การคิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา
ที่มา ดร.วรรณดี สุทธินรากร
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ความคิดเชิงระบบกับองค์การแห่งการเรียนรู้
๑. การคิดอย่างเป็นระบบ(System Thinking)
- คนในส่วนราชการสามารถมองเห็นวิธีคิดและภาษาที่ใช้อธิบาย พฤติกรรมความเป็นไป ต่าง ๆ ถึงความเชื่อมโยงต่อเนื่องของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ผูกโยงกันเป็นระบบ เป็นเครือข่ายด้วยสภาวะการพึ่งพาอาศัยกัน
- สามารถมองปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นวัฎจักรโดยนำมาบูรณาการเป็นความรู้ใหม่ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้อย่างมีประสิทธิผลสอดคล้องกับความเป็นไปในโลกแห่งความจริง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
หมวด ๓ มาตรา ๑๑
การคิดเชิงระบบ และความสัมพันธ์ของความคิดเชิงระบบเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ที่จะนำหน่วยงานไปสู้องค์การแห่งการเรียนรู้
“ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมาการเรียนรู้ร่วมกัน”
๒. มีแบบแผนความคิด(Mental Model) คือ การตระหนักถึงกรอบแนวคิดของตนเอง รูปแบบความคิด ความเชื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน และพยายามพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถที่จะบริหารปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของตน
๓. การสร้างพลังแห่งตน(Personal Mastery) คือ การส่งเสริมให้คนในองค์การสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง โดยการจัดทำกลไกต่าง ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหน่วยงาน ระบบสารสนเทศระบบการพัฒนาบุคคล หรือแม้แต่ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานประจำวัน
๔. การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) คือ การกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับสภาพในอนาคตของหน่วยงานที่ทุกคนในหน่วยงานมีความปรารถนาร่วมกัน ช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ริเริ่มทดลองสิ่งใหม่ ๆ ของคนในหน่วยงาน และให้การทำงานเป็นไปในทาง หรือกรอบแนวทางที่มุ่งไปสู้จุดเดียวกัน
๕. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และทักษะวิธีคิดเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงาน รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วย
ระบบคืออะไร
- ระบบคือความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
- เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อนำเอาส่วนประกอบอันใดอันหนึ่งออกไปหรือเพิ่มส่วนประกอบอันอื่น
- องค์ประกอบทุกส่วนทำงานประสานกัน
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
คุณสมบัติของความคิดอย่างเป็นระบบ
- การคิดแบบมีความเป็นองค์รวม (Holistic)
- การคิดเป็นเครือข่าย (Networks)
- คิดเป็นลำดับชั้น (Hierarchy)
- คิดแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interaction) ระหว่างระบบด้วยกัน
- คิดอย่างมีขอบเขต (Boundary)
- คิดอย่างมีแบบแผน (Pattern)
- คิดอย่างมีโครงสร้าง (System Structure)
- คิดอย่างมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Adaptation)
- คิดเป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback-Loops)
การคิดเชิงระบบ
- การคิดเชิงระบบคือ “การคิดแบบให้เห็นทั้งหมด”
- “ทั้งหมด” คือ “หนึ่งเดียว” ที่มีส่วนประกอบเหล่านั้นเชื่อมติดกันทั้งหมด
- “ความเชื่อมต่อ” คือโครงสร้างของระบบ (Systemic Structure)
การคิดอย่างเป็นระบบหมายถึงอะไร
- ทุก ๆ ส่วนต่างมีการเชื่อมต่อกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ย่อมมีผลกระทบเป็นลูกคลื่นไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบและย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง
- การคิดเป็นระบบหมายถึงการคิดในลักษณะที่เป็นวง (Loop) มากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
การทำงานของสมองเรา
- สมองส่วนหน้าของคนเราจะทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้และการทรงจำ ชั้นบนสุดของสมองส่วนหน้าเรียกว่าซีรีบรัม (cerebrum) ซีรีบรัมแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ซีรีบรัมซีกซ้ายและซีรีบรัมซีกขวาซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน
โครงสร้างทางสมองของคนเรา
- ซีรีบรัมซีกขวา จะรับผิดชอบการรับรู้ด้านอารมณ์ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การเห็นเป็นภาพความรัก ความเมตตา ลางสังหรณ์
- ซีรีบรัมซีกซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ที่เป็นผล เป็นตรรกะ การวิเคราะห์ การจัดลำดับก่อนหลัง เป็นการคิดแบบใช้เหตุผล การเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษา
ทักษะการคิดที่มาสำคัญสำหรับผู้บริหาร
- วิสัยทัศน์
- ทักษะความคิด
- ความคิดทางบวก
- ความคิดริเริ่มพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ
- การรับรู้สัญญาณได้เร็ว
- การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร
- การเห็นภาพรวม
- การตัดสินใจการแก้ปัญหา
ทำอย่างไรจึงจะคิดอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นตรงไหนดี
- ฝึกความคิดทางบวก การมองโลกในแง่บวก(Positive Thinking)
- ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- ฝึกใช้วิธีคิดในการแก้ไขปัญหาหลาย ๆ แบบ (Multi – Thinking Skill)
คิดบวกคืออะไร
- ความคิดที่มุ่งสู่ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ต้องการความไม่ย่อท้อต่อปัญหาหรืออุปสรรค
- การหาหนทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด
- การไม่กลัวความล้มเหลว การกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้เมื่อล้มเหลว การเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จ
การคิดหลาย ๆ แบบ
- การคิดแบบริเริ่ม (Initiative Thinking)
- การคิดแบบอย่างเป็นระบบ (System Thinking Thinking)
- การคิดแบบสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- กาคิดแบบวิจารณญาณ (Critical Thinking)
- การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
- การคิดแบบบูรณาการ (Integrative Thinking)
- การคิดแบบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
- การเชิงประยุกต์ใช้ (Application Thinking)
- การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Thinking)
- การคิดแบบแผนที่ (Mind Map Thinking)
คิดสร้างสรรค์คืออะไร
- คือ ความสามารถคิดหาคำตอบใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิมหรือมีคำตอบมากมายให้กับแต่ละปัญหาโดย
- ใช้วิธีคิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดเพื่อหาคำตอบสำหรับปัญหาหรือการพัฒนา
กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
- เล่นอย่างสร้างสรรค์
- มีอารมณ์ดี
- ทำตัวเป็นศิลปินให้มากขึ้น
- หาเวลาอยู่คนเดียวบ้าง
- กล้าที่จะแตกต่าง
- จดบันทึก
ตัวอย่างเทคนิคแบบต่างๆ
- ใช้รูปแบบความคิด Mind Set ให้เป็นประโยชน์
- ใช้แผนภูมิก้างปลา
- ทำแผนภูมิความคิด Mind Map
- ใช้คำถาม ๕ w ๒ h
- เปลี่ยนมุมมองปัญหา
- อย่ายึดติดกับขอบเขตปัญหา
- ฝึกคิดเชิงยุทธศาสตร์ SWOT BSC ฯลฯ
ขั้นตอนในการประสานพลังสมองเพื่อความคิดสร้างสรรค์
- ขั้นกลเก็บรวบรวมข้อมูล
- ขั้นบ่มความคิด
- ขั้นพิชิตคำตอบ
- ขั้นตรวจสอบ
วิธีถาม ๗ ข้อ (วิธีถามแบบ 5W2H)
๑. เป้าหมาย What กำลังทำอะไรอยู่ ทำไมจึงทำแบบนี้
๒. ทำไม Why ทำไมงานนั้นจึงต้องทำ ควรต้องทำหรือ
๓. สถานที่ Where ทำไมที่นั่น ที่อื่น ๆ ไม่ได้หรือ
๔. ลำดับขั้น When ทำเมื่อไร ทำขั้นตอนนั้น
๕. คน Who ใครเป็นผู้ทำ ทำไมจึงเป็นคนนั้น
๖. วิธีการ How ทำอย่างไร มีวิธีการอื่น ๆ ที่ดีกว่าหรือไม่
๗. ค่าใช้จ่าย How Much ใช้งบประมาณเท่าไร
การใช้ ๕ w ๒ h
- ใช้ ๕ w ๒ h พิจารณาสถานการณ์
- เราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อ..........
- ใช้คำถาม ๕ w ๒ h
- นำทุกคำตอบมาตรวจสอบและใช้เป็นตัวกระตุ้น
- เลือกปัญหารอง ๆ ที่สะท้อนถึงปัญหาหลักที่ดีที่สุด
กระบวนการ PDCA
- วางแผน (Planning) คือ การนิยามปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การระบุสาเหตุของปัญหา การแก้ไขปัญหา
- การทำ (Doing) คือ การนำแผนไปประยุกต์ใช้
- การตรวจสอบ (Checking) คือ การยืนยันผลที่ได้จากการนำแผนไปปฏิบัติ
- การปฏิบัติการ (Action) คือ การกำหนดมาตรฐานของผลงานที่ต้องการ
เทคนิคการวางแผนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
- แผนกลยุทธ์ SWOT
- ZOPP
- BSC
- การบริหารความเสี่ยง
วงจรการบริหาร
- การบริหารคือการตั้งเป้าหมายและพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นตลอดเวลาโดยใช้หลัก
T P D C A
- T: TARGET
- P: PLAN
- D: DO
- C: CKECK
- A: ACTION
คุณสมบัติที่เอื้อต่อการคิด
- ใจกว้างและมีใจเป็นธรรม
- กระตือรือร้นใฝ่เรียนรู้
- ช่างวิเคราะห์และบูรณาการ
- มุ่งมั่นสู้ความสำเร็จ
- มีมนุษย์สัมพันธ์น่ารักน่าคบ
คุณค่าการคิด
- บริหารวิธีการดีขึ้น
- ปรับปรุงระบบงานดีขึ้น
- พัฒนาสร้างวัตกรรมใหม่
- สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
เมื่อระบบเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่ง
- เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ส่วนประกอบหนึ่ง ย่อมเป็นแรงส่งอิทธิพล ทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และส่งอิธิพลย้อนกลับมาที่จุดเดิมอีก
ความมั่นคงของระบบ (Systems Stability)
- อยู่กับคุณภาพของการเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบทั้งหลายของระบบ
- ทุกส่วนประกอบมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นพึงระลึกเสมอว่า
“ตัวเองมีส่วนช่วย หรือไม่ก็เป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ”
รูปแบบพฤติกรรมของระบบ
- เมื่อเราเห็น “โครงสร้างของระบบ” เราจะมองเห็น “รูปแบบ พฤติกรรมของระบบ” เราสามารถมองเห็นวิธีเปลี่ยนแปลงระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการย้อนหลัง (Feedback Process)
- กระบวนการย้อนกลับ เกิดจากการทำงานของ “พลังความเคลื่อนไหวของระบบ(Systemic Dynamics)” หรือ “พลัง ความเคลื่อนไหวของโครงสร้าง (Structural Dynamics)”
A Shift of Mind
- การกลับใจ คือ หัวใจขององค์การที่เรียนรู้
- กลับใจจากการเห็นตัวเองว่าไม่เกี่ยวข้องโลก เป็นการเห็นว่าตัวเอง เชื่อมติดกับโลก และเป็นส่วนหนึ่งของโลก
- กลับใจจากเคยมองว่าปัญหาเกิดจาก “คนอื่น หรือสิ่งอื่นนอกตัว” เป็นการมองเห็นว่า ตัวเราเองก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เราเผชิญอยู่
- เลิกจากการมองว่า “มนุษย์เป็นตู้ตามแก้ปัญหา” หันมามองว่า “มนุษย์ จะก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ได้”
ต้นแบบระบบ
- คือ รูปแบบพฤติกรรมที่เกิดซ้ำ ๆ เป็นเสมือนกุญแจสำหรับการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของระบบการเห็นโครงสร้างของระบบ จะช่วยให้เห็น”พลังคานงัด”
A shift of mind
- มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์อนาคตที่ดีได้ด้วยตัวของมนุษย์เอง
- เลิกมองเห็นแต่เพียงส่วนประกอบของระบบ แล้วหันไปมองให้เห็นความสัมพันธ์ของกันและกัน หรือความเชื่อมโยงของส่วนประกอบ
- เลิกมองเห็นว่าเหตุและผลสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง แล้วหันไปมองให้เห็นว่า เหตุและผลสัมพันธ์กันและกันเป็นวงรอบ
- เลิกมองแต่เฉพาะเหตุการณ์(Events) แล้วหันไปมองเห็นรูปแบบ พฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงของระบบด้วย
APCEIU เกาหลีใต้ ให้ทุนโครงการ EIU Best Practices 2014
ศูนย์ความเข้าใจอันดีในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก(Asia-pacific Centreof Education for InternationalUnderstanding:APCEIU)สาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินให้ทุนในโครงการEIU(Educationfor International Understanding) Best Practices ประจำปี 2014
โดยดำเนินการคัดเลือกโครงการเกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อนำไปเผยแพร่ยังภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการ จะได้รับเงินรางวัล 1,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ต่อไป
หากผู้ที่สนใจผู้ใดมีผลงานการสร้างนวัตกรรมในการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ EIU โดยอาจดำเนินโครงการในลักษณะการอบรมครู กิจกรรมในชั้นเรียน หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับชุมชนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดในการส่งเสริมการเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจะต้องดำเนินการเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี
ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้เคยเข้าร่วมโครงการของ APCEIU เช่น การร่วมประชุม การเข้าอบรม หรือเคยเป็นผู้ได้รับทุนหรือเข้าร่วมโครงการของ APCEIU
ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้เคยเข้าร่วมโครงการของ APCEIU เช่น การร่วมประชุม การเข้าอบรม หรือเคยเป็นผู้ได้รับทุนหรือเข้าร่วมโครงการของ APCEIU
ทั้งนี้ผู้ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ ที่นี่ และกรุณาส่งใบสมัครไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ภายในวันที่ 30 เมษายน 2557 พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารไปยัง e-mail : rpunpukdee@hotmail.com
สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.unescoapceiu.org หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2628 5646 ต่อ 115
ภายในวันที่ 30 เมษายน 2557 พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารไปยัง e-mail : rpunpukdee@hotmail.com
สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.unescoapceiu.org หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯ สหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2628 5646 ต่อ 115
จุฬาฯ จับมือปิโก เปิดตัวนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ทางการศึกษา “Teachers as Learners” เพื่อการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครูไทยทั่วประเทศ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ได้ฤกษ์เปิดตัว Teachers as Learners นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ทางการศึกษา ในรูปแบบสื่อดิจิตอลผ่านทางยูทูป เฟซบุ๊ค และโมบาย แอพพลิเคชั่น มุ่งการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งทางการเรียนรู้ให้กับครู นำไปสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 เป็นของขวัญสำหรับครูไทยทั่วประเทศ
Teachers as Learners เป็นนวัตกรรมที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์ ถ่ายทอดแนวทางการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ โดยสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ อันประกอบด้วย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางทฤษฎีการศึกษา ครูผู้เชี่ยวชาญการสอน และนิสิตฝึกสอน ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้เข้มแข็ง เผยแพร่ผ่านสื่อดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ขณะนี้เผยแพร่รายการผ่านยูทูป เฟซบุ๊ค และโมบาย แอพพลิเคชั่นแล้ว
นวัตกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ คือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาคเอกชน คือ ปิโก(ไทยแลนด์) ในลักษณะ Public and Private Partnership (PPP) เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชน ดำเนินการในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีตัวอย่างจากหลายประเทศ ที่พบว่า ความร่วมมือลักษณะดังกล่าว ให้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน หากมีการออกแบบมาให้สอดคล้องต่อสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้น
Teachers as Learners มุ่งหวังให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาทั้งองค์ความรู้ในเรื่องวิชาการ ศาสตร์การสอน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่แก้ปัญหาในชั้นเรียนได้จริง โดยเชื่อมโยงความรู้ระหว่างทฤษฎี (Theory) ในสถาบันทางครุศึกษา กับ ความรู้ทางการปฏิบัติ (Practice)ในห้องเรียน ให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และหวังสร้างผลกระทบวงกว้างโดยอาศัยสื่อรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นวัตกรรมนี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการอย่างเป็นทางการว่า “การพัฒนาชุมชนครูผู้เรียนรู้บนฐานนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางการศึกษา” โดยครุศาสตร์ จุฬาฯมีบทบาทหลักในการสร้างสรรค์เนื้อหา องค์ความรู้ส่วนวิชาการและสนับสนุนวิทยากร ส่วน ปิโก (ไทยแลนด์) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอ ผลิตและเผยแพร่รายการดังกล่าว
Teachers as Learners เป็นนวัตกรรมที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวีดิทัศน์ ถ่ายทอดแนวทางการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ โดยสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ อันประกอบด้วย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางทฤษฎีการศึกษา ครูผู้เชี่ยวชาญการสอน และนิสิตฝึกสอน ที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้เข้มแข็ง เผยแพร่ผ่านสื่อดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ขณะนี้เผยแพร่รายการผ่านยูทูป เฟซบุ๊ค และโมบาย แอพพลิเคชั่นแล้ว
นวัตกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ คือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาคเอกชน คือ ปิโก(ไทยแลนด์) ในลักษณะ Public and Private Partnership (PPP) เป็นแนวคิดที่เปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชน ดำเนินการในเรื่องที่ตอบสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และมีตัวอย่างจากหลายประเทศ ที่พบว่า ความร่วมมือลักษณะดังกล่าว ให้ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน หากมีการออกแบบมาให้สอดคล้องต่อสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้น
Teachers as Learners มุ่งหวังให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาทั้งองค์ความรู้ในเรื่องวิชาการ ศาสตร์การสอน ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่แก้ปัญหาในชั้นเรียนได้จริง โดยเชื่อมโยงความรู้ระหว่างทฤษฎี (Theory) ในสถาบันทางครุศึกษา กับ ความรู้ทางการปฏิบัติ (Practice)ในห้องเรียน ให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และหวังสร้างผลกระทบวงกว้างโดยอาศัยสื่อรูปแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นวัตกรรมนี้อยู่ภายใต้ชื่อโครงการอย่างเป็นทางการว่า “การพัฒนาชุมชนครูผู้เรียนรู้บนฐานนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางการศึกษา” โดยครุศาสตร์ จุฬาฯมีบทบาทหลักในการสร้างสรรค์เนื้อหา องค์ความรู้ส่วนวิชาการและสนับสนุนวิทยากร ส่วน ปิโก (ไทยแลนด์) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอ ผลิตและเผยแพร่รายการดังกล่าว
รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “Teachers as learners เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู บนฐานความร่วมมือจากทางภาครัฐ และเอกชน ที่หน่วยงานใดมีจุดเด่นที่ใด ก็นำจุดเด่นของตนเองมาสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาไทย คือ ครุศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะสถาบันครุศึกษาชั้นนำของประเทศมีองค์ความรู้ทางการศึกษามากมาย และก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จึงมีความพร้อมที่จะมีบทบาทหลักในเรื่องเนื้อหาวิชาการที่เป็นประโยชน์ในการนำไปผลิตรายการ ในขณะที่ ปิโก ก็มีความสามารถในการสร้างสรรค์รายการให้น่าสนใจ ทันสมัย และเลือกสรรช่องทางเผยแพร่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ดังนั้นความร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งที่ลงตัว นอกจากนี้การชมรายการบนโลกออนไลน์มีข้อดีที่ครูทุกคนสามารถรับชมได้ทุกที่ สามารถเลือกชมรายการใดเมื่อใดก็ได้ตามความสะดวก และยังสามารถโต้ตอบ สื่อสารกันผ่านเฟซบุ๊คและสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ของวิชาชีพครูร่วมกันได้ด้วย เราหวังว่าการจัดทำรายการนี้จะเป็นประโยชน์กับครูทั่วประเทศและสร้างให้เกิดชุมชนของครูผู้เรียนรู้ได้”
ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา กล่าวถึงรายการ Teachers as Learners ว่า “รายการ Teachers as Learners เป็นอีกหนึ่งรายการที่อยากแนะนำให้ครูได้ดู สิ่งที่น่าสนใจมากคือ Teachers as Learners เน้นการเรียนรู้ที่จะพัฒนาการเรียนการสอนของครู ซึ่งเป็นหัวใจการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง ที่ครู อาจารย์ นักการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาร่วมมือรวมพลังกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ ประสบการณ์ และแนวปฏิบัติวิชาชีพครูที่มีประสิทธิผล การเรียนรู้ร่วมกันของโปรแกรมนี้ไม่เพียงแต่จะนำไปสู่การสร้างความรู้ และความเข้าใจในการปฏิบัติวิชาชีพที่ชัดเจนและนำไปใช้ได้ผลจริงอย่างยั่งยืน แต่ให้ความสำคัญของการคลี่กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นเชื่อมโยงไปสู่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียนสู่ผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น หากลองสังเกตแนวทางพัฒนาการศึกษาของประเทศที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการศึกษา เช่น Academy of Singapore teachers ของสิงคโปร์ ที่เน้นการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง ให้ครูทุกคนในโรงเรียนเป็นทีมที่ร่วมมือรวมพลังกันเรียนรู้เพื่อจัดการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน การเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิด ความรู้สึกผูกพันกับวงจรสะท้อนคิด และส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างลึกซึ้งจากการแบ่งปันประสบการณ์ของสมาชิกแต่ละคน ที่สำคัญนำสู่การพัฒนาวิชาชีพที่ยั่งยืน นอกจากนี้เนื้อหาของรายการเป็นประโยชน์แก่บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทางการศึกษา ตั้งแต่ นักศึกษาครู คณาจารย์ในคณะครุศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูประจำการ อันจะเป็นแนวทางในการสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่เข้มแข็งต่อไปได้”
นายศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) บริษัทชั้นนำด้านการจัดอีเวนท์ และผู้นำด้านการสื่อสารองค์ความรู้กล่าวว่า “ นอกจาก EDUCA หรือ มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูที่ปิโกจัดขึ้นทุกปีแล้ว ปิโกยังมุ่งมั่นที่จะในเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่องด้วยเครื่องมือหรือ platform อื่นๆ และด้วยศักยภาพของบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพในเรื่องการผลิต สร้างสรรค์รายการ และเผยแพร่ผ่านสื่อดิจิตอล ดังนั้น ในความร่วมมือครั้งนี้กับคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จึงถือเป็นความร่วมมือแบบ PPP ในเรื่องการพัฒนาวิชาชีพครู บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในคุณภาพการสร้างสรรค์ ผลิตและเผยแพร่รายการ ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดทั้งจากการจัดงาน EDUCA และการมีส่วนร่วมในการผลิตและเผยแพร่รายการในโครงการโทรทัศน์ครู และหวังว่า Teachers as Learners จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนวิชาชีพครูที่เข้มแข็ง เพราะ ครู คือบุคคลสำคัญที่ต้องเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ และผลักดันให้นักเรียนของตนเรียนรู้ เพื่อเป็นอนาคตของที่สามารถขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไปได้”
รายการ “Teachers as Learners” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ “Teachers as Learners” (2012) ของ ดร.ชารอน ฟีแมน-เนมเซอร์ (Prof.Sharon Feiman-Nemser) ศาสตราจารย์แมนเดล ด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแบรนดีส์ สหรัฐอเมริกา ที่กล่าวถึงการเรียนรู้ในวิชาชีพครูว่า “ครูต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นต้นแบบการเรียนรู้ที่ดีแก่นักเรียน”
สามารถติดตามชมรายการ และ ร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ได้ทาง YouTube คือ www. youtube.com/teachersaslearners หรือผ่านทาง Facebook www.facebook.com/teachersaslearners และ Application on mobile ที่รองรับทาง IOS และ Andriod ในชื่อ application : Teachers as Learners สื่อสร้างสรรค์นี้ นับเป็นผลของความตั้งใจจริงของครูผู้รักการเรียนรู้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง เป็นของขวัญให้กับครูและเด็กไทยในปี 2557 นี้
รายการ “Teachers as Learners” ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ “Teachers as Learners” (2012) ของ ดร.ชารอน ฟีแมน-เนมเซอร์ (Prof.Sharon Feiman-Nemser) ศาสตราจารย์แมนเดล ด้านศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแบรนดีส์ สหรัฐอเมริกา ที่กล่าวถึงการเรียนรู้ในวิชาชีพครูว่า “ครูต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นต้นแบบการเรียนรู้ที่ดีแก่นักเรียน”
สามารถติดตามชมรายการ และ ร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ได้ทาง YouTube คือ www. youtube.com/teachersaslearners หรือผ่านทาง Facebook www.facebook.com/teachersaslearners และ Application on mobile ที่รองรับทาง IOS และ Andriod ในชื่อ application : Teachers as Learners สื่อสร้างสรรค์นี้ นับเป็นผลของความตั้งใจจริงของครูผู้รักการเรียนรู้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง เป็นของขวัญให้กับครูและเด็กไทยในปี 2557 นี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)