แบบถอดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านเทคนิคการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในวิชาการออกแบบ


1. ชื่อ-สกุล ผู้เล่าเรื่อง อาจารย์ สิรดา ไวยาวัจมัย
2. ชื่อ-สกุล ผู้บันทึก อาจารย์ ชินภัศร์ กันตะบุตร

3. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
-อาจาย์ประจาสาขาวิชา ออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ ทาหน้าที่สอนในวิชา การออกแบบจัดตัวอักษร (ด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร)
-อาจารย์รับผิดชอบด้านวิเทศสัมพันธ์ ของสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปะและการออกแบบ
4. ชื่อเรื่องที่เล่า
การจัดการเรียนการสอนในวิชาการออกแบบจัดตัวอักษรด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถนาเสนอความคิดในการออกแบบเป็นภาษาอังกฤษได้
5.บริบท หรือความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
ถึงแม้นักศึกษาจะได้รับการศึกษาด้านภาษาอังกฤษมาจากกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีความกล้าที่จะนาเสนอความคิดในการออกแบบเป็นภาษาอังกฤษ คณะศิลปะและการออกแบบได้ตระหนักถึงความสาคัญที่จะแก้ปัญหาในข้อนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ทางสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาออกแบบ ด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในรายวิชาการออกแบบจัดตัวอักษร โดยเน้นให้นักศึกษาสามารถนาเสนอความคิดในการออกแบบได้ ด้วยการทางานเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและนาเสนอหน้าชั้นเรียน
6. วิธีการ / ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทาให้งานนั้นสาเร็จ
1. เน้นเนื้อหาสาระ และวัตถุประสงค์ของรายวิชาเป็นสาคัญ
2. จัดเตรียมความพร้อมของเนื้อหาบทเรียนที่มีอยู่ในแผนการสอนให้เป็นภาษาอังกฤษโดยครบถ้วน การนาเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยการใช้คอมพิวเตอร์ และเตรียมการอธิบายคาศัพท์เฉพาะด้านให้นักศึกษาเข้าใจ
3. อธิบายแผนการสอนให้นักศึกษาเข้าใจถึง เนื้อหาและวัตถุประสงค์ พร้อมกับแจกเนื้อหาในบทเรียนเป็นภาษาอังกฤษทุกครั้ง
4. จัดกิจกรรมในบทเรียนแรกให้นักศึกษาเรียนรู้โดยการจาลองสถานการณ์ต่างๆด้วยการใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนา ดังต่อไปนี้
4.1 การถาม-ตอบในการเรียนการสอน
4.2 การสนทนาแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม
4.3 การนาเสนอความคิดในการออกแบบ ตามตัวอย่างการสนทนาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบที่ได้จัดเตรียมไว้ เพื่อให้นักศึกษามีความกล้า พร้อมกับได้เรียนรู้ รูปแบบ วิธีการ สานวนและสาเนียงของภาษาไปด้วยพร้อมกัน
5. เนื่องจากเป็นวิชาแรกที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในการเรียนการสอน จึงต้องผสมผสานไปกับการใช้ภาษาไทย เพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายไม่รู้สึกต่อต้าน หรือไม่มีความสุขในการเรียน เช่นในยามที่ต้องการอธิบายความหมายของคาศัพท์เฉพาะด้าน (Technical Term) เรื่อง กายวิภาคของตัวอักษร (Anatomy of
Typeface) การให้ความสาคัญในการจัดพื้นที่ระหว่างตัวอักษร (Kerning) และในการปฏิบัติที่มีขั้นตอนในการออกแบบ (Design Process) อาจารย์ก็จะพูดด้วยภาษาอังกฤษให้ช้าลง และถ้านักศึกษายังไม่เข้าใจก็จะแปลเป็นภาษาไทยเพื่อความเข้าใจเป็นสาคัญ
6. ทุกโครงงานที่มีขนาดใหญ่ จัดให้มีกิจกรรมโดยแยกนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อยเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหาข้อมูล แสดงความคิดเห็นร่วมกันเป็นภาษาอังกฤษ
7. ให้นักศึกษาสรุปความคิด โดยเขียนบทสรุป หรือเขียนแบบร่าง เพื่อใช้นาเสนอหน้าชั้นเรียน
8. ให้นักศึกษาเลือกตัวแทนในการนาเสนอหน้าชั้นเรียน โดยมีลาดับขั้นตอนและแบบแผนที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
7. เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทาให้เกิดความสาเร็จ
1. พยายามกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมโดยการสนทนาอย่างเป็นกันเองให้มากที่สุด สร้างบรรยากาศของความสนุกในการเรียน ซึ่งจะทาให้นักศึกษากล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าซักถามอาจารย์
2. ให้มีรอยยิ้ม มีสีหน้าที่มีความสุข กล่าวแสดงการชื่นชมนักศึกษาที่ได้พูดภาษาอังกฤษ พร้อมกับแก้ไขการออกเสียงและสานวนให้ถูกต้องไปพร้อมกัน
3. แจ้งนักศึกษาว่าการใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนาสื่อสารไม่มีผลต่อการประเมินผลการเรียน เพื่อให้นักศึกษากล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างไม่ต้องกลัวว่าจะพูดผิด การประเมินผลการเรียนอยู่ที่กระบวนการออกแบบ ความตั้งใจในการนาเสนอ และผลงานของนักศึกษา
8. ผู้ที่มีส่วนร่วมทาให้เกิดความสาเร็จ และบทบาทของบุคคลนั้น (ที่ไม่ใช่ผู้เล่า)
- คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ ผู้ผลักดันและสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
