1st Asean Art and Civilization Symposium









โครงการสัมมนาวิชาการอารยธรรมและศิลปกรรมอาเซียน ครั้งที่ ๑ ทางคณะศิลปะและการออกแบบ ได้ส่งอาจารย์ดนยา เชี่ยววัฒนกี อาจารย์ศิลปินครุศิลป์รุ่น 1 เข้าร่วมการสัมนาและและปฏิบัติการทางศิลปะในการสัมมนาครั้งนี้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดยสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากสภาศิลปกรรมไทยแห่งสหรัฐอเมริกา โดยศิลปินแห่งชาติกมล ทัศนาญชลี เทศบาลนครพิษณุโลก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดพิษณุโลก สมาคมหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก และบริษัทนานมี จำกัด ในการร่วมกันจัดงานสัมมนาเชิงวิชาการและปฏิบัติการศิลปะอาเซียนครั้งที่ 1 ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 2 ธันวาคม 2554
หลักการและเหตุผล ศิลปะถือได้ว่าเป็นมูลค่าทางปัญญา ที่มนุษย์ ได้สร้างสรรค์ก่อให้เกิดอารยธรรมที่ดีงามต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ศิลปะเป็นสิ่งที่ดีงาม ที่ทาให้ผู้คน กลุ่มคน มีจิตใจที่ดีงาม มีอารยธรรมที่บ่งบอกเป็นมรดกของกลุ่มชนหรือชนชาตินั้น กลุ่มประชาคมอาเซียนประกอบด้วยประเทศ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา กลุ่มประชาคมอาเซียนเหล่านี้ มีการรวมตัวกันของศิลปินจากนานาประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งเป็นผู้รักในการสร้างสรรค์งานศิลปะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการร่วมกัน สร้างสัมพันธภาพที่ดีงามด้านศิลปะระหว่างศิลปินในกลุ่มประเทศด้วยกัน ศิลปินในกลุ่มประเทศอาเซียนล้วนเป็นผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้เป็นมรดกของแผ่นดิน ทาให้เกิดคุณค่าต่อผู้ชื่นชมผลงานและสร้างมูลค่าเพิ่มต่อผู้เกี่ยวข้องต่อไปอีกมากไม่จบสิ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนางานศิลปกรรมในกลุ่มประชาคมอาเซียน 2. เพื่อยกระดับความสามารถของศิลปินไทยสู่เวทีอาเซียนและเวทีโลก 3. เพื่อสร้างสัมพันธภาพ เครือข่าย ระหว่างศิลปินไทยและศิลปินในกลุ่มประชาคมอาเซียน 4. เพื่อสัมมนาแนวคิด การพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในกลุ่มประชาคมอาเซียน 5. เพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบ เนื้อหา กลวิธี พัฒนาผลงานด้านศิลปกรรม สู่ประชาชนในกลุ่มประชาคมอาเซียน กลุ่มเป้าหมาย
เป้าหมายการดาเนินงาน

จานวนผู้เข้าร่วมโครงการ จานวน 650 คน ประกอบด้วย 1. ศิลปินต่างประเทศ จานวน 16 คน 2. ศิลปินในประเทศ จานวน 30 คน 3. ศิลปินแห่งชาติ จานวน 4 คน 4. อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จานวน 100 คน 5.นักเรียน/นักศึกษา จานวน 400 คน 6. ประชาชนที่สนใจ จานวน 100 คน กิจกรรม /

เนื้อหาที่จะดาเนินการ

1. การสัมมนาวิชาการ 2. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 3. การจัดนิทรรศการ
โดยในงานจัดให้มีการสนทนาศิลป์ในหัวข้อ “ศิลปกรรมร่วมสมัย” และการปฏิบัติการทางศิลปะจากศิลปินแห่งชาติศิลปินนานาชาติ ศิลปินไทยที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้า และอาจารย์สอนศิลปะจากมหาวิทยาลัยชื่อดังที่มีการเรียนการสอนศิลปะจากทุกภูมิภาคของประเทศ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุน ส่งเสริมเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้ในงานด้านศิลปกรรมร่วมสมัยของไทย กับสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน ให้ปรากฏออกสู่สาธารณะในส่วนภูมิภาคตอนเหนือของประเทศไทย รวมถึงอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยศิลปินที่จะเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ได้แก่ศิลปินแห่งชาติไทย คือ ศาสตราจารย์เดชา วราชุน อาจารย์นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน และอาจารย์ธงชัย รักประทุม ศิลปินนานาชาติ ได้แก่ ศิลปินชาวเวียดนาม ลาวพม่า ฟิลิปปินส์ สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น รัสเซีย และ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ในส่วนของศิลปินไทยที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานและแสดงผลงานทางศิลปะอย่างเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ และอาจารย์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ จากทั่วภูมิภาคของไทย ได้แก่ พงศ์เดช ไชยคุตร วัฒนโชติ ตุงคเตชะสมหมาย มาอ่อน ไพโรจน์ วังบอน อนุพงษ์ จันทร มงคล เกิดวัน ธนฤทธิ์ ทิพย์วารี ประสิทธิ์ วิชายะ สาธิตเทศนา กิติชัย กันแตง ศิริชัย พุ่มมาก มานิตย์ คูวัฒนศิลป์ สงกรานต์ สุดหอม วรวุฒิ ทาแก้ว วีระพันธ์ ใจสุบรรณ สุวัฒน์ ชะตางาม กิตติ แสงแก้ว อัญชนา นังคลา ทศพร สุธรรม พิสิษฐ์ พันธ์เทียน สมพร แต้มประสิทธิ์ ธนาทิพย์ ทิพย์วารี ดนยา เชี่ยววัฒกี ไชยพันธุ์ ธนากรวัจน์ ธวัชชัย ช่างเกวียน ธนดล ดีรุจิเจริญและ เอกกมล โรจน์จิรนันท์ รวมทั้งสิ้น 53 ท่าน













































































































































1 ความคิดเห็น: