“ การบูรณาการการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม”
ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี: สหวิธีการบูรณาการการจัดการความรู้คู่สังคมพหุวัฒนธรรม นาสู่ประชาคมอาเซียน
ชื่อ-นามสกุลผู้นาเสนอ: อาจารย์อุบลทิพย์ ไชยแสง
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
หน่วยงาน : กลุ่มงานพัฒนานักศึกษา ทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม
เบอร์โทรศัพท์ : 073 -212863 ต่อ 453 เบอร์มือถือ 089 – 4636605, 087-2991409
เบอร์โทรสาร : 073 - 213234
E-mail address: ubontip20@hotmail.com
1. บทสรุปผู้บริหาร
จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จาก
การอยู่ร่วมกันของคนหลายเชื้อชาติ ต่างศาสนา ในพื้นที่สีแดงที่ยังประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตของคนทุกเพศ ทุกวัยในพื้นที่เสี่ยงที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รวมถึงการขาดความรู้ความเข้าใจในด้านอื่น ๆ เช่น นโยบายของประเทศไทย ที่จะมีการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งจากการศึกษา สังเกต และสอบถามพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ยังขาดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจหลักในการผลิตกาลังคนด้านสุขภาพแล้ว วิทยาลัยยังมีพันธกิจที่สาคัญด้านอื่น ๆ ที่ต้องกระทาควบคู่กันไป ซึ่งได้แก่ การบริการวิชาการ และการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งวิทยาลัยให้ความสาคัญกับพันธกิจดังกล่าว โดยส่งเสริมการบูรณาความรู้ ด้วยการเชื่อมโยงการให้บริการวิชาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน การทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้เกิดเครือข่ายชุมชนโดยเฉพาะในสังคมพหุวัฒนธรรมที่ยังต้องการความเอาใจใส่ดูแลจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ส่งผลให้วิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้น สาหรับพันธกิจด้านการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งวิทยาลัยให้ความสาคัญ และมุ่งสร้างจิตสานึกและความตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นแก่นักศึกษา โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งมีศิลปวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แสดงถึงเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจร่วมกันของคนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นมรดกอันล้าค่าที่ควรได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ส่งเสริมเผยแพร่เพื่อให้คงอยู่ไว้ ตามจุดเน้นของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน และการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรมเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ตามวงจรคุณภาพ PDCA คือขั้นวางแผนการดาเนินงาน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นตรวจสอบ และขั้นนาไปใช้ ทาให้เกิดผลงานของกระบวนการ มี
การสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ตามความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพของบุคลากรในวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีการขยายผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบของการต่อยอดการศึกษาผ่านกระบวนการจิตอาสา และการบริการลงสู่ชุมชน และปรับใช้กับหน่วยงานอื่น การถอดบทเรียนในลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาการจัดการความรู้ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของผู้มีส่วนร่วม เป็นความสาเร็จสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของประชาชนในพื้นที่ต่อไป
2. ประวัติหน่วยงาน
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกสานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ทาหน้าที่ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข เพื่อตอบสนองระบบบริการสุขภาพ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2509 เดิมชื่อ ศูนย์ฝึกและอบรมอนามัยภาคใต้ จังหวัดยะลา ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อเป็น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2537 โดยกลุ่มงานพัฒนานักศึกษา ทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานสังกัดกลุ่มกิจการนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เริ่มดาเนินการแยกจากจากกลุ่มพัฒนา และสวัสดิการนักศึกษาเดิม ก่อนแยกออกมาเป็นกลุ่มกิจการนักศึกษา ประกอบด้วยสายงานใหม่อีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มงานสวัสดิการนักศึกษาศิษย์เก่าสัมพันธ์และกลุ่มงานพัฒนานักศึกษา ทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2554 ปัจจุบัน สานักงานตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารกิจการนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
3. กระบวนการ/วิธีดาเนินการในอดีต