- อาจารย์ผู้ร่วมสอนในรายวิชาเดียวกัน
9. อุปสรรคหรือป ญหาในการทางาน (Lessons Learned) และแนวทางในการแก้ปัญหา / อุปสรรคดังกล่าว
- อุปสรรคคือ ความไม่พร้อมของนักศึกษาในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เนื่องจากนักศึกษาที่มาเรียนในชั้นเรียนนี้ ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ การเรียนให้ได้เนื้อหาวิชาความรู้ด้วยภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จึงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกเท่าไร
- แนวทางการแก้ปัญหาคือ
1. นอกเหนือจากเนื้อหารายวิชา ต้องสอนการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาอังกฤษเสริมด้วย ซึ่งต้องใช้เวลามากขึ้นในการเตรียมความพร้อมก่อนการสอน
2. ต้องสร้างบรรยายกาศของการเรียนการสอนให้มีความสุข ความสนุก ด้วยกิจกรรมต่างๆ
10. ผลลัพธ์ หรือความสาเร็จที่เกิดขึ้นคือ
- การเรียนการสอนในห้องเรียนเต็มไปด้วยบรรยากาศของความสุข นักศึกษารู้สึกชื่นชอบ และสนุกไปกับเนื้อหาในบทเรียน
- ผลงานการออกแบบ สวยงาม น่าสนใจ สามารถนาไปจัดแสดงในงาน OPEN HOUSE 2013 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการประชาสัมพันธ์สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ได้
11. การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสาเร็จดังกล่าว
- วิชาการออกแบบจัดตัวอักษร (Typography Design) นี้มีความเหมาะสมที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในการเรียนการสอนเพราะเนื้อหาของบทเรียนส่วนใหญ่ได้อ้างอิงจากตาราของชาวตะวันตก มีต้นแบบเป็นภาษาอังกฤษ การออกแบบจัดตัวอักษรมีบทบาทสาคัญมาก เป็นที่รู้กันว่าอัจฉริยะระดับโลกอย่าง นาย สตีฟ จ๊อบส์ (Mr. Steve Jobs) หลังจากที่ท่านได้ศึกษาวิชานี้แล้ว ทาให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้าง แมคอินทอช (Macintosh) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีศักยภาพในการใช้ และการจัดตัวอักษรได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก
- การจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้ ประสบความสาเร็จได้ด้วยความตั้งใจของตัวผู้สอน ความพร้อมในการเตรียมการสอน และผู้เรียนที่มีความตั้งใจ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
12. สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ หรือ ทัศนะคติ) ของผู้เล่าเรื่อง
- จากประสบการณ์ในครั้งนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกสาขาวิชาควรจะเรียนวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในการออกแบบ (English for Communication in Design) ก่อนการเรียนรายวิชาออกแบบอื่นๆที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ซึ่งรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในการออกแบบ ดังกล่าวนี้ควรได้รับการพิจารณาเพิ่มเติมเมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่
- การได้จัดกิจกรรมในการเรียนการสอนครั้งนี้ ทาให้เกิดการพัฒนาผู้สอน ระบบการเรียนการสอน และนักศึกษา ทาให้คณาจารย์ในคณะศิลปะและการออกแบบเกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาตนเอง และคาดว่าจะเกิด ’กลุ่มคณะทางานเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนด้วยการใช้ภาษาอังกฤษ’ เพื่อที่จะได้นาประสบการณ์ในชั้นเรียนมาแลกเปลี่ยนกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีการจัดอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนให้สมาชิกในกลุ่มมีศักยภาพมากขึ้น และจะได้ร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นลาดับ ยังผลให้นักศึกษาก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community ได้ด้วยความมั่นใจ
13. ผลงานเชิงประจักษ์ของผู้เล่าเรื่องคือ
- ผลการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอน ผ่านระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555 อยู่ในระดับดีมาก
- อาจารย์ดีเด่นด้านการสอน ประจาปีการศึกษา 2551, 2552 , 2554
- ผลงานออกแบบ The corporate identity and public relations media design project for ‘XO PLAY’
bamboo clothes store for kids. แสดงในงาน Rangsit International Design Symposium 2012
- ผลงานออกแบบเว็บไซต์ อาทิเช่น
ปราณณารา คลินิกเพื่อสุขภาพและความงาม www.prannara.com
Anada Development www.ideocondo.com และเว็บไซต์คอนโดมิเนียมในโครงการ
Siam Ocean World www.siamoceanworld.co.th/
AIS http://www.ais.co.th/index_.html
AP property www.apthai.com
- เป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษาได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยม TOYOTA Eco D.I.Y. 2012 (จากวัสดุเหลือใช้)
- เป็นที่ปรึกษาให้นักศึกษาได้ร่วมจัดแสดงประกวดผลงาน BEAR WISH PROJECT ครั้งที่ 3 การออกแบบ
เพ้นท์สีหมี ขนาด 2 เมตร หน้าห้างสรรพสินค้าอัมรินทร์ พลาซ่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น