องค์ประกอบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี


กรอบคิด "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ถือเป็นหัวใจ ในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่ แต่ทั้งนี้ ต้องเริ่มจากการเข้าใจที่ถูกต้องก่อนว่า มันคืออะไร ง่ายๆ ก็คือ การผลิตสินค้าและบริการ ที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้และคุ้มกับทรัพยากร เพราะทั้งสองอย่างมันต้องไปกันได้
คือ ความคิดสร้างสรรค์ในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการดังกล่าว ต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรด้วย เพราะบางทีคิดเรื่องการเพิ่มมูลค่า แต่ลืมคิดเรื่อง “ทรัพยากร” ก็กลายเป็นทำลาย มากกว่าการสร้างสรรค์
ทำอย่างไรให้ตรงนี้มันเกิดขึ้น ก็มีขั้นตอน
1. ต้องมีระบบการเรียน
การศึกษา การแสวงหาความรู้ที่กระตุ้นให้คนคิด คิดเยอะๆ ที่ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ใช้คำว่า “กระตุกต่อมคิด” คำสั้น ๆ ว่า ต้องเอื้อให้คนเขาอยากคิด มีระบบ มีกระบวนการ มีสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกช่วยให้เค้าอยากคิด สร้างสถาบันให้คนสามารถคิดได้ ให้คนอยากคิดแล้วก็คิดได้ ประเทศต่าง ๆ เขาสร้างสถาบัน สร้าง learning center ห้องสมุดประชาชนที่ไม่ใช่แค่ให้คนไปนั่งอ่านหนังสือพิมพ์
สถาบันที่เราตั้งขึ้นมา อาทิเช่น อุทยานการเรียนรู้ ก็เข้าข่ายนี้ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ก็เข้าข่ายนี้ ถ้าจะมีพิพิธภัณฑ์นี้เกิดขึ้นเยอะ ๆ ก็เข้าข่าย แต่ต้องเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ไม่ใช่แค่พิพิธภัณฑ์การมอง เพราะพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เป็นเชิงของการนำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้สินค้า และบริการได้ เป็นตัวพื้นฐานที่ควรมี ควรมีเอกสารหลักฐานสมุดตำราในรูปแบบต่างๆ ให้คนเอาไปเรียนรู้ได้ มีการจัดกิจกรรม ให้คนเห็นตัวอย่างว่าการทำให้เกิดความคิดมันเกิดได้อย่างไร ตัวอย่างมาจากที่ไหน และผลจากการที่เค้าเกิดความคิดแล้วเป็นอย่างไรบ้าง มีการจัดแสดงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าบริการ การบันเทิง ศิลปะทั้งหลาย ก็เป็นการสร้างสังคมให้เป็นสังคมนักคิด
2. ประดิษฐ์
คิดอย่างเดียวไม่ได้ต้องประดิษฐ์ด้วย ดังนั้น การสร้าง สถาบัน สร้างองค์กร สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนสามารถเอาไปใช้เพื่อช่วยเกิดการประดิษฐ์ คนที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ หรือใครก็ตาม ที่อยากจะประดิษฐ์ สิ่งเหล่านี้ต้องเน้นเรื่องวิศวกรรม เรื่องการใช้สอย เรื่องของวัสดุที่ถูกต้อง วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ศาสตร์ สิ่งเหล่านี้ ซึ่งเราก็สร้างมาพอสมควร แต่มันก็ยังไม่พอหรอกที่จะให้ชาวบ้าน
ยกตัวอย่างที่มีคนบอกว่า OTOP ไม่ใช่เศรษฐกิจสร้างสรรค์เหรอ คำว่า OTOP มันจะไป define ว่า เป็นโครงการ มันทำเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไม่ได้หรอก แต่ว่าการสร้างสถาบันเหล่านี้เพื่อช่วยให้คนที่ทำสินค้าโอท็อปทำสินค้าที่ดู ดี ใช้ดี อันนั้นเป็นโครงการที่สามารถทำได้ ถือว่าเป็นโครงการที่สร้างสรรค์ เพราะตัว OTOP เป็น product จะไปใช้งบประมาณแผ่นดิน ใช้เงินของรัฐ ไม่ได้หรอก แต่ต่อยอดได้ เราจะเห็นว่าสินค้า OTOPในไทยที่ปรากฏอยู่ บางตัวออกแบบก็ดี ใช้ก็ดี บางตัวก็ออกแบบไม่ดี ใช้ไม่ดี ถ้ามีสถาบันเหล่านี้ในที่ต่าง ๆ เป็นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ มันก็จะช่วยเขาสามารถทำได้ดีขึ้น
3. การคุ้มครองสิ่งที่เขาคิด
เขาทำ อันนี้อยู่ในระบบของทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็น ยี่ห้อ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ก็จะเป็นตัวคุ้มครองขึ้นมา ซึ่งในทางปฏิบัติในทางที่เป็นรูปธรรม เวลาที่เขาจะ define ว่า บนสินค้าและบริการตัวใดที่จะเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อันนี้เป็นข้อหนึ่งที่เขาจะ require คือ ต้องมีทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าใดที่ไม่มีทรัพย์สินทางปัญญา ก็ไม่นับ ไม่งั้นก็ตีเส้นไม่ได้ ต้องเข้าอยู่ในลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ถ้าเราจะสร้างองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นอยู่ กรมปัจจุบันให้เค้าสามารถพัฒนาหน่วยงานส่งเสริมการจดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม ถือเป็นโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้
4. ระบบจูงใจ
Incentive ซึ่งมีทั้งในรูปของภาษี และในรูปของการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ใครที่เข้าข่าย ทำแล้วมีทรัพย์สินทางปัญญาก็สามารถที่จะมีสิทธิในการขอส่งเสริมการลงทุน สามารถเข้าถึงกองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ ซึ่งไม่ใช่เงินให้เปล่า แต่เป็นเงินกู้ เงินกองทุนซึ่งต้องมีผลประโยชน์ตอบแทนกลับมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น