การคิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา

ที่มา ดร.วรรณดี สุทธินรากร
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ความคิดเชิงระบบกับองค์การแห่งการเรียนรู้
๑. การคิดอย่างเป็นระบบ(System Thinking)
- คนในส่วนราชการสามารถมองเห็นวิธีคิดและภาษาที่ใช้อธิบาย พฤติกรรมความเป็นไป      ต่าง ๆ ถึงความเชื่อมโยงต่อเนื่องของสรรพสิ่งและเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์ผูกโยงกันเป็นระบบ        เป็นเครือข่ายด้วยสภาวะการพึ่งพาอาศัยกัน
- สามารถมองปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นวัฎจักรโดยนำมาบูรณาการเป็นความรู้ใหม่ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้อย่างมีประสิทธิผลสอดคล้องกับความเป็นไปในโลกแห่งความจริง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
หมวด ๓ มาตรา ๑๑
การคิดเชิงระบบ และความสัมพันธ์ของความคิดเชิงระบบเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ที่จะนำหน่วยงานไปสู้องค์การแห่งการเรียนรู้
ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมาการเรียนรู้ร่วมกัน
๒. มีแบบแผนความคิด(Mental Model) คือ การตระหนักถึงกรอบแนวคิดของตนเอง รูปแบบความคิด ความเชื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน และพยายามพัฒนารูปแบบความคิดความเชื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถที่จะบริหารปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของตน
๓. การสร้างพลังแห่งตน(Personal Masteryคือ การส่งเสริมให้คนในองค์การสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง โดยการจัดทำกลไกต่าง ๆ เพื่อสร้างจิตสำนึกของคนในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างหน่วยงาน ระบบสารสนเทศระบบการพัฒนาบุคคล หรือแม้แต่ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานประจำวัน
๔. การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) คือ การกำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับสภาพในอนาคตของหน่วยงานที่ทุกคนในหน่วยงานมีความปรารถนาร่วมกัน ช่วยกันสร้างภาพอนาคตของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ริเริ่มทดลองสิ่งใหม่ ๆ ของคนในหน่วยงาน และให้การทำงานเป็นไปในทาง หรือกรอบแนวทางที่มุ่งไปสู้จุดเดียวกัน
๕. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learningคือ การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และทักษะวิธีคิดเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาและศักยภาพของทีมงาน รวมทั้งการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมด้วย
ระบบคืออะไร
-          ระบบคือความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง
-          เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อนำเอาส่วนประกอบอันใดอันหนึ่งออกไปหรือเพิ่มส่วนประกอบอันอื่น
-          องค์ประกอบทุกส่วนทำงานประสานกัน
-          เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
คุณสมบัติของความคิดอย่างเป็นระบบ
-          การคิดแบบมีความเป็นองค์รวม (Holistic)
-          การคิดเป็นเครือข่าย (Networks)
-          คิดเป็นลำดับชั้น (Hierarchy)
-          คิดแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interaction) ระหว่างระบบด้วยกัน
-          คิดอย่างมีขอบเขต (Boundary)
-          คิดอย่างมีแบบแผน (Pattern)
-          คิดอย่างมีโครงสร้าง (System Structure)
-          คิดอย่างมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (Adaptation)
-          คิดเป็นวงจรป้อนกลับ (Feedback-Loops)
การคิดเชิงระบบ
-          การคิดเชิงระบบคือ การคิดแบบให้เห็นทั้งหมด
-          ทั้งหมด คือ หนึ่งเดียว” ที่มีส่วนประกอบเหล่านั้นเชื่อมติดกันทั้งหมด
-          ความเชื่อมต่อ คือโครงสร้างของระบบ (Systemic Structure)
การคิดอย่างเป็นระบบหมายถึงอะไร
-          ทุก ๆ ส่วนต่างมีการเชื่อมต่อกันทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ย่อมมีผลกระทบเป็นลูกคลื่นไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบและย้อนกลับมายังจุดเริ่มต้นอีกครั้ง
-          การคิดเป็นระบบหมายถึงการคิดในลักษณะที่เป็นวง (Loop) มากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
การทำงานของสมองเรา
-          สมองส่วนหน้าของคนเราจะทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้และการทรงจำ ชั้นบนสุดของสมองส่วนหน้าเรียกว่าซีรีบรัม (cerebrum) ซีรีบรัมแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ซีรีบรัมซีกซ้ายและซีรีบรัมซีกขวาซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน


โครงสร้างทางสมองของคนเรา
-          ซีรีบรัมซีกขวา จะรับผิดชอบการรับรู้ด้านอารมณ์ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การเห็นเป็นภาพความรัก ความเมตตา ลางสังหรณ์
-          ซีรีบรัมซีกซ้าย ทำหน้าที่ควบคุมการรับรู้ที่เป็นผล เป็นตรรกะ การวิเคราะห์ การจัดลำดับก่อนหลัง เป็นการคิดแบบใช้เหตุผล การเรียนรู้คณิตศาสตร์และภาษา
ทักษะการคิดที่มาสำคัญสำหรับผู้บริหาร
-          วิสัยทัศน์
-          ทักษะความคิด
-          ความคิดทางบวก
-          ความคิดริเริ่มพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ
-          การรับรู้สัญญาณได้เร็ว
-          การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร
-          การเห็นภาพรวม
-          การตัดสินใจการแก้ปัญหา
ทำอย่างไรจึงจะคิดอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นตรงไหนดี
-          ฝึกความคิดทางบวก การมองโลกในแง่บวก(Positive Thinking)
-          ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
-          ฝึกใช้วิธีคิดในการแก้ไขปัญหาหลาย ๆ แบบ (Multi – Thinking Skill)
คิดบวกคืออะไร
-          ความคิดที่มุ่งสู่ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ต้องการความไม่ย่อท้อต่อปัญหาหรืออุปสรรค
-          การหาหนทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด
-          การไม่กลัวความล้มเหลว การกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้เมื่อล้มเหลว การเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จ
การคิดหลาย ๆ แบบ
-          การคิดแบบริเริ่ม (Initiative Thinking)
-          การคิดแบบอย่างเป็นระบบ (System Thinking Thinking)
-          การคิดแบบสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
-          กาคิดแบบวิจารณญาณ (Critical Thinking)
-          การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
-          การคิดแบบบูรณาการ (Integrative Thinking)
-          การคิดแบบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
-          การเชิงประยุกต์ใช้ (Application Thinking)
-          การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis Thinking)
-          การคิดแบบแผนที่ (Mind Map Thinking)



คิดสร้างสรรค์คืออะไร
-          คือ ความสามารถคิดหาคำตอบใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิมหรือมีคำตอบมากมายให้กับแต่ละปัญหาโดย
-          ใช้วิธีคิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดเพื่อหาคำตอบสำหรับปัญหาหรือการพัฒนา
กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
-          เล่นอย่างสร้างสรรค์
-          มีอารมณ์ดี
-          ทำตัวเป็นศิลปินให้มากขึ้น
-          หาเวลาอยู่คนเดียวบ้าง
-          กล้าที่จะแตกต่าง
-          จดบันทึก
ตัวอย่างเทคนิคแบบต่างๆ
-          ใช้รูปแบบความคิด Mind Set ให้เป็นประโยชน์
-          ใช้แผนภูมิก้างปลา
-          ทำแผนภูมิความคิด Mind Map
-          ใช้คำถาม ๕  h
-          เปลี่ยนมุมมองปัญหา
-          อย่ายึดติดกับขอบเขตปัญหา
-          ฝึกคิดเชิงยุทธศาสตร์ SWOT BSC ฯลฯ
ขั้นตอนในการประสานพลังสมองเพื่อความคิดสร้างสรรค์
-          ขั้นกลเก็บรวบรวมข้อมูล
-          ขั้นบ่มความคิด
-          ขั้นพิชิตคำตอบ
-          ขั้นตรวจสอบ
วิธีถาม ๗ ข้อ (วิธีถามแบบ 5W2H)
๑.      เป้าหมาย What กำลังทำอะไรอยู่ ทำไมจึงทำแบบนี้
๒.      ทำไม Why ทำไมงานนั้นจึงต้องทำ ควรต้องทำหรือ
๓.      สถานที่ Where ทำไมที่นั่น ที่อื่น ๆ ไม่ได้หรือ
๔.      ลำดับขั้น When ทำเมื่อไร ทำขั้นตอนนั้น
๕.      คน Who ใครเป็นผู้ทำ ทำไมจึงเป็นคนนั้น
๖.      วิธีการ How ทำอย่างไร มีวิธีการอื่น ๆ ที่ดีกว่าหรือไม่
๗.      ค่าใช้จ่าย How Much ใช้งบประมาณเท่าไร

