นักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่าย ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดภาพถ่าย ระดับนานาชาติ






อลงกรณ์ อนุพงศ์พันธุ์ นักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่าย ชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดภาพถ่ายระดับนานาชาติที่เกาหลี จากงาน 2010 ASEAN-Korea Multimedia Competition & Exhibition งานนี้จัดขึ้นโดย The ASEAN-Korea Center.

การจัดการประกวดในโครงการนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2009 การจัดครั้งนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 2 ในหัวข้อ "ASEAN & Korea Cities : Urban Culture & Green Life" มีผู้ส่งภาพถ่ายเข้าร่วมประกวดมากกว่า 600 ภาพ จากประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ นอกเหนือจากการได้รับรางวัลที่ 1 ได้รับการนำภาพออกจัดแสดงเป็นนิทรรศการ และยังมีกิจกรรม workshop ทางด้านมัลติมีเดียร่วมกันกับผู้ได้รับรางวัลจากชาติอื่น ๆ อีก 5 วัน



Reference : http://www.aseankorea.org/

นักออกแบบกับการออกแบบ Digital Magazine

ความเห็นของคุณขจร พีระกิจ เกี่ยวกับนักออกแบบกับงานออกแบบ Digital Magazine

ภาพถ่ายผลงานรางวัล Young Thai Artist Award 2010

ภาพถ่ายผลงานของนักศึกษาสาขาศิลปภาพถ่ายที่ได้รีบรางวัลจากโครงการรางวัลศิลปะเพื่อเยาวชน ประจำปี 2553 ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิซิเมนต์ไทย


Concept : เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) จากครรภ์มารดา ถูกถ่ายทอดผ่านสายใยแห่งชีวิตไปยังทารก ซึ่งเกิดมาสู่สังคมที่พวกเขาไม่ได้มีสิทธิ์ในการเลือกและจะต้องอยุ่กับมันไปจนสิ้นลมหายใจ แต่ผู้คนในสังคมกลับผลักไสแบ่งแยกพวกเขาออกไป โรคร้ายที่พวกเขาเป็นจะทำให้พวกเขามีชีวิตรอดอยู่ไปอีกนานเท่าใด หรือพวกเขาจะสามารถเลือกทางเดินของพวกเขาเองได้ในอนาคตหรือไม่ ใครเล่าเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตนี้


Concept : การที่เราจะแสดงออกต่อที่สาธารณะใดๆ จะไม่มีใครสามารถรู้ความจริงที่มีในใจของตัวเราได้อย่างแท้จริง มีเพียงตัวเราเท่านั้นที่จะเข้าใจและรู้สึกได้เพียงลำพัง

รางวัลยอดเยี่ยมประเภทภาพถ่าย YTA2010

ชวลิต กรรมสาธก จากสาขาศิลปภาพถ่าย คณะศิลปะและการออกแบบ ผู้ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม สาขาภาพถ่าย จากภาพชุด "ชีวิตนี้ใครกำหนด" จากรางวัลศิลปะเพื่อเยาวชนไทย ประจำปี 2553 จัดโดยมูลนิธิซีเมนต์ไทย ประกาศผลเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 ที่หอศิลป์เจ้าฟ้า

นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลดีเด่นอีกหนึ่งรางวัล จากภาพชุด "ไม่มีใครรู้" ของ สรรพัชญ์ วัฒนสิงห์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3

การเขียนโครงการ ง่ายจัง ประถมก็ทำได้

โค้ดมาจาก..http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no04/project.html


1.ชื่อโครงการ ต้องเป็นชื่อที่เหมาะสม ชัดเจน ดึงดูดความสนใจ และเฉพาะเจาะจงว่าจะทำอะไร
2.หลักการและเหตุผล เป็นการแสดงถึงปัญหาความจำเป็น ผู้เขียนโครงการต้องพยายามหาเหตุผลต่างๆเพื่อแสดงให้
ผู้พิจารณาโครงการเห็นความจำเป็น และความสำคัญของโครงการ เพื่อที่จะสนับสนุนต่อไป
3.วัตถุประสงค์/เป้าหมาย เป็นการแสดงถึงความต้องการที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ต้องเขียนให้
ตรงกับปัญหาว่าระบุไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหานั้นๆและต้องกำหนดวัตถุประสงค์ในสิ่งที่เป็นไปได้ สามารถวัดได้
4.วิธีดำเนินการ แสดงขั้นตอนภารกิจที่จะต้องทำให้การดำเนินงานตามโครงการและระยะเวลาในการปฏิบัติแต่ละขั้นตอน
เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ
5.ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ เป็นการระบุเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดโครงการและสถานที่ที่จะทำโครงการ
เพื่อสะดวกในการพิจารณาและติดตามผลของโครงการ
6.งบประมาณ แสดงยอดรวมงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการดำเนินโครงการแหล่งที่มาและแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน
ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
7.ผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องระบุชื่อผู้ที่ทำโครงการ
8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุประโยชน์ที่คิดว่าจะได้จากความสำเร็จเมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นการระบุว่าใครจะได้
รับผลประโยชน์และผลกระทบหรือมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอะไรทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณและต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

9.การประเมินผลโครงการ เป็นการระบุว่าหากได้มีการดำเนินโครงการแล้ว จะมีการติดตามดูผลได้อย่างไร เมื่อใด

การเขียนโครงงานประเภททดลอง

๑๐.๑ ให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วพิจารณาเลือกปัญหาหรือ ข้อสงสัยที่คิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้การอ่านออกเสียงควบกล้ำ
ร ล ไม่ชัดโดยเขียนเครื่องหมาย หน้าข้อที่เลือก

"ในห้องเรียนหนึ่งมีนักเรียนทั้งหมด ๔๕ คน หัวหน้าห้องได้รับมอบหมายจากครูประจำชั้นให้สังเกตการออกเสียงควบกล้ำ ร ล
ของเพื่อนทุกคนในห้อง หัวหน้าห้องสังเกตพบว่า เมื่อครูให้อ่านหนังสือในชั้นเรียนจะ ออกเสียงควบกล้ำ ร ล ได้ชัดเจนแต่เมื่ออ่าน
ออกเสียงในกลุ่มย่อยกลับไม่มีควบกล้ำ ร ล"

จากข้อความดังกล่าวหัวหน้าห้องได้ตั้งปัญหาไว้ดังนี้

…………๑. ครูมีผลต่อการออกเสียงควบกล้ำ ร ล หรือไม่

…………๒. การอ่านหน้าชั้นเรียนมีผลต่อการอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล หรือไม่

…………๓. จำนวนข้อความที่ให้อ่านมีผลต่อการอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล หรือไม่

…………๔. เพื่อนมีผลต่อการอ่านออกเสียง ร ล หรือไม่

…………๕. ระยะเวลาที่อ่านมีผลต่อการอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล หรือไม่

แวะตรงนี้ก่อนนะ!!

เมื่อนักเรียนเลือกปัญหาหรือข้อสงสัยที่หัวหน้าห้องตั้งไว้แล้วให้นักเรียนศึกษาเอกสารอ่านประกอบก่อนจึงทำแบบฝึกข้อ ๑๐.๒

การตั้งสมมติฐาน

สมมติฐาน คือ แนวทางหรือคำตอบที่อาจเป็นไปได้ของปัญหา

การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การคาดคะเนหรือเดาคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักการและเหตุผล

หรือข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ

ตัวอย่าง

ปัญหา "ครอบครัวมีผลต่อการอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล หรือไม่"

สมมติฐาน คาดว่าครอบครัวที่พูดภาษาไทยภาษาเดียวอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล ได้ดีกว่า
ครอบครัวที่พูดภาษาไทยกับภาษาจีน

นักเรียนสามารถฝึกเรื่องการตั้งสมมติฐานได้ในแบบฝึกชุดที่ ๕

การกำหนดและควบคุมตัวแปร

ตัวแปรต้น หมายถึง สิ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ หรือสิ่งที่เราต้องการทดลองว่าเป็น
สาเหตุที่ทำให้เกิดผลนั้นจริงหรือไม่

ตัวแปรตาม หมายถึง สิ่งที่เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุ
เปลี่ยน ไป ตัวแปรตามหรือสิ่งที่เป็นผลจะเปลี่ยนตามไปด้วย

ตัวแปรควบคุม หมายถึง สิ่งอื่น ๆ นอกจากตัวแปรต้นที่จะทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
ถ้าหากไม่มีการควบคุมให้เหมือนกัน

ตัวอย่างการกำหนดตัวแปร (จากปัญหาและสมมติฐานข้างต้น)

ตัวแปรต้น ได้แก่ ครอบครัวที่พูดภาษาไทยภาษาเดียว กับ ครอบครัวที่พูดภาษไทยกับภาษาจีน

ตัวแปรตาม ได้แก่ การอ่านออกเสียงควบกล้ำ ร ล

ตัวแปรควบคุม ได้แก่ สถานที่อ่าน ระยะเวลาที่อ่าน ข้อความที่อ่าน บรรยากาศ และ

สภาพแวดล้อมขณะที่อ่าน

๑๐.๒ ให้นักเรียนเลือกปัญหาหรือข้อสงสัยจากข้อ ๑๐.๑ มาฝึกเขียนดังนี้

จากปัญหา : .........................................................................................................................................................................

สมมติฐาน คือ .....................................................................................................................................................................

ตัวแปรต้น ได้แก่ ..................................................................................................................................................................

ตัวแปรตาม ได้แก่ ................................................................................................................................................................

ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ............................................................................................................................................................

๑๐.๓ ให้นักเรียนเขียนวิธีการดำเนินทดลองเป็นข้อ ๆ แล้วส่งให้ครูตรวจพิจารณา

...........................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................

๑๐.๔ ให้นักเรียนเขียนโครงงานประเภททดลองตามหัวข้อดังนี้

ชื่อโครงงาน .........................................................................................................................................................................

ความเป็นมา / ความสำคัญของโครงงาน ................................................................................................................................

วัตถุประสงค์ ........................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................

ตัวแปรที่ศึกษา ......................................................................................................................................................................

- ตัวแปรต้น ได้แก่ ..............................................................................................................................................................

- ตัวแปรตาม ได้แก่ ...........................................................................................................................................................

- ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ........................................................................................................................................................

สมมติฐานในการค้นคว้า .......................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ................................................................................................................................................

แหล่งข้อมูล ..........................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................

นิยามศัพท์ ...........................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................

ขั้นตอนการดำเนินงาน ..........................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ...................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................

งบประมาณ ..........................................................................................................................................................................

ผู้รับผิดชอบโครงงาน ............................................................................................................................................................

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน .....................................................................................................................................................

๑๐.๕ นักเรียนดำเนินการทดลองตามที่วางแผน แล้วสรุปผลการทดลองเปรียบเทียบกับสมมติฐาน

.............................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................

ตัวแปรมีหลายประเภทดังนี้
ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรจัดกระทำ ตัวแปรเร้า เป็นต้น
การที่ใช้ชื่อว่าตัวแปรจัดกระทำ (Manipulated or Treatment Variable) เป็นการเรียกในกรณีวิจัยการทดลองทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยทดลองเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยจัดสภาพให้เกิดระดับหรือความเข้มข้น หรือประเภทแตกต่างกัน เช่น ถ้าตัวแปรอิสระเป็นอุณหภูมิ ผู้วิจัยจะจัดให้มีอุณหภูมิในการทดลองแตกต่างกัน เช่น ให้กลุ่มหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 20oC อีกกลุ่มอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 30oC เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเรียกว่าเป็นตัวแปรจัดกระทำ
ที่เรียกว่าตัวแปรป้อน (Input Variable) เป็นการเรียกในการวิจัยเชิงทดลอง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นตัวแปรที่ใส่ในการทดลอง

ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) มีชื่อเรียกอีกย่างว่าตัวแปรผล คำว่า ตาม (Dependent) หมายถึง ขึ้นอยู่กับ หรือแปรผันไปตาม ตัวแปรอิสระ กล่าวคือค่าของตัวแปรนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภท ระดับ หรือความเข้มของตัวแปรอิสระ
ที่เรียกว่าตัวแปรผล (Output Variable) เนื่องจากเชื่อว่าเป็นตัวแปรที่ได้รับผล หรือเป็นผลจากอิทธิพล ของตัวแปรอิสระ เช่น การสอน (ตัวแปรอิสระ) เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพลทำให้เกิดการเรียนรู้ (ตัวแปรผล) เป็นต้น
ตัวแปรอิสระ คือวิธีสอน ซึ่งมี 2 วิธี คือ
1.วิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
2.วิธีสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรตาม มี 2 ตัว คือ
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา
2.ความมีวินัยแห่งตน
ค. ตัวแปรสอดแทรกหรือตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง เช่น ขณะที่การทดลองกลุ่มตัวอย่างเกิดความเหนื่อยล้าหรือเกิดความวิตกกังวล มีแรงจูงใจสูงหรือต่ำเป็นต้น นอกจากความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวล แรงจูงใจ และยังมีตัวแปรชนิดนี้อีกหลายตัว เช่น ความรับรู้ ความต้องการ ความรู้สึก เป็นต้น
ง. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) คือตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษาผลของตัวแปรนั้นและได้ควบคุม แต่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรง ตัวอย่าง การทดลอง เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอน 2 วิธี ว่าใดจะช่วยให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียน ได้แก่ ระดับสติปัญญาของผู้เรียน ฯลฯ ดังนั้นทางเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกเอาห้องเรียนที่โรงเรียนจัดไว้ โดยไม่ได้ใช้วิธีจัดแบบสุ่ม ห้องเรียนแต่ละห้องมักมีนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาแตกต่างกัน อนึ่งยังมีตัวแปรอื่น ๆ อีก เช่น สถานะภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคม ความสามารถทางการเรียนของผู้เรียน เป็นต้น

จ. ตัวแปร Organismic หรือ Attribute Variable คือ ตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เป็นต้น

ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรเกินได้ เช่น ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง วิธีจับคู่ ตัวอย่าง (Matching) ฯลฯ
http://researchers.in.th/blog/cafe/264

การวางแผนการวิจัย (The research plan)
หลังจากที่ได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และกำหนดสมมุติฐานการวิจัยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การวางแผนการวิจัย (research plan ) การวางแผนวิจัยจะช่วยทำให้ผู้วิจัยได้รู้รายละเอียด และขั้นตอนต่าง ๆ ในการวิจัย การวางแผนวิจัยมี 3 ส่วน (Johnson and christensen, 2000: 52 - 55) คือ
บทนำ (Introduction) ประกอบด้วย
1. เหตุผลในการศึกษา (The reason for conducting the study)
2. วิธีการวิจัยที่เหมาะสม และเป็นส่วนขยายของการวิจัยก่อนหน้านี้ (How the study fits in with and is an extension of prior research)
3. จุดมุ่งหมายของการศึกษา (The purpose of the study
4. สมมุติฐานการวิจัย (The hypothesis of the study)
วิธีการ (Method ) ประกอบด้วย
1. ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย (Research Participants) เช่น กลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Apparatus / instruments) เครื่องมือที่ใช้แยกเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องมือที่ใช้ที่เป็นเอกสาร เช่น แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดเจตคติ เป็นต้น เครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง คือ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยสิ่งเหล่านี้ต้องอธิบายถึงความจำเป็นและประสิทธิภาพของเครื่องมือต่าง ๆ ด้วย
3. การดำเนินการวิจัย (Procedure) เป็นส่วนที่อธิบายแบบแผนการวิจัย และการนำไปใช้ด้วย รวมทั้งวิธีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การทดลอง การเก็บข้อมูล เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis) เป็นส่วนที่ต้องอธิบายถึง การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตามจุดมุ่งหมายหรือสมมุติฐานการวิจัยที่ได้กำหนดไว้ มีการแปลผล และสรุปผลการวิจัยนอกจากนี้ ชาร์ลส์ (Charles, 1998 : 115 - 138) ได้เสนอแนวทางการวางแผนการวิจัยทางการศึกษา มี 7 ประการ คือ
1. หัวข้อวิจัย ปัญหา และสมมุติฐาน (State topic, problem and hypothesis)
2. ข้อแนะนำการค้นหาเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Outline the library search for related information)
3. ข้อมูล และแหล่งข้อมูลที่หาได้ (Identify needed data and their probable sources)
4. ขั้นตอนของการศึกษา (List steps to be carried out in the study)
5. การดำเนินการ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (Specify procedure and tools for collecting data)
6. แนวทางการวิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลที่ดีที่สุด (Foresee how data can best be analyzed and interpreted)
7. แนวทางการรายงานผลการวิจัยที่เหมาะสม (Anticipate the appropriate report format for your research)
สำหรับ เกย์ (Gay, 1996 อ้างใน Charles, 1998 : 116)กล่าวว่า การวางแผนการวิจัยมีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ
1. บทนำ (Introduction) ได้แก่ ปัญหาวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสมมุติฐาน
2. วิธีการ (Method) ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ แบบแผนการวิจัย และวิธีดำเนินการ
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)
4. ปฏิทินปฏิบัติงาน (Time schedule)
5. งบประมาณ (Budjet)
นอกจากนี้เวียร์สมา (Wiersma, 1991 อ้างใน Charles, 1998 : 116) ได้ให้ข้อเสนอแนะการวางแผนการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ดังนี้
การวางแผนการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย
1. แบบแผนการวิจัย (Working design) โดยระบุกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนร่วม และตัวแปรที่เป็นไปได้
2. สมมุติฐานการวิจัย (Working hypothesis) เป็นการคาดคะเนผลการวิจัย
3. การเก็บข้อมูล (Procedures of data collection) เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต เอกสารที่ศึกษา เป็นต้น
4. การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผล (Procedures of data analysis and interpretation) รวมทั้งการสรุปรวบรวม และ อธิบายข้อมูลส่วนการวิจัยเชิงปริมาณนั้น เวียร์สมา ได้กล่าวว่าจุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ การควบคุมหรืออธิบายความแปรปรวน โดยให้ข้อแนะนำว่านอกจากจะต้องอธิบายถึงกลุ่มตัวอย่าง สมมุติฐานและการเก็บข้อมูลและการแปลผลแล้ว ยังต้องควบคุมความแปรปรวนที่จะเกิดจากการวิจัย โดยวิธีการต่อไปนี้
1. การสุ่ม (Randomization) ซึ่งจะทำให้ตัวแปรมีความกระจายในทุกกลุ่ม
2. การทำให้ตัวแปรคงที่ (Holding factors constant) จะช่วยทำให้ลดผลของตัวแปร ที่ไม่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลต่อตัวแปรตาม
3. การปรับค่าด้วยสถิติ (Making adjustments statistically) เป็นการปรับตัวแปรแทรกซ้อน เช่น เชาวน์ปัญญา
จากที่กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า การวางแผนการวิจัยประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 คือ ส่วนนำ เป็นการแสดงถึงความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย จุดมุ่งหมาย เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 2 เป็นส่วนดำเนินการ กล่าวถึงกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ แบบแผนการวิจัย วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์
ส่วนที่ 3 เป็นการกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน และ งบประมาณในการวิจัย


ความสำคัญของการวิจัยทางการศึกษา
วิธีการแสวงหาความรู้นั้น สามารถหาได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อ่านจากเอกสาร ตำรา บทความต่าง ๆ สังเกตจากเพื่อนร่วมงาน แต่มีข้อจำกัดบางประการว่า คำตอบที่ได้อาจจะไม่ถูกต้อง หรือเชื่อถือได้เสมอไป แต่การวิจัยเป็นการค้นหาความรู้ ความจริง ที่ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ มีระบบและมีขั้นตอน ในการดำเนินงาน คือ ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงทำให้การวิจัยมีคุณค่าและมีความสำคัญ อย่างยิ่ง เพราะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ทำให้โลกเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การวิจัย ทางการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้
1. ความสำคัญต่อผู้เรียน การวิจัยจะช่วยให้ครูได้รู้ความจริงเกี่ยวกับการเรียนรู้ หรือ พฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อหาทางแก้ปัญหา ส่งเสริม และพัฒนาการเรียน และพฤติกรรมของ ผู้เรียนให้ดีขึ้น
2. ความสำคัญต่อผู้สอน การวิจัยจะช่วยให้ผู้สอน ทราบผลการจัดการเรียนการสอน หาแนวทางแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอน และกิจกรรมต่าง ๆให้มีคุณภาพ และ ประสิทธิภาพ ตลอดจนการนำ ผลงานวิจัยเสนอเป็นผลการวิจัยทางวิชาการ เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพด้วย
3. ความสำคัญต่อสถานศึกษา ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกระดับชั้นไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือระดับอุดมศึกษา ต้องทำการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจ ให้กับผู้เรียน ผู้ปกครอง และสังคมถึงคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้น ๆ การวิจัยจึงมีความจำเป็น และความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลงานวิจัยจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา และ พัฒนา การจัดการเรียนการสอน การบริหารงาน และ อื่น ๆ ช่วยให้โรงเรียนมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
4. ความสำคัญต่อวิชาชีพทางการศึกษา การวิจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ฯลฯ ผลของการวิจัยจะช่วยทำให้ครูผู้สอนนำไปพัฒนางานการเรียนการสอนของตนเอง ในปัจจุบันนี้ได้ส่งเสริม
ให้ครูทำการวิจัยในชั้นเรียน เพราะนอกจากจะช่วยขยายองค์ความรู้ (body of knowledge) เทคนิคการสอน และ นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังช่วยให้ผู้สอนนั้น การพัฒนาการทำงานของตนเองให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น
5. ความสำคัญต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพราะจะทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น ได้ใช้ผลการวิจัยมาช่วยในการวางแผนการจัด การศึกษา ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคไร้พรมแดน
6. ความสำคัญต่อประเทศ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศ การศึกษาเป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง ในการพัฒนามนุษย์ ให้มีคุณภาพ ดังนั้น การวิจัยทางการศึกษา จึงมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนา ปฏิรูปการศึกษาของคนประเทศ ให้เป็นคนเก่ง คนดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข และสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
จากที่กล่าวมาแล้วนั้นสรุปได้ว่า การวิจัยทางการศึกษามีความสำคัญต่อผู้เรียน ผู้สอน สถานศึกษา วิชาชีพการศึกษา หน่วยงานที่รับผิดชอบ และ ประเทศชาติ เพราะจะช่วยพัฒนางานการศึกษา เช่น การปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาเทคนิควิธีสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ



การวิจัยเชิงพรรณา หรือเชิงบรรยาย (Descriptive Research)
การวิจัยเชิงบรรยาย เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทราบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ในการวิจัยประเภทนี้มีตั้งแต่การสำรวจว่า มีตัวแปรอะไรบ้าง สัมพันธ์อย่างไร ไปจนถึงการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปร

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงบรรยาย

การวิจัยเชิงบรรยายเป็นการหาเงื่อนไข และความสำคัญที่เกิดขึ้นในการปฎิบัติความเชื่อ ความคิดเห็นทัศนคติ ผลที่มองเห็นตลอดจนแนวโน้ม เพื่อจุดประสงค์ที่จะบรรยาย และแปลความถึงลักษณะ ระดับของเงื่อนไข ความสัมพันธ์ การวิจัยชนิดนี้ต้องมีการสำรวจ สืบค้น เกี่ยวกับตัวแปร และมาหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล มิใช่เพียงแต่นำข้อมูลมารวบรวมนำเสนอเท่านั้น ต้องมีพรรณนา หรือบรรยายนี้ ผู้วิจัยจะต้องศึกษาสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฎการณ์ต่าง ๆ โดยมิได้แตะต้อง หรือควบคุมตัวแปร และสภาพแวดล้อมเลย โดยอาศัยการสังเกต บันทึก รวบรวม และวิเคราะห์ จากนั้นจึงสรุปให้เป็นผลการวิจัย ในศิลปกรรมศาสตร์นั้น ใช้วิธีการนี้ในงานวิจัยมาก ดังนั้น ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงบรรยายรายดังต่อไปนี้
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ว่ามีข้อเท็จจริงอย่างไร
2. เพื่อนำข้อมูลไปตีความอธิบาย ประเมินผล และเปรียบเทียบ
3. เพื่อหาแนวโน้มของเหตุการณ์ในปัจจุบัน
4. เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ได้ศึกษา เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ และเป็นแนวทางในการแสวงหาความรู้ต่อไป
5. เพื่อทราบหลักเหตุผล และการปฎิบัติ ตลอดจนปัญหาในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุง

ข้อมูลของการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. ข้อมูลปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข หรือใช้สถิติ
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข หรือสถิติเป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการสัมภาษณ์ การค้นคว้าเอกสาร แต่ข้อมูลประเภทนี้มักขาดความเที่ยงตรง ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องมีความละเอียด ในการอธิบายขั้นตอนของการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์อย่างมาก โดยใช้เหตุผล อีกทั้งยังจะต้องเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีที่เหมาะสม และจะต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง ขนาดเหมาะสม เพื่อใช้เป็นตัวแทนได้ดีที่สุด เพื่อให้ผลวิจัยที่มีความเชื่อถือได้มากที่สุด

ชนิดของการวิจัยเชิงบรรยาย แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies)
2. การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)
3. การวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Studies)

1. การวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการศึกษาถึงลักษณะสภาพความเป็นอยู่ หรือปรากฎ การณ์หนึ่ง เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง เพื่อการวางแผน และปรับปรุงให้ดีขึ้น แบ่งออกได้เป็นสำรวจชุมชน สำรวจสภาพการปกครอง สำรวจทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจพื้นฐาน สำรวจทางวัฒนธรรม ประเพณี และศิลปะ สำรวจประชากร สำรวจประชามติ และวิเคราะห์งาน (Job Analysis) วิเคราะห์เอกสาร (Documentary Anaiysis)
2. การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ ของตัวแปรของปรากฎการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ แบ่งออกไปด้เป็น
2.1 กรณีศึกษา (Case Study) เป็นการศึกษาอย่างละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ เพื่อต้องการทราบรายละเอียดของทุกแง่มุมในเรื่องที่ต้องการศึกษานั้น ๆ เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี มิได้มุ่งในเรื่องปริมาณ เป็นการศึกษาเพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
2.2 ศึกษาเปรียบเทียบผลเพื่อสืบหาเหตุ (Cusual Comparative Studies) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรของปรากฎการณ์ต่าง ๆ โดยการสังเกตุผลของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร แล้วย้อนกลับไปดูว่า ผลที่เกิดจะมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่เป็นเหตุอะไรได้บ้าง การวิจัยลักษณะนี้ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Expost Facto Research
2.3 ศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies) เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อดูว่าตัวแปรเหล่านั้นมีการผันแปรคล้อยตามกัน หรือผันแปรตรงกันข้ามกัน คือ ศึกษาสหสัมพันธ์นั้นเอง ส่วนใหญ่จะใช้สถิติเข้ามาช่วยในการวิจัยประเภทนี้
2.4 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรม (Cross Cultural Studies) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการนำสิ่งนั้น ๆ ไปใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในแต่ละวัฒนธรรม การวิจัยประเภทนี้ต้องการข้อมูลจากการศึกษาจากหลายลักษณะ โดยการสำรวจศึกษาทางกรณี การสังเกต แล้วจึงมาสรุปผลว่าสามารถสืบอ้างไปสู่กลุ่มที่มีวัฒนธรรมอื่น ๆ ได้หรือไม่ หรือใช้ได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น

3. การวิจัยเชิงพัฒนาการ เป็นการวิจัยที่ดูความก้าวหน้าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในช่วงของสภาพที่เกิดขึ้น ความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลา เช่น การศึกษาความเจริญงอกงามความก้าวหน้าต่าง ๆ หรือการศึกษากลุ่มเป็นระยะเวลายาว (Longitudinal Studies) และการศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงรูปแบบ และทิศทางของความเปลี่ยนแปลง เพื่อการพยากรณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยการศึกษาจากสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ช่วงต่อเนื่องกัน แบบ Longitudinal Study มีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ทำให้ทราบอัตรา และทิศทางการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงพยากรณ์สภาพ หรือเหตุการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต



การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research)
การวิจัยประเภทนี้ประยุกต์มาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจะนำไปสู่ผลสรุป และความเข้าใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ในอนาคต

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
1. เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต ผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมได้
2. เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่
3. เป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งปฐมภูมิ
4. ใช้การวิเคราะห์ด้วยการวิจารณ์ข้อมูล ทั้งการวิจารณ์ภายใน และภายนอก
ข้อมูลของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ข้อมูลที่จำแนกตามแหล่ง ซึ่งประกอบไปด้วย
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source) ได้แก่เรื่องราวที่ได้จากต้นตอจริง ๆ ได้แก่เอกสารที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์เขียนขึ้นตามความจริง หรือจากซากวัตถุโบราณ (Remains of Relies) หรือ จากการบอกเล่าเรื่องราวของผู้อยู่ในเหตุการณ์ (Oral History)
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Source) ได้แก่ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ถูกรวบรวมขึ้นโดยที่ผู้รวบรวมไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์จริง แต่ได้รับการบอกเล่าจากผู้สังเกตการณ์ในเหตุการณ์นั้น ๆ อีกทอดหนึ่ง หรือ รวบรวมจากแหล่งทุติยภูมิอื่น ๆ เช่น ตำรา บทความ เอกสาร รูปภาพ (History Test Bodies) หรือบรรณานุกรม
2. ลักษณะของข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
2.1 บันทึก (Records) หมายถึง เอกสารที่บันทึกด้วยการเขียนพิมพ์ วาด หรือ เทคนิคอย่างอื่น เช่น บันทึกทางราชการ (Official Record) บันทึกส่วนตัว (Personal Records) ประเพณีที่เล่าต่อ (Oral Traditions หรือ Wise Talk) รูปภาพ (Pictorial Records) สิ่งพิมพ์ (Published Materials) เครื่องบันทึก (Mechanical Records)
2.2 ซาก (Remains) เช่น วัตถุโบราณ ซากปรักหักพัง สิ่งของที่เป็นสิ่งพิมพ์ ประกาศ สัญญา หรือ วัสดุที่เขียนขึ้นด้วยมือ เช่น ลายแทง
ในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์นั้น มีวิธีการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. การศึกษารายกรณี เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาความจริงเฉพาะเรื่อง
2. การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเพื่อดูความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลง
3. การศึกษาความเปลี่ยนแปลง เป็นการศึกษาที่คล้ายกับแบบที่ 2 แต่ต้องเปรียบเทียบ 2 เหตุการณ์

ปัญหาในการทำวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
1. การกำหนดปัญหาในงานวิจัย บางครั้งไม่ชัดเจน และแน่นอน ทำให้เกิดปัญหาในการค้นคว้า
2. การใช้หลักเหตุผล ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริง โดยอาศัยข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ แล้วจึงมาย่อย และวิเคราะห์ ถ้าข้อมูลมาจากแหล่งทุติยภูมิเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คลาดเคลื่อนได้
3. การรวบรวมข้อมูล และการแปลความ อาจแปลความด้วยความเข้าใจของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงการค้นคว้าหาข้อมูลที่แท้จริง หรืออาจหาข้อมูลเพิ่มไม่ได้ทำให้ความสมบูรณ์ของงานวิจัยน้อยลง
4. ผู้วิจัยต้องมีความพยายามสูง เพราะต้องรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และจะต้องรู้เรื่องราวต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง บางครั้งผู้วิจัยหลีกเลี่ยงการหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพราะหมดความพยายาม และอดทน

การจำแนกประเภทการวิจัย
งานวิจัย สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทตามคุณลักษณะของงานวิจัย การจัดประเภทเป็นไปตามการจัดจำแนกตามเกณฑ์ต่าง ๆ
1. พิจารณาจากประโยชน์ หรือความต้องการที่จะได้รับจากการวิจัยแบ่งเป็น 3 ประเภท
1.1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) หรือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research)เป็นการวิจัยเพื่อหาทฤษฎี สูตร หรือสร้างกฎ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการศึกษา เรื่องอื่นๆ ต่อไป
☮ การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปทดลองใช้แก้ไขปัญหาอื่น ๆ ต่อไป เช่น การวิจัยทางแพทย์
☮ การวิจัยเชิงปฎิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยประยุกต์ในลักษณะหนึ่งที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่อง ๆ ไป ผลของการวิจัยนี้ใช้ได้ในขอบเขตของปัญหานั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ อื่น ๆ
2. พิจารณาจากลักษณะของข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
☮ เชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ และสถิติ
☮เชิงคุณภาพ (Wualitative Research) เป็นการใช้ข้อมูลเชิงคุณลักษณะและไม่ได้ใช้คณิตศาสตร์ หรือสถิติเข้ามาช่วย การเก็บข้อมูลทำได้โดย การใช้การสังเกตการสัมภาษณ์ การบันทึก วิเคราะห์โดยการพรรณนา และสรุปเป็นความคิดเห็น มีการใชัค่าสถิติได้เล็กน้อยในเชิงร้อยละเป็น ต้น ส่วนใหญ่ในงานศิลปกรรมจะใช้การวิจัยลักษณะนี้
3. พิจารณาจากระดับของการศึกษาตัวแปร แบ่งออกได้เป็น
☮ การวิจัยเพื่อการสำรวจ (Exploratory Study) เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจตัวแปร และปรากฎการณ์ของตัวแปร เพื่อนำผลมาอธิบายการเกิดขึ้นของปรากฎการณ์นั้น ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) การวิจัยเพื่อตรวจสอบตัวแปร (Identified Variable)
2) การวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร (Discovery of Reiationship Between Variables)
☮ การวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing Study) เป็นการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี เพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำนาย การวิจัยชนิดนี้มีทางตั้งสมมุติฐาน และตรวจสอบดูว่าสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่
4. พิจารณาจากชนิดของข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
☮ เชิงประจักษ์ (Empirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความจริงจากข้อมูลปฐมภูมิ โดยมีการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์
☮ เชิงไม่ประจักษ์ (Nonempirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความรู้ความจริงจากข้อมูลเอกสาร และวรรณกรรม ไม่การใช้สถิติมาวิเคราะห์
5. พิจารณาจากลักษณะการศึกษาตัวแปร แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
☮ เชิงสำรวจ (Survey Research) เช่น การสำรวจทัศนคติ เพื่อหาข้อเท็จจริง
☮ การศึกษาย้อนหลังในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (Expost Factor Research) เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อน ส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษา เช่น การศึกษาว่าเด็กสอบตกเกิดจากเหตุใด หรือมีบุคลิกภาพต่างกันอย่างไร
☮ เชิงทดลอง (Experimantal Research) เป็นการศึกษาตัวแปร โดยการควบคุม โดยมุ่งวิจัย และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์
6. พิจารณาจากระเบียบการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
☮ วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราวในอดีต เพื่อใช้ความรู้มาอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอนาคต
☮ วิจัยเชิงพรรณนา (Description Research) เป็นการศึกษาเพื่อบรรยายปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
☮ วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการศึกษาตัวแปร เพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผล
การจำแนกประเภทการวิจัยที่ได้กล่าวมาแล้ว 6 ลักษณะนั้น เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ทั่วไป แต่ในประเภทที่ 6 นั้น เป็นระเบียบวิธีการที่มีการใช้อย่างแพร่หลายที่สุด การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ และการวิจัยเชิงพรรณนา ซึ่งใช้มากในงานศิลปกรรมฯ สำหรับการวิจัยเชิงทดลองนั้น ใช้มากในสาขาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์

การเขียนบทนำการวิจัย
ในการเขียนบทนำนั้น เป็นการกำหนดพื้นฐาน หรือการวางแนวทางในผู้อ่านได้เข้าใจในขอบเขต ทิศทาง ที่มา และความสำคัญของงานวิจัย ซึ่งจะเขียนไว้เป็นตอน ๆ ดังนี้ คือ
1. ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา (Background and Significance of the Study)
2. ปัญหาของการวิจัย (Statement of the Problems)
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purposes of the Study)
4. สมมุติฐานของการวิจัย (Hypotheses of the Rescarch)
5. ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัย (Delimitation and Limitation of the Study)
6. ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption)
7. วิธีการดำเนินการวิจัยโดยย่อ (Rescarch Procedure of the Study)
8. ประโยชน์ที่จะได้รับ (Practical Application)
9. นิยามศัพท์ (Definition of Terms)


ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา
การเขียนบทนำ เป็นการสร้างฐานให้ผู้อ่านวิจัยทราบ และเข้าใจเรื่องราวของงานวิจัยนั้นโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มค้นว่าผู้วิจัยนั้นจะรายงานเรื่องอะไร ปัญหาที่น่าสนใจมีอะไร มีเหตุผลของการวิจัย และการรายงานอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบสาระของการวิจัยมากที่สุด ในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยจะต้องมีเหตุผลในการทำวิจัย มีความเข้าใจถึงตัวปัญหา ความสำคัญของปัญหา ขอบข่ายทฤษฎีที่ศึกษา ผลงานของการศึกษาอื่น ๆ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสืบค้น และมีหลักฐานยืนยันว่าเรื่องที่กำลังทำอยู่นั้นมีความสำคัญ และสัมพันธ์ ในการตอบคำถามที่ต้องการอย่างไร

ในเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาในที่นี้จะกล่าวถึง แนวทางการเรียนที่ควรจะปรากฎอยู่ในรายงานการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้


1. แนะปัญหาที่กำลังค้นคว้า เป็นการท้าวภูมิหลัง ความเป็นมา มีการจัดลำดับให้ชัดเจนของเรื่องราว แหล่งกำเนิด ผู้ค้นพบ การสืบทอดของปัญหา ที่มาของการวิจัย โดยใช้เหตุ และผลมาสนับสนุนความคิดต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อชี้แนะให้เห็นความจำเป็น และความสำคัญของการทำวิจัย เรื่องที่อ้างอิง และสนับสนุนควรจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยเท่านั้น

2. กล่าวถึง จุดสนใจของการศึกษาค้นคว้า และมูลเหตุของการทำวิจัย ที่ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้า เช่น เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในขณะนั้น หรือเป็นเรื่องราวที่ยังมิได้รับคำตอบครบถ้วน หรือขาดรายละเอียด
3. มีการเขียนบรรยายถึงความจำเป็นในการศึกษา และการได้รับคำตอบจากงานวิจัย มีคุณประโยชน์ และมีคุณค่าอย่างไร
4. กล่าวถึงความต้องการ และยืนยัน หรือลบล้างความเปลี่ยนแปลงของสภาพ และสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เคยได้มีการศึกษามาแล้ว ได้ใช้หลักการ และเหตุผลในการสนองตอบ และหักล้างแนวความคิด
5. ในการเขียนนำเรื่องความเป็นมา และความสำคัญของปัญหาอาจใช้วิธีต่อไปนี้
5.1 มีการเขียนจากหลักการ และนำเข้าสู่เรื่องเฉพาะ (Deductive Method)
5.2 เขียนจากเรื่องเฉพาะ แล้วดำเนินไปถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป (Inductive Method)

อย่างไรก็ตามในการเขียนนำในเรื่องความเป็นมานั้น จะใช้แบบใดแบบหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และการวางแผนงานของผู้วิจัย แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยควรหาหลักฐานในการยืนยันมาสนับสนุนข้อมูลทุกขั้นตอน และพยายามทำให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้เรื่อง และติดตามงานวิจัยตลอดทั้งเรื่องโดยตลอด
การศึกษาเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กับปัญหาการวิจัยอย่างมาก ในบทนี้จะกล่าวถึงสิ่งต่างที่มีความสำคัญในการศึกษาเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อ ดังนี้

1. แหล่งที่มาของปัญหาการวิจัย ซึ่งนักวิจัยสามารถรวบรวมได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.1 จากการอ่านตำรา บทความต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอ้างอิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่ตนเองสนใจทำวิจัย เพราะทฤษฎีจะช่วยชี้นำว่ามีสิ่งใดที่ควรทำวิจัย หรือบางครั้งทฤษฎีทำให้ผู้ทำวิจัยจะต้องทำการพิจารณา และวิเคราะห์ก่อนนำไปใช้ด้วย
1.2 จากการวิจัยที่มีผู้อื่นได้ทำไว้แล้ว เช่น วารสารวิจัย หรือปริญญานิพนธ์
1.3 จากบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ ซึ่งบทย่อนี้สามารถสร้างแนวความคิดที่จะเลือกหัวข้อปัญหาของงานวิจัยได้ และยังทราบได้ว่ามีผู้เคยทำวิจัยแล้วหรือไม่ ขาด และจะต้องเพิ่มเติมอย่างไร และเพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในงานวิจัยอีกด้วย
1.4 จากประสบการณ์ และข้อคิดของผู้อื่น ๆ ที่เคยคลุกคลีกับงานวิจัย
1.5 จากการจัดสัมมนา และมีการอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ ถ้าผู้วิจัยสนใจ
1.6 จากข้อโต้แย้ง หรือข้อวิพากวิจารณ์ของบุคคลที่อยู่ในวงการวิชาชีพนั้น ๆ ซึ่งตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจ
1.7 จากสถาบัน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะทำให้ได้แนวคิดในหัวข้อของการวิจัย

2. หลักในการเลือกหัวข้อปัญหา นอกจากทราบแหล่งข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัย ควรทราบหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อ ปัญหาวิจัยที่เหมาะสม จึงสามารถให้หลักได้ดังนี้

2.1 เลือกปัญหาโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของตนเองเป็นที่ตั้ง เพราะความสนใจจะเป็นแรงจูงใจให้ทำงานสำเร็จ
2.2 เลือกปัญหาที่ผู้ทำวิจัยมีความสามารถ และศักยภาพที่จะทำงานวิจัยนั้น ๆ ได้
2.3 เลือกปัญหาที่มีคุณค่า และสิ่งแปลกใหม่ ที่มิเคยมีผู้ใดเคยทำ เพื่อผลของการวิจัยที่ได้จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ อันจะเป็นตัวสร้างเสริมทฤษฎี และนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฎิบัติ
2.4 เลือกปัญหาให้เหมาะสมกับเวลา งบประมาณ และกำลัง
2.5 เลือกปัญหาโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัย เช่น ในเรื่องของการค้นคว้า ด้านข้อมูล ว่ามีข้อมูลมากน้อยเพียงใด มีอุปกรณ์ และเครื่องมือในการเก็บข้อมูลหรือไม่ และงานนั้น ๆ จะมีความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน


3. ลักษณะปัญหาที่ดี นอกจากจะต้องทราบแหล่งของปัญหาในการวิจัย และเกณฑ์ในการเลือกปัญหาแล้ว ผู้วิจัยจะต้องทราบถึงลักษณะของปัญหาที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกตัวปัญหามาทำวิจัย ลักษณะของปัญหาที่ดีนั้นมีดังนี้
3.1 เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ หรือใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
3.2 เป็นเรื่องที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย
3.3 เป็นปัญหาที่สามารถหาข้อมูลมาตรวจสอบสมมุติฐาน เพื่อหาข้อสรุป
3.4 เป็นปัญหาที่สามารถให้ค่านิยามปัญหาได้
3.5 เป็นปัญหาที่สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนไว้ล่วงหน้าได้
3.6 เป็นปัญหาที่สามารถใช้วิชาการ และขั้นตอน หรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลได้

4. การตั้งชื่อหัวข้อปัญหา
เมื่อได้หัวข้อปัญหาเพื่อทำงานวิจัยแล้ว ชื่อของปัญหาเหล่านั้นจะต้องกะทัดรัด มีความชัดเจนในความหมายในตัวของมันเอง สามารถสื่อสารให้ผู้สนใจทราบว่าประเด็นสำคัญคืออะไร มีการศึกษาเรื่องอะไร โดยที่ชื่อของปัญหาจะต้องแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านั้นอย่างชัดเจน มีการใช้ภาษาที่ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่าย และต้องเป็นศัพท์ที่ยอมรับในสาขานั้น ๆ นอกจากนั้นยังต้องไม่ซ้ำกับงานวิจัยอื่น ๆ

5. ประโยชน์ของการศึกษาเอกสาร และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การอ่านวรรณกรรมจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
5.1 ได้แนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น
5.2 ช่วยทำให้มองปัญหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
5.3 ทำให้ได้แนวคิดพื้นฐาน ตลอดจนทฤษฎีต่าง ๆ
5.4 ทำนิยามปัญหา กำหนดขอบเขต และตัวแปร
5.5 ทำให้ตั้งสมมุติฐาน ได้อย่างสมเหตุผล
5.6 ทำให้สามารถเลือกเทคนิคการดำเนินการวิจัยได้อย่างเหมาะสม
5.7 ช่วยในการแปลผล และการอภิปรายผล
5.8 ช่วยในการสรุป และเขียนรายงานวิจัย

6. แหล่งของการศึกษาเอกสาร และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
แหล่งใหญ่ของการศึกษาทางเอกสาร คือ ห้องสมุด เนื่องจากเป็นที่รวบรวม ต่าง ๆ และเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ในห้องสมุดนั้น ผู้วิจัยสามารถสืบค้นความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของการวิจัยจากแหล่งย่อย ๆ ต่อไปนี้ได้

- เอกสาร หนังสือ ตำรา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
- ปทานุกรม หรือสารานุกรม รวบรวมงานวิจัย และเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
- วารสาร จุลสาร และเอกสารเผยแพร่ต่าง ๆ
- หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ที่สามารถอ้างอิงได้
- ปริญญานิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับสูง
- บทคัดย่อของวิทยานิพนธ์
หรือในปัจจุบันนักวิจัยสามารถสืบค้นข้อมูลด้วระบบอิเลคทรอนิค และสาระสนเทศได้

7. เกณฑ์การคัดเลือกเอกสาร และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาเอกสารได้ครบถ้วน ทำเท่าที่สามารถจะทำได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงพยายามเลือกเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรใช้หลักเกณฑ์ดังนี้ เพื่อให้การใช้วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และ หรือเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

7.1 พิจารณาความทันสมัยของเอกสารว่าเหมาะที่จะใช้อ้างอิงหรือไม่
7.2 พิจารณาว่าเอกสารเหล่านั้น สามารถชี้นำในการศึกษาข้อมูลของวิจัยได้หรือไม่
7.3 พิจารณาว่าเอกสารเหล่านั้นมีหนังสืออ้างอิง พอที่จะทำแนวทางในการศึกษาข้อมูลของปัญหาของผู้วิจัยหรือไม่
7.4 พิจารณาว่าเอกสารเหล่านั้นได้เสนอแนวคิดอันเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัย หรือไม่ โดยดูจากชื่อเรียง ตัวแปร และวิธีการดำเนินการวิจัย

8. การจดบันทึกย่อเพื่อการวิจัย
การจดบันทึกสิ่งที่ได้ศึกษาจากเอกสาร และวรรณกรรม เป็นเรื่องสำคัญมาก ควรจดบันทึกให้ชัดเจน มีหัวข้อที่จำเป็นครบถ้วน มีการจดบันทึกอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกประหยัดเวลาในการค้นคว้า โดยปกติจะมีการบันทึกโดยใช้บัตรขนาด 5" x 6" ก็ได้ ได้บันทึกดังนี้
- แหล่งของข้อความได้แก่ ชื่อหนังสือ วารสาร ชื่อผู้แต่ง ผู้เขียน สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า เลขหน้าข้อความ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องนำไปอ้างในบรรณานุกรมด้วย นอกจากนั้น ยังสามารถใช้รหัสของห้องสมุดไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของบัตร เพื่อการค้นคว้าในภายหลัง
- ชื่อเรื่องที่บันทึก ควรบันทึกไว้มุมขวาของบัตร เพื่อประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่
- มีการบันทึกข้อความที่ได้จากการศึกษา โดยการย่อความ คัดลอก หรือถอดข้อความเป็นสำนวนของผู้วิจัยเอง แต่ปัจจุบันการสืบ ค้นด้วยคอมพิวเตอร์นั้น สามารถพิมพ์ข้อความออกมาได้ ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมดคิดออกมาด้วย ทำให้ผู้วิจัยสามารถประหยัดเวลา ในการบันทึกข้อความต่าง ๆ ตลอดจนแหล่งข้อมูลได้

สำหรับในส่วนที่เป็นเอกสารงานวิจัยนั้น มีการบันทึกหัวข้อต่อไปนี้
- ชื่อหัวข้อปัญหา
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- วิธีการดำเนินการวิจัย
- สรุปผล อภิปราย และเสนอแนะ


การอธิปรายผลการวิจัย และ ข้อเสนอแนะ
เมื่อสรุปผลการวิจัยแล้วก็ต้องอภิปรายผลการวิจัยไว้ด้วย โดยการบรรยายเปรียบเทียบข้อค้นพบของ ผู้วิจัยกับทฤษฎี และงานวิจัยอื่น ๆ กล่าวถึงผลการค้นคว้าตามสมมุติฐานชี้ให้เห็นว่าเป็นไปตามที่คาดหวัง หรือไม่ อภิปรายความจริงที่ผลงานวิจัยอาจทำให้ต้องเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีเดิม ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะบรรยาย ความคิดเห็นและเหตุการณ์ที่พบจริงขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูล อันเป็นผลเกี่ยวข้องกับข้อค้นพบที่ปรากฏอยู่ก็ได้ ผู้วิจัยอาจจะต้องใช้เวลามากสักหน่อยในการเขียนความเห็น จึงอาจจะต้องร่างความคิดเห็นและสิ่งที่นอกเหนือไปจากข้อค้นพบที่ปรากฏอยู่ก็ได้ ผู้วิจัยอาจจะต้องใช้เวลามากสักหน่อยในการเขียนความเห็น จึงอาจจะต้องร่างความคิดเห็น และสิ่งที่นอกเหนือไปจากข้อค้นพบตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ก่อน ถ้าจะให้ง่ายขึ้นผู้วิจัยอาจจะต้องบันทึกความเห็นบางอย่างไว้ ขณะที่เกิดความคิดขึ้นทันทีเมื่อเขียนผลการวิเคราะห์ข้อมูล หรือใช้ผลงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นประโยชน์ ในส่วนนี้ ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานผลการวิจัยที่ปรากฏออกมาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อคิดเห็นอี่น ๆ หรืออภิปราย พร้อมแสดงผลการวิจัยที่สำคัญ ๆ ให้รับกับคำอภิปรายก็ทำให้การอภิปรายผลการวิจัยนี้มีน้ำหนักไม่เป็นไปอย่างลอย ๆ
การเสนอแนะต้องเสนออย่างมีหลักฐานอ้างอิง มีเหตุรับรอง ไม่เขียนลอย ๆ จนผู้อ่านเห็นว่าไม่ต้องวิจัยก็เสนอแนะได้ ผู้วิจัยจะต้องพยายามอ้างผลการวิจัยเป็นหลักแล้วเสนอแนะตามหลักวิชา ในบางครั้งอาจจะต้องเสนอแนะโดยใช้ทฤษฎีหรือประสบการณ์ของผู้อื่น ผู้วิจัยก็ควรให้เกียรติอ้างถึงผู้ที่ให้แนวคิดเหล่านั้นได้ด้วย จะดูน้ำหนักดีกว่าที่ผู้วิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้วิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้วิจัยที่ยังมีประสบการณ์น้อยจะแสดงความคิดเห็นในการเสนอแนะเอง ผู้วิจัยอาจเสนอแนะได้ คือ
เสนอแนะเรื่องจากการค้นพบ เป็นการเสนอแนะวิธีแก้ปัญหาที่นำมาศึกษาอาจจะค้นพบว่ามีปัญหาอะไรบ้าง หรือจากการวิจัยได้พบวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรจากผู้ที่เป็นตัวอย่างประชากร ผู้วิจัยจะต้องนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาพิจารณาร่วมกับประสบการณ์ พื้นความรู้เดิมหรือตำรา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้ได้แนวความคิดในการเสนอแนะ เพื่อแก้ปัญหาได้



การเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยจะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่แล้วไปต่อเนื่องผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อค้นหา ความหมายของคำตอบให้กว้างขวางออกไป เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลภายในขอบเขตที่ค้นพบ ไม่นำ ความเห็นส่วนตัวกับความจริงมาปนกัน ถ้าพบข้อเท็จจริงที่ไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานก็ควรจะนำมาเสนอไว้ด้วย ในการเสนอผลการการวิเคราะห์ข้อมูลควรใช้ภาษาง่าย ๆ สั้น ตรงเป้าหมาย และให้ถูกหลักไวยากรณ์
พยายาม เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ต่อเนื่องกันไปอย่างสมเหตุสมผล ให้ผู้อ่านทราบเหตุผลในการค้นคว้าสิ่งนั้น โดยเสนอให้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้ค้นพบไม่เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลห้วน ๆ เป็นตอน ๆ โดยไม่มีการนำเรื่อง เลือกเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดเพียงอย่างเดียว เมื่อเสนอตารางแล้วก็ไม่ควรจะอ่านทุกค่าในตารางซ้ำโดยการบรรยายอีกแต่จะทำเพียงเขียนความนำตารางแล้วเสนอตาราง และจบด้วยการชี้แนะสิ่งที่น่าสนใจในตารางเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องบรรยายเรื่องที่เสนอไว้ในตารางที่เรียงไว้แต่จะต้องยกความจริงบางอย่างมากล่าว เรื่องราวใดที่น่าจะมีเหตุผลหรือที่มาหลายอย่างก็จะต้องนำมาเสนอไว้
พร้อมกับเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในในเรื่องเดียวกันนั้นในสอดคล้องกันในที่สุดถามตนเองว่าได้ผลการวิเคราะห์ครบตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์หรือยังถ้ายังไม่ครบตามวัตถุประสงค์ ก็ต้องพยายามค้นต่อไปถ้าครบแล้วก็เป็นที่น่ายินดี ถ้าการวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องดีแล้วแต่ผลไม่เป็นตามสมมุติฐานของการวิจัย ก็มิได้หมายความว่างานