การจัดการความรู้

 ความหมายของการจัดการความรู้

             การจัดการความรู้ หรือเคเอ็ม (KM = Knowledge Management) คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด 
โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม


นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ระบุว่าการจัดการความรู้สามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน


การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่ 1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น 
โดยที่การดำเนินการ 6 ประการนี้บูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องเป็นทั้งความรู้ที่ชัดแจ้ง อยู่ในรูปของตัวหนังสือหรือรหัสอย่างอื่นที่เข้าใจได้ทั่วไป (Explicit Knowledge) และความรู้ฝังลึกอยู่ในสมอง (Tacit Knowledge) ที่อยู่ในคน ทั้งที่อยู่ในใจ (ความเชื่อ ค่านิยม) อยู่ในสมอง (เหตุผล) และอยู่ในมือ และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (ทักษะในการปฏิบัติ) การจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่คนจำนวนหนึ่งทำร่วมกันไม่ใช่กิจกรรมที่ทำโดยคนคนเดียว เนื่องจากเชื่อว่า “จัดการความรู้” จึงมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยรี่เข้าไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ นี่คือความผิดพลาดที่พบบ่อยมาก การจัดการความรู้ที่ถูกต้องจะต้องเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงาน 
เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่า Operation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) การสนองตอบ (Responsiveness) ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม 2) การมีนวัตกรรม (Innovation) ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ 3) ขีดความสามารถ (Competency) ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร และ 4) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง 
เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่ร่วมกันสร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน จัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่องความรู้ แต่เป็นกิจกรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวิชาการเรียกว่า บูรณาการอยู่กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการการจัดการด้วย 
ตั้งเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อพัฒนา 3 ประเด็น 
งาน พัฒนางาน 
คน พัฒนาคน 
องค์กร เป็นองค์กรการเรียนรู้ 
ความเป็นชุมชนในที่ทำงาน การจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง นี่คือ หลุมพรางข้อที่ 1 ของการจัดการความรู้ เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมาย ความผิดพลาดก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือ ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจ การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้เป็นก้าวแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความล้มเหลว ตัวกำหนดที่สำคัญคือแรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ 
การจัดการความรู้ที่ดีเริ่มด้วย 
สัมมาทิฐิ : ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุความสำเร็จและความมั่นคงในระยะยาว 
การจัดทีมริเริ่มดำเนินการ 
การฝึกอบรมโดยการปฏิบัติจริง และดำเนินการต่อเนื่อง 
การจัดการระบบการจัดการความรู้ 
แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง 
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) 
1.“คน” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 
2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น 
3.“กระบวนการความรู้” เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม 
องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ จะต้องเชื่อมโยงและบูรณาการอย่างสมดุล การจัดการความรู้ของกรมการปกครอง จากพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราขการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ขอบเขต KM ที่ได้มีการพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความสำคัญเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และได้กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ของ KM ที่จะดำเนินการในปี 2549 คือ มุ่งเน้นให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม คือ อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีข้อมูลผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในศูนย์ปฏิบัติการฯ ไม่น้อยกว่าศูนย์ละ 1 เรื่อง และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล ได้จัดให้มีกิจกรรมกระบวนการจัดการความรู้ (KM Process) และกิจกรรมกระบวนการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ควบคู่กันไป โดยมีความคาดหวังว่าแผนการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัติราชการในขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ในเรื่องอื่น ๆ และนำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) 
          เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน # 
1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) 
เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ต้องใช้อะไร ปัจจุบันมีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด และอยู่ที่ใคร 
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) 
เป็นการสร้าง แสวงหา รวบรวมความรู้ทั้งภายใน/ภายนอก รักษาความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป 
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) 
เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย 
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) 
เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 
เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) 
เป็นการแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น 
7. การเรียนรู้ (Learning) 
เป็นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้ 


เครื่องมือในการจัดการความรู้


เว็บไซต์ learners.in.th จัดเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ ที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสำหรับนักศึกษาได้ดีกว่า group ของ facebook.comเพราะ มีเนื้อหา และมีเพื่อน ที่มาจากภายนอกกลุ่มอย่างชัดเจน .. การเปิดให้นักศึกษาได้พบกับเพื่อนนอกกลุ่ม และมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนต่างสถาบัน เป็นเสน่ห์ที่ไม่พบใน facebook.com เพราะปกติแล้ว facebook.com จะเน้นการสื่อสารระหว่างเพื่อน หรือเพื่อนของเพื่อนเป็นสำคัญ และไม่มีประเด็นทางวิชาการที่ชัดเจน 
เอกสารประกอบการสอนใช้ learners.in.th




หัวใจของการจัดการความรู้
             มีผู้รู้ได้กล่าวถึง KM หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า หัวใจของ KM อยู่ที่ไหนได้ โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ KM เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ ( Hierarchy of needs ) ของ Mcgregor ได้ โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team) 
1. Knowledge is Power : ความรู้คือพลัง 
2. Successful knowledge transfer involves neither computers nor documents but rather in interactions between people. (Thomas H Davenport) : ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างคนด้วยกัน 
3. The great end of knowledge is not knowledge but action : จุดหมายปลายทางสำคัญของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ 
4. Now the definition of a manager is somebody who makes knowledge productive : นิยามใหม่ของผู้จัดการ คือผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผล 
จะเห็นว่าจากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าวพอทำให้มองเห็นหัวใจของ KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล ต่าง ๆ ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

อ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้น่าคิด หลังจากการไปร่วมสัมมนา “นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข” โดยได้ฟังการบรรยายของ ศ. นพ. ประเวศ วะสี ตีความ “การเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข” ทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้อย่างลึกซึ้งมาก จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านบอกว่า การพัฒนาชุมชนต้องมี 4 องค์ประกอบ
1. ชุมชน หมายถึงการอยู่ร่วมกัน ความเป็นชุมชนมีเป้าหมายที่การอยู่ร่วมกัน
2. เป็นสุข หมายถึงความเป็นทั้งหมด ความเป็นปรกติ สมดุล บูรณาการของปัจจัยต่าง ๆ อย่างน้อย 8 ด้าน ได้แก่ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ศาสนธรรม ครอบครัว และชุมชน
3. การเรียนรู้ หมายถึงการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนนั้น ๆ ผ่านการปฏิบัติ
4. การสร้างเสริม หมายถึงการเข้าไปเอื้ออำนวย ส่งเสริม เสริมพลัง (empower) ไม่ใช่เข้าไปสอนหรือถ่ายทอดความรู้
ทั้ง 4 องค์ประกอบ คือหัวใจของการจัดการความรู้ในทุกบริบท ไม่ใช่แค่การจัดการความรู้ของชาวบ้านหรือของชุมชน ในเรื่องการจัดการความรู้นี้ การเรียนรู้สำคัญกว่าตัวความรู้ เพราะถ้าไม่ระวัง ตัวความรู้จะเป็นความรู้ที่หยุดนิ่งตายตัว การเรียนรู้จะมีลักษณะ “ดิ้นได้” คือมีชีวิต เป็นพลวัต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้ร่วมกัน เป็น collective learning และเป็นการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ (interaction learning through action)
อ.บดินทร์ วิจารณ์ เป็นบุคคลหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในด้าน การจัดการความรู้ (Knowledge Management - KM) และองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)ได้กล่าวไว้เมื่อคราวสัมมนาวิชาการ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2548 ณ ห้องประชุม 2 อาคาร HS05 คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่า การจัดการความรู้ (KM) สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติให้ได้ ใช้ภาษาเดียวกัน สื่อความหมายกันให้ได้ การเรียนรู้ของบุคคลหัวใจสำคัญอยู่ที่เราจะได้เรียนรู้จากการสอนคนอื่น (Learning from Teaching) และ สิ่งที่สำคัญของการจัดการความรู้ ก็คือ เรื่องของคน การพัฒนาคน คนพัฒนาตนเอง การวางแผนทำงาน การจัดลำดับความสำคัญ ของงาน ขององค์กร
การจัดการความรู้กับองค์กรแห่งการเรียนรู้
                 การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นพบว่าองค์กรต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออกหรือเกษียณ อายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นจากแนวคิดที่มุ่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้มากแต่เพียงอย่างเดียวจึงเปลี่ยนไป และมีคำถามต่อไปว่าจะทำอย่างไรให้องค์กรได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับเรื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นอย่างยิ่ง หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในสหรัฐอเมริกายังคงแข่งขันกันหาวิธีบริหารจัดการความรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อให้อยู่ในโลกของการแข่งขันได้สำหรับประเทศไทยนั้นคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้บริหารที่จะหายุทธวิธีในการดึงความรู้ออกมาจากตัวบุคคล และการกระตุ้นให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งการถ่ายทอดความรู้บางประเภทนั้น การฝึกอบรมอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด อุปสรรคที่มักพบอยู่เสมอของการบริหารจัดการความรู้คือพฤติกรรม "การหวงความรู้" และวัฒนธรรม "การไม่ยอมรับในตัวบุคคล" หากองค์กรสามารถกำจัดจุดอ่อนทั้งสองอย่างนี้ได้การบริหารจัดการความรู้ก็มิใช่เรื่องยากจนเกินไป สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญที่ผ่านมาเมื่อเดือนตุลาคม 2545 ได้มีการวางกรอบแนวทางการบริหารราชการแผ่นดินไว้อย่างชัดเจน ซึ่งรวมถึงการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นเรื่องของการกำหนดขอบเขต แบบแผน วิธีปฏิบัติ โดยเฉพาะมาตรา 11 ได้กำหนดเป็นหลักการว่าส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

ชุมชนนักปฏิบัติ

    ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP = Community of Practice) คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้
  • ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
  • มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
  • มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
  • วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
  • มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
  • มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
  • มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
  • มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
  • มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม

ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อย ๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน 
ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร 
เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ

    แนวคิด
  • CoP เป็นกลไกของการไขว่คว้าหาความรู้เข้าหาตัว มากกว่าการรวบรวมความรู้ เพื่อส่งมอบให้ผู้อื่น
  • CoP เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อเป็นคนทำงานที่เก่งขึ้น มิใช่แค่เรียนรู้ว่า จะทำงานอย่างไร หรือเรียนรู้แต่เรื่องที่เป็นนามธรรม
  • การเป็นสมาชิกของ CoP คือ มีส่วนร่วมในชุมชนนั้น อย่างมีความหมาย
  • CoP ควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร

แนวคิดของการปฏิบัติในชุมชนนักปฏิบัติ หรือ P ใน CoP หมายถึง การกระทำในบริบทเฉพาะ 
สิ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติ และเป็นผลจากการเรียนรู้ ได้แก่ 
• สิ่งที่ปรากฎชัดแจ้ง: เครื่องมือ เอกสาร ภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ บทบาที่ชัดเจน เกณฑ์ที่กำหนดไว้ กฎข้อบังคับ สัญญา 
• สิ่งที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง: ความสัมพันธ์ กฎเกณฑ์ในใจ ความหยั่งรู้ การรับรู้ ความอ่อนไหว ความเข้าใจ สมมติฐาน มุมมองซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป 
การปฏิบัติมิใช่สิ่งตายตัว ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง หรือกฎระเบียบ 
มีคนอื่นในองค์กร ซึ่งมีประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์กับเรา พวกเขาเต็มใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์นั้น ให้ผู้อื่น และเราเต็มใจที่จะช่วยพวก เขา เราสามารถค้นหาพวกเขาได้พบ แม้จะไม่รู้จักพวกเขา 
ธรรมชาติของ CoP 
1. องค์กรประกอบไปด้วย CoP จำนวนมากทับซ้อนกันอยู่ คู่ขนานไปกับโครงสร้างที่เป็นทางการขององค์กร 
2. รอบชีวิตของ CoP ไม่มีความชัดเจนว่า เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ขึ้นกับความพร้อม และโอกาสเหมาะ สำหรับการเรียนรู้ 
3. ประเด็นที่ CoP ให้ความสนใจจะเปลี่ยนไปตามความต้องการ และความสนใจของสมาชิก 
การสนับสนุน CoP 
1. ปฏิบัติต่อ CoP เสมือนทรัพย์สินขององค์กร ให้การสนับสนุนทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร ดูแลเป้าหมายให้สอดคล้องกับองค์กร 
2. ส่งเสริมการสร้าง CoP ด้วยการยอมรับผลงานที่เกิดขึ้น จากกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ และดึงชุมชนเข้ามาร่วมกันทำงาน ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก 
3. มองว่า องค์กรเป็นที่รวมของชุมชน ที่เชื่อมต่อกัน 
ส่งเสริมให้มีจุดยืนที่เหมาะสม และมีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กร 
1. ส่งเสริมให้ CoP เรียนรู้จากภายในกลุ่ม และจากกลุ่มอื่นๆ 
2. ดูแลว่า กลไกขององค์กรมีส่วนในการสนับสนุน CoP 
3. ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกรูปแบบ และเชื่อมต่อทั่วทั้งองค์กร 
มุมมองต่อการเรียนรู้ 
1. การเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ แต่เรามักจะมองไม่เห็นว่า เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น 
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการดูเอกสาร ของคนอื่น แต่เกิดจากการทำความเข้าใจ ในตรรกะ หรือวิธีคิดของคนอื่น 

เทคโนโลยีสารสนเทศ 
1. ช่วยให้เราแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และความคิดกันได้กว้างขวางขึ้น 
2. หัวใจของการแลกเปลี่ยน คือ ความสนใจร่วมกัน ใส่ใจความคิดของกันและกัน และสร้างชุมชนซึ่งเชื่อใจกัน 
การหาโอกาสเรียนรู้ 
1. ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ให้มองหาแบบแผน / สาเหตุของการมีส่วนร่วม และการแยกตัวของสมาชิก 
2. เมื่อมีการนำความรู้ไปใช้ในบริบทอื่น หรือมีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปยังอีกหน้วยงานหนึ่ง ให้ติดตามเรียนรู้การปรับเปลี่ยน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และการแผลความหมายใหม่ 
3. รับรู้การเกิดขึ้น ของวิธีปฏิบัติใหม่ๆ ในที่ไกลหูไกลตา 
4. การเรียนรู้ที่ชายขอบของ CoP ก็มีความสำคัญ ได้แก่ การดึงดูดสมาชิกใหม่ การตอบสนองสิ่งกระตุ้นจากภายนอก การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ 
ข้อควรระวัง 
1. ความพยายามที่จะเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก มาเข้าไว้ในลักษณะของเอกสาร อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดเป็นขยะของข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่คนใช้ สุดท้ายคนก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ในเรื่องประสบการณ์ จากเพื่อนร่วมงาน 
2. ให้มีการเรียนรู้ใกล้ชิดกับการปฏิบัติให้มากที่สุด อย่าด่วนหลวมตัวที่จะสกัดความรู้ความรู้จาก CoP หรือเปลี่ยนความรู้จาก CoP ไปเป็นหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรม 

แนวคิดปัจจุบัน 
เปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวความรู้ ไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างบุคคล อย่าสร้างห้องสมุดที่เต็มไปด้วยเอกสาร ให้สร้างบัตรรายชื่อบุคคล (card catalog) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลต่อบุคคล 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 
กลุ่มที่ไม่เป็นทางการเป็นสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติอยู่แล้วในองค์กร มีลักษณะของสิ่งมีชีวิต เติบโตขึ้นเมื่อเป็นที่ประสงค์ของสมาชิก การที่จะให้มีคุณค่าต่อองค์กร จะต้องได้รับการเพาะบ่ม ดูแลด้วยความระมัดระวัง การสนับสนุนมาเกินไป อาจจะทำให้ไม่เป็นที่สนใจจากสมาชิก การปล่อยปละละเลย ก็อาจจะทำให้แคระแกร็นเหี่ยวเฉา ความท้าทายนี้แตกต่างจากปัจจัยต่างๆ ที่ผู้นำองค์กรเคยประสบ 
ความท้าทายสำหรับ CoP 
ปัญหาสำคัญของชุมชนที่กำลังเติบโต คือ การที่สมาชิกสูญเสียความสนใจ และปล่อยให้ผู้ประสานงานรับผิดชอบไปคนเเดียว เมื่อผู้ประสานงานหันไปทำงานอื่น ชุมชนก็ล่มสลาย ปัญหาสำคัญของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่สนใจอยู่แต่ความสำเร็จของตนเอง ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ จะช่วยรักษาพลังของชุมชน ให้เกิดความต่อเนื่อง นำสมาชิกใหม่เข้ามาร่วม และมุ่งไปที่ประเด็นที่แหลมคม 
เชิญผู้นำทางความคิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับเข้ามาร่วมแต่เริ่มแรก เพื่อสร้างพลังให้แก่ชุมชน 
จัดให้มีเวทีพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อสร้างความตื่นตัว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกร่วม 
ส่งเสริมการติดต่อระหว่างสมาชิกของชุมชน 
จัดตั้งกลุ่มแกนที่แข็งขัน ไม่จำเป็นว่าสมาชิกทุกคนจะมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน สนับสนุนกลุ่มแกนด้วยการให้เป็นที่รับรู้ของชุมชน และไม่รบกวนเวลาเพิ่มมากเป็นพิเศษ 
ความท้าทายด้านเทคนิค 
ทำให้การติดต่อ การให้ข้อมูล และการเข้าถึงชุมชนเป็นเรื่องง่าย เช่น การใช้ Software computer ที่ใช้ง่าย และคุ้นเคย ความท้าทายสำหรับสมาชิก สิ่งที่มีคุณค่ามากของชุมชน คือ การร่วมกันแก้ปัญหา แต่การอภิปรายปัญหาอย่างเปิดอก ในขณะที่ความคิดยังไม่สุกงอมดี หรือคิดดัง ๆ ในที่ประชุมเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของเรา ความท้าทายของสมาชิกที่สำคัญ คือ การพูดถึงปัญหาของตนเอง ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่เราไม่รู้จัก 
สร้างเวทีเสวนาในประเด็นที่เฉียบคม ให้สมาชิกอาวุโสซึ่งคนยอมรับ เป็นผู้ขอความช่วยเหลือ และหาผู้ที่มีกึ๋นไปร่วมอยู่ในเวที ผู้ประสานงานช่วยกระตุ้นให้อธิบายหลักคิดของข้อเสนอ เพื่อให้สมาชิกอภิปรายไปที่สมมติฐาน ที่ใช้และเลือกการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มขนาดเล็ก 2-3 คน อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างชุมชนได้ 
ตามนิยามของ DOPA KM Team ได้กล่าวไว้ว่า CoP เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ 
Cop จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไปตรงที่ Cop เป็นการรวมตัวกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะและจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจร่วมกันเท่านั้น 
ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม CoP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานของบุคคลและองค์กรต่อไป และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลางบรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialogue) ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูดให้เกียรติกัน ให้โอกาสกัน และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร กับรับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening) 
กรมการปกครองเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Cop) นำร่องที่ วปค. 
จากการที่กรมการปกครองได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลมอบหมายให้เป็น ภาคส่วนหลักในการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญระดับชาติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การรักษาความมั่นคงภายใน การแก้ไขปัญหายาเสพติด การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น แสดงถึงการมีบุคลากรที่เป็น “ทุนทางสังคม” อยู่เป็นพื้นฐานในองค์กร กรมการปกครองจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในรูปของการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น โดยนำร่องที่วิทยาลัยการปกครองก่อน เรียกว่า “โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) วิทยาลัยการปกครอง” โดยมีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ 
(1) นำทฤษฏีการจัดการองค์ความรู้ (KM) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานจริง 
(2) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทั่วองค์กร (Communication) ด้านการจัดการองค์ความรู้ 
(3) เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ CoP ในกระบวนการ KM สำหรับแนวทางดำเนินการกำหนดไว้ ดังนี้

3.1 การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
3.2 ทำหนังสือเวียน เชิญชวน ข้าราชการ ลูกจ้าง ร่วมเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้
3.3 เชิญสมาชิกประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ตามหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสมาชิก
3.4 ประสานงานเรื่องสถานที่ประสานงานบุคคลและงานธุรการอื่น
3.5 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
3.6 จัดทำสรุปการเสวนาของ CoP เพื่อเผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น ส่งเสริม เป็นระยะ ๆ
3.7 ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน
โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลารวมถึงการกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้วติดตามประเมินผลเพื่อทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อไป 
บทสรุป 
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการ KM ที่มีกิจกรรมหลายประการที่จะต้องดำเนินการทั้งในส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นมิติของการบังคับและในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริม ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ คือ การที่จะต้องดำเนินการ KM ในฐานะตัวชี้วัดที่เป็นพันธะสัญญาที่กรมการปกครองได้จัดทำไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 กับ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้สำเร็จ คือ การดำเนินการในส่วนกลางของทุกสำนัก/กอง ตามแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ (KM Action Plan) กับการดำเนินการในส่วนภูมิภาคของอำเภอ/กิ่งอำเภอ ในการทำให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอำเภอ/กิ่งอำเภอ จะต้องจัดทำผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ จำนวน 1 เรื่อง เพื่อเผยแพร่ติดไว้ที่ ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ และบันทึกไว้ที่เว็บไซต์ของจังหวัดและกรมการปกครอง ในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริมคือ การดำเนินการ KM ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อน องค์กรสู่ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและทำให้มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด บุคลากรของกรมการปกครองที่ถือได้ว่าเป็น “ทุนทางสังคม” มีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่เป้าหมาย KM ดังกล่าว การศึกษาเรียนรู้เรื่อง KM และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรม KM ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผล กับงานด้านการจัดการความรู้ที่กรมปกครองรับผิดชอบเช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาและสำเร็จผลลงด้วยดี กับทั้งเกิดคุณค่าประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและชาติบ้านเมืองไปพร้อมกัน เป็นที่ยอมรับและได้เกิดความไว้วางใจจากรัฐบาลทุกรัฐบาลเสมอมา

โมเดลการจัดการความรู้

โมเดลเซกิ (SECI Model) [8] # ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน 
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit 
      กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา 
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit 
      กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่ 
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit 
      กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร 
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit 
      กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร 

http://en.wikipedia.org/wiki/SECI_model_of_knowledge_dimensions 
http://aminaghazadeh.edublogs.org/2010/08/30/nonakas-seci-model/ 
http://www.slideshare.net/atifshaikh4514/introduction-to-knowledge-managemetn 
http://nandita-msn.blogspot.com/2009/02/classification-of-km-models.html 
+ NCCIT2013 : an_information_technology_knowledge_management_system.pdf 
+ NCCIT2013 : online_computer_crime_law_knowledge_management_system.pdf 
+ NCCIT2013 : semantic_knowledge_management_using_seci_model_for_computerized_auditing.pdf 
                                       
Nonaka, I. and H. Takeuchi, (1995), The Knowledge Creating Company, Oxford University Press, New York, NY

ภาษิต คำคมการจัดการความรู้

Knowledge resides in the users and not in the collection.
ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้ 

(Y. Maholtra)

KM is a Journey, not a destination.
การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง 

(Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)

A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle.
ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ 

(Kahlil Gibran)

Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.
ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล
Knowledge is not what you know, but is what you do.
ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ
Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents
but rather interactions between people.
การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน 

(Mason & Mitroff, 1973)

Shift from error avoidance to error detection and correction
จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข

การใช้ FB Group เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้



                                                               องค์ประกอบของ FB Group ในภาพนี้                                                                
                                                               1. Favorites                                                                                                     
                                                               2. Photo                                                                                                           
                                                               3. Video                                                                                                       
                                                               4. Add file (25 MB) + Create Doc                                                                
                                                               5. Events                                                                                                       
                                                               6. Question in Pined Post                                                                               
                                                               7. Group name                                                                                                
                                                               8. Members in public group                                                                            
                                                                                                                                                                                        