การใช้ ๕  h
-          ใช้ ๕  h พิจารณาสถานการณ์
-          เราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อ..........
-          ใช้คำถาม ๕  h
-          นำทุกคำตอบมาตรวจสอบและใช้เป็นตัวกระตุ้น
-          เลือกปัญหารอง ๆ ที่สะท้อนถึงปัญหาหลักที่ดีที่สุด
กระบวนการ PDCA
-          วางแผน (Planning) คือ การนิยามปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การระบุสาเหตุของปัญหา การแก้ไขปัญหา
-          การทำ (Doing) คือ การนำแผนไปประยุกต์ใช้
-          การตรวจสอบ (Checking) คือ การยืนยันผลที่ได้จากการนำแผนไปปฏิบัติ
-          การปฏิบัติการ (Action) คือ การกำหนดมาตรฐานของผลงานที่ต้องการ
เทคนิคการวางแผนเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
-           แผนกลยุทธ์ SWOT
-          ZOPP
-          BSC
-          การบริหารความเสี่ยง
วงจรการบริหาร
-          การบริหารคือการตั้งเป้าหมายและพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นตลอดเวลาโดยใช้หลัก
T P D C A
-          T:  TARGET
-          P:  PLAN
-          D:  DO
-          C:  CKECK
-          A:  ACTION
คุณสมบัติที่เอื้อต่อการคิด
-          ใจกว้างและมีใจเป็นธรรม
-          กระตือรือร้นใฝ่เรียนรู้
-          ช่างวิเคราะห์และบูรณาการ
-          มุ่งมั่นสู้ความสำเร็จ
-          มีมนุษย์สัมพันธ์น่ารักน่าคบ


คุณค่าการคิด
-          บริหารวิธีการดีขึ้น
-          ปรับปรุงระบบงานดีขึ้น
-          พัฒนาสร้างวัตกรรมใหม่
-          สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
เมื่อระบบเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่ง
-          เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ส่วนประกอบหนึ่ง ย่อมเป็นแรงส่งอิทธิพล ทำให้ส่วนประกอบอื่นๆ เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และส่งอิธิพลย้อนกลับมาที่จุดเดิมอีก
ความมั่นคงของระบบ (Systems Stability)
-          อยู่กับคุณภาพของการเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบทั้งหลายของระบบ
-          ทุกส่วนประกอบมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นพึงระลึกเสมอว่า
ตัวเองมีส่วนช่วย หรือไม่ก็เป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ
รูปแบบพฤติกรรมของระบบ
-          เมื่อเราเห็น โครงสร้างของระบบ”  เราจะมองเห็น รูปแบบ พฤติกรรมของระบบ” เราสามารถมองเห็นวิธีเปลี่ยนแปลงระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
กระบวนการย้อนหลัง (Feedback Process)
-          กระบวนการย้อนกลับ เกิดจากการทำงานของ พลังความเคลื่อนไหวของระบบ(Systemic Dynamics)” หรือ พลัง ความเคลื่อนไหวของโครงสร้าง (Structural Dynamics)
A Shift of Mind
-          การกลับใจ คือ หัวใจขององค์การที่เรียนรู้
-          กลับใจจากการเห็นตัวเองว่าไม่เกี่ยวข้องโลก เป็นการเห็นว่าตัวเอง เชื่อมติดกับโลก และเป็นส่วนหนึ่งของโลก
-          กลับใจจากเคยมองว่าปัญหาเกิดจาก คนอื่น หรือสิ่งอื่นนอกตัว” เป็นการมองเห็นว่า ตัวเราเองก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เราเผชิญอยู่
-          เลิกจากการมองว่า มนุษย์เป็นตู้ตามแก้ปัญหา” หันมามองว่า มนุษย์ จะก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ได้
ต้นแบบระบบ
-          คือ รูปแบบพฤติกรรมที่เกิดซ้ำ ๆ เป็นเสมือนกุญแจสำหรับการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของระบบการเห็นโครงสร้างของระบบ จะช่วยให้เห็นพลังคานงัด

A shift of mind
-          มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์อนาคตที่ดีได้ด้วยตัวของมนุษย์เอง
-          เลิกมองเห็นแต่เพียงส่วนประกอบของระบบ แล้วหันไปมองให้เห็นความสัมพันธ์ของกันและกัน หรือความเชื่อมโยงของส่วนประกอบ
-          เลิกมองเห็นว่าเหตุและผลสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรง แล้วหันไปมองให้เห็นว่า เหตุและผลสัมพันธ์กันและกันเป็นวงรอบ
-          เลิกมองแต่เฉพาะเหตุการณ์(Events) แล้วหันไปมองเห็นรูปแบบ พฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงของระบบด้วย