ปัญหา และสภาพการปฏิบัติงานเดิมก่อนที่จะริเริ่มการปรับปรุง พบว่าการดาเนินการด้านการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นพันธกิจหนึ่งของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เดิมมีการดาเนินงานแบบแยกส่วนคือยังไม่มีการรวมตัวกันกาหนดจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการทางาน และการกาหนดยุทธศาสตร์ ด้านการทางาน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางต่าง ๆ ของประเทศ และยังไม่สอดคล้องกับบริบท สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ การทางานยังคงจัดกระทาเพื่อตอบสนองนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อตอบสนองเพียงระบบประกันคุณภาพการศึกษา ยังขาดการบูรณาการที่เหมาะสมกับพันธกิจอื่น ๆ ได้แก่ พันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ทาให้ประสบปัญหาการดาเนินงานซ้าซ้อน และไม่สอดคล้องกับกระแสสังคม โดยเฉพาะประเด็นสาคัญเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการจัดกระทาต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องและเข้าถึงสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลายทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และภาษา
กลุ่มที่มีความหลากหลายได้แก่ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดยะลา ที่มีการใช้ภาษาที่แตกต่างโดยการใช้ภาษายาวีในการดารงชีวิตทาให้ไม่สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสาธารณสุข อันเป็นความมุ่งหวังของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพแก่ชุมชน ยังพบปัญหาสาธารณสุข
หลายปัญหา พบอัตราการตายและป่วยเป็นโรค จากการขาดความรู้ความเข้าใจของคนในพื้นที่ ประกอบกับความแตกต่างทางด้านความเชื่อ และการสื่อสารให้มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในการดาเนินงาน
ประเด็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นประเด็นสาคัญและเป็นการเตรียมตนเองสู่การดาเนินชีวิต และการรู้เท่าทันการพัฒนาสังคมในพื้นที่ แต่จากการดาเนินงาน ศึกษา ค้นคว้า และสอบถามพบว่า ประชาชนโดยเฉพาะที่ไม่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ จะขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในทุกส่วน การดาเนินงาน ยังไม่มีการตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ทาให้กิจกรรมโครงการหลายส่วนยังไม่ประสบความสาเร็จ ขาดการคลอบคลุม ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง รวมถึงยังประสบปัญหากับการทางานที่ซ้าซ้อน จากการขาดการพูดคุยและทาความเข้าใจในทิศทางการดาเนินงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4 แนวปฏิบัติที่ดี (วิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดาเนินงานตามหลัก PDCA)
4.1 วัตถุประสงค์และกลยุทธ์การดาเนินงาน
1) เพื่อพัฒนาระบบการดาเนินงาน พันธกิจการทานุบารุงศิลปะ และวัฒนธรรม
2) เพื่อพัฒนานักศึกษา ให้มีความตระหนักถึงความสาคัญของประชาคมอาเซียน และมีทักษะ
การบูรณาการการจัดการความรู้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม สู่ชุมชน
3) เพื่อสร้างนวัตกรรม และชิ้นงานการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ และประชาคมอาเซียนสู่
ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม
4) เพื่อพัฒนาต่อยอดการดาเนินการลงในระดับชุมชน เป็นชุมชนพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ
และก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน
4.2 กระบวนการดาเนินงาน
1) การประชุมกลุ่ม โดยจัดให้มีการเสวนากลุ่มเพื่อสารวจ และวิเคราะห์ตนเองโดยประยุกต์
จากหลักการของ SWOT Analysis ให้ทุกคนมีส่วนในการตอบแสดง แล้วนามาจัดทาข้อสรุป ดังนี้
(1) จุดเด่น คือ วิทยาลัยมีคณะอาจารย์ที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ ได้แก่
ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถจัดการการถ่ายทอดด้านความรู้ทางสุขภาพได้อย่างหลากหลาย รวมถึงมีคณาจารย์ที่มีความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรม ภาษา การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการทางานในพื้นที่ที่มีการทา MOU สามารถให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือกับวิทยาลัย ในการร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
(2) จุดอ่อน คือ คณะดาเนินงานส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และยังไม่เห็นความสาคัญของการต้องดาเนินการโดยต้องกาหนดทิศทางร่วมกัน
(3) โอกาส คือ คณะดาเนินงานส่วนใหญ่ รวมถึงนักศึกษาเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งเข้าใจบริบทของชุมชนเป็นอย่างดี สามารถสร้างการยอมรับจากชุมชนได้เป็นอย่างดี และยังได้รับการสนับสนุนจากผุ้บริหารเป็นอย่างดี
(4) อุปสรรค คือ การดาเนินงานในพื้นที่ที่ขาดความปลอดภัย ทาให้อาจส่งผลต่อ
ความไม่สะดวก และข้อจากัดในการดาเนินงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น