กระบวนการการใช้คน/เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ
1. การบ่งชี้ความรู้- สร้างกลุ่มที่มีชื่อกลุ่มตามประเด็นความรู้อย่างชัดเจน
- รวบรวมสมาชิก สร้างเครือข่ายสมาชิกผ่านกลุ่ม
- กำหนดประเภทของกลุ่ม ลักษณะของประเด็นความรู้
2. การสร้างและแสวงหาความรู้- แต่ละคนรวบรวมความรู้เดิม/ใหม่
- ส่งแฟ้มข้อมูล หรือแหล่งคน/สถานที่ หรือสแกนเก็บไว้
- รับ/ส่งความรู้ระหว่างสมาชิก
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ- กำหนดผู้รับผิดชอบ หน้าที่ และขั้นตอน
- จัดกลุ่มความรู้ที่ได้มาเป็นกลุ่มในระบบที่สร้างขึ้น
- จัดทำตารางความรู้ที่มีประเภท ชนิด แหล่งที่มา ผู้รับผิดชอบ ฯลฯ
- ทำ poll เพื่อช่วยในการตัดสินใจของกลุ่ม เป็นเครื่องมือหาข้อยุติ
4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้- ทำชั้นความรู้แบบ organization อาจใช้ ppt ช่วยวาดแผนผัง
- กำหนดวิธีจัดเก็บให้ชัดเจน หรือสร้างระบบฐานความรู้
- เรียบเรียงใหม่ให้เป็นระบบที่เข้าใจ และเข้าถึงได้ง่าย
5. การเข้าถึงความรู้- เผยแพร่ความรู้ในเครือข่ายสังคม
- อยู่ในรูปเว็บเพจ โบว์ชัวร์ รายงาน บทความ คลิ๊ปภาพ คลิ๊ปเสียง
- สร้างระบบสืบค้น กลั่นกรอง และรายงานแบบต่าง ๆ
6.การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้- กำหนดผู้รับผิดชอบในกระบวนการแลกเปลี่ยน
- แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
- แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)
- สร้างเวที และนำเสนอผลในเครือข่ายสังคม นำที่ได้กลับเข้าเวที
- ปรับปรุงความรู้ให้ทันสมัย ถูกต้อง สมบูรณ์ แล้วเผยแพร่อีกครั้ง
7. การเรียนรู้- กำหนดผู้รับผิดชอบระบบความรู้ในระบบต่าง ๆ
- แบ่งปัน Best practice ทั้งในเวที ในการทำงาน และเครือข่ายสังคม
- ใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และเป็นส่วนหนึ่งของงานที่มีส่วนร่วม

ตัวอย่างชุดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

การจัดเวทีแสดงผลงานสร้างสรรค์และประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
(กรณีศึกษาคณะศิลปะและการออกแบบ)
๑. วางกลยุทธ์ในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ให้เป็นที่สนใจและมองหาผู้ร่วมจัดประชุม
ในต่างประเทศที่จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติมาก่อน เพื่อจะได้ร่วมกันหาเพื่อนสมาชิกจากต่างประเทศให้ได้อย่างน้อย ๘ ประเทศ ตามข้อกำหนดของส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
๒. ก าหนดหัวข้อการจัดประชุมวิชาการนานาชาติให้น่าสนใจ และมีความส าคัญเหมาะสมกับ
สถานการณ์ หรือความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยทางคณะศิลปะและการออกแบบใช้ชื่อว่า “Work in Progress ” Rangsit University International Design Symposium .
จาก ชุดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์(ฉบับสมบูรณ์) จัดทำโดยคณะอนุกรรมการการจัดการความรู้ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค มหาวิทยาลัยรังสิต 



รูปแบบการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่หลากหลาย หมายรวมถึง
๑. การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบของการนำเสนอปากเปล่า หรือแบบโปสเตอร์ ในงาน
ประชุมวิชาการที่มีเอกสารประกอบการประชุม
๒. การตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ
๓. การเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือหรือตาราทางวิชาการ
๔. การเผยแพร่งานสร้างสรรค์ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการและการออกแบบ การจัดสัมมนา
วิชาการและแนวปฏิบัติด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว

๕. การเผยแพร่ในรูปแบบของการจัดเวทีชาวบ้าน

แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practices) การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชน และประชาคมอาเซียน ระดับอุดมศึกษา


 “ การบูรณาการการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม” 
ชื่อเรื่อง/แนวปฏิบัติที่ดี: สหวิธีการบูรณาการการจัดการความรู้คู่สังคมพหุวัฒนธรรม นาสู่ประชาคมอาเซียน 
ชื่อ-นามสกุลผู้นาเสนอ: อาจารย์อุบลทิพย์ ไชยแสง 
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา 
หน่วยงาน : กลุ่มงานพัฒนานักศึกษา ทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม 
เบอร์โทรศัพท์ : 073 -212863 ต่อ 453 เบอร์มือถือ 089 – 4636605, 087-2991409 
เบอร์โทรสาร : 073 - 213234 
E-mail address: ubontip20@hotmail.com 

1. บทสรุปผู้บริหาร 
จังหวัดยะลา เป็นจังหวัดหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จาก 
การอยู่ร่วมกันของคนหลายเชื้อชาติ ต่างศาสนา ในพื้นที่สีแดงที่ยังประสบกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย ปัญหาความไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตของคนทุกเพศ ทุกวัยในพื้นที่เสี่ยงที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รวมถึงการขาดความรู้ความเข้าใจในด้านอื่น ๆ เช่น นโยบายของประเทศไทย ที่จะมีการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งจากการศึกษา สังเกต และสอบถามพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล ยังขาดความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งนอกเหนือจากภารกิจหลักในการผลิตกาลังคนด้านสุขภาพแล้ว วิทยาลัยยังมีพันธกิจที่สาคัญด้านอื่น ๆ ที่ต้องกระทาควบคู่กันไป ซึ่งได้แก่ การบริการวิชาการ และการทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งวิทยาลัยให้ความสาคัญกับพันธกิจดังกล่าว โดยส่งเสริมการบูรณาความรู้ ด้วยการเชื่อมโยงการให้บริการวิชาการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน การทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม อันเป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้เกิดเครือข่ายชุมชนโดยเฉพาะในสังคมพหุวัฒนธรรมที่ยังต้องการความเอาใจใส่ดูแลจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการและศิลปวัฒนธรรม ส่งผลให้วิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคมเพิ่มมากขึ้น สาหรับพันธกิจด้านการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งวิทยาลัยให้ความสาคัญ และมุ่งสร้างจิตสานึกและความตระหนักในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นแก่นักศึกษา โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งมีศิลปวัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แสดงถึงเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจร่วมกันของคนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นมรดกอันล้าค่าที่ควรได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ส่งเสริมเผยแพร่เพื่อให้คงอยู่ไว้ ตามจุดเน้นของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน และการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรมเข้าด้วยกันอย่างลงตัว ตามวงจรคุณภาพ PDCA คือขั้นวางแผนการดาเนินงาน ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นตรวจสอบ และขั้นนาไปใช้ ทาให้เกิดผลงานของกระบวนการ มี
การสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ตามความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพของบุคลากรในวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีการขยายผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบของการต่อยอดการศึกษาผ่านกระบวนการจิตอาสา และการบริการลงสู่ชุมชน และปรับใช้กับหน่วยงานอื่น การถอดบทเรียนในลักษณะของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาการจัดการความรู้ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของผู้มีส่วนร่วม เป็นความสาเร็จสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนของประชาชนในพื้นที่ต่อไป 
2. ประวัติหน่วยงาน 
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกสานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ทาหน้าที่ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข เพื่อตอบสนองระบบบริการสุขภาพ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2509 เดิมชื่อ ศูนย์ฝึกและอบรมอนามัยภาคใต้ จังหวัดยะลา ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อเป็น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2537 โดยกลุ่มงานพัฒนานักศึกษา ทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานสังกัดกลุ่มกิจการนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เริ่มดาเนินการแยกจากจากกลุ่มพัฒนา และสวัสดิการนักศึกษาเดิม ก่อนแยกออกมาเป็นกลุ่มกิจการนักศึกษา ประกอบด้วยสายงานใหม่อีก 2 หน่วยงาน ได้แก่ กลุ่มงานสวัสดิการนักศึกษาศิษย์เก่าสัมพันธ์และกลุ่มงานพัฒนานักศึกษา ทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2554 ปัจจุบัน สานักงานตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารกิจการนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา 
3. กระบวนการ/วิธีดาเนินการในอดีต 
ปัญหา และสภาพการปฏิบัติงานเดิมก่อนที่จะริเริ่มการปรับปรุง พบว่าการดาเนินการด้านการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นพันธกิจหนึ่งของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา เดิมมีการดาเนินงานแบบแยกส่วนคือยังไม่มีการรวมตัวกันกาหนดจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการทางาน และการกาหนดยุทธศาสตร์ ด้านการทางาน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางต่าง ๆ ของประเทศ และยังไม่สอดคล้องกับบริบท สังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ การทางานยังคงจัดกระทาเพื่อตอบสนองนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อตอบสนองเพียงระบบประกันคุณภาพการศึกษา ยังขาดการบูรณาการที่เหมาะสมกับพันธกิจอื่น ๆ ได้แก่ พันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ ทาให้ประสบปัญหาการดาเนินงานซ้าซ้อน และไม่สอดคล้องกับกระแสสังคม โดยเฉพาะประเด็นสาคัญเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งการจัดกระทาต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องและเข้าถึงสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลายทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และภาษา 
กลุ่มที่มีความหลากหลายได้แก่ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดยะลา ที่มีการใช้ภาษาที่แตกต่างโดยการใช้ภาษายาวีในการดารงชีวิตทาให้ไม่สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสาธารณสุข อันเป็นความมุ่งหวังของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพแก่ชุมชน ยังพบปัญหาสาธารณสุข
หลายปัญหา พบอัตราการตายและป่วยเป็นโรค จากการขาดความรู้ความเข้าใจของคนในพื้นที่ ประกอบกับความแตกต่างทางด้านความเชื่อ และการสื่อสารให้มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันในการดาเนินงาน 
ประเด็นการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นประเด็นสาคัญและเป็นการเตรียมตนเองสู่การดาเนินชีวิต และการรู้เท่าทันการพัฒนาสังคมในพื้นที่ แต่จากการดาเนินงาน ศึกษา ค้นคว้า และสอบถามพบว่า ประชาชนโดยเฉพาะที่ไม่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ จะขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในทุกส่วน การดาเนินงาน ยังไม่มีการตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ทาให้กิจกรรมโครงการหลายส่วนยังไม่ประสบความสาเร็จ ขาดการคลอบคลุม ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง รวมถึงยังประสบปัญหากับการทางานที่ซ้าซ้อน จากการขาดการพูดคุยและทาความเข้าใจในทิศทางการดาเนินงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 
4 แนวปฏิบัติที่ดี (วิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดาเนินงานตามหลัก PDCA) 
4.1 วัตถุประสงค์และกลยุทธ์การดาเนินงาน 
1) เพื่อพัฒนาระบบการดาเนินงาน พันธกิจการทานุบารุงศิลปะ และวัฒนธรรม 
2) เพื่อพัฒนานักศึกษา ให้มีความตระหนักถึงความสาคัญของประชาคมอาเซียน และมีทักษะ 
การบูรณาการการจัดการความรู้ ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม สู่ชุมชน 
3) เพื่อสร้างนวัตกรรม และชิ้นงานการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ และประชาคมอาเซียนสู่ 
ชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม 
4) เพื่อพัฒนาต่อยอดการดาเนินการลงในระดับชุมชน เป็นชุมชนพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ 
และก้าวทันสู่ประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน 
4.2 กระบวนการดาเนินงาน 
1) การประชุมกลุ่ม โดยจัดให้มีการเสวนากลุ่มเพื่อสารวจ และวิเคราะห์ตนเองโดยประยุกต์ 
จากหลักการของ SWOT Analysis ให้ทุกคนมีส่วนในการตอบแสดง แล้วนามาจัดทาข้อสรุป ดังนี้ 
(1) จุดเด่น คือ วิทยาลัยมีคณะอาจารย์ที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ ได้แก่ 

ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข ที่มีความเชี่ยวชาญสามารถจัดการการถ่ายทอดด้านความรู้ทางสุขภาพได้อย่างหลากหลาย รวมถึงมีคณาจารย์ที่มีความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรม ภาษา การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการทางานในพื้นที่ที่มีการทา MOU สามารถให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือกับวิทยาลัย ในการร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี 
(2) จุดอ่อน คือ คณะดาเนินงานส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ 

เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และยังไม่เห็นความสาคัญของการต้องดาเนินการโดยต้องกาหนดทิศทางร่วมกัน 
(3) โอกาส คือ คณะดาเนินงานส่วนใหญ่ รวมถึงนักศึกษาเป็นคนในพื้นที่ ซึ่งเข้าใจบริบทของชุมชนเป็นอย่างดี สามารถสร้างการยอมรับจากชุมชนได้เป็นอย่างดี และยังได้รับการสนับสนุนจากผุ้บริหารเป็นอย่างดี 
(4) อุปสรรค คือ การดาเนินงานในพื้นที่ที่ขาดความปลอดภัย ทาให้อาจส่งผลต่อ 
ความไม่สะดวก และข้อจากัดในการดาเนินงาน 

การบูรณาการการจัดการความรู้ สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน


การประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้ สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน”
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เชิญชวนร่วมโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้ สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” (Integration of Knowledge Management for Community and ASEAN Community) ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2558 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดสงขลา
ภายในงานฯ จัดให้มีการบรรยายทางวิชาการ เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชน และประชาคมอาเซียน” / การจัดกิจกรรมการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อชุมชน” ฯลฯ / การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติที่ดี เรื่อง “ผลการดำเนินงานในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน” ของชุมชน ฯลฯ / การจัดนิทรรศการแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชน และประชาคมอาเซียน” ฯลฯ และการแสดงผลงาน / สินค้าของชุมชนและนักศึกษาตลอดโครงการ
จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานฯ ได้ในวัน และสถานที่ดังกล่าว หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โทร. 0-7431-7142 , โทรสาร. 0-7431-7142 หรือ E-mail:mutsv.km@gmail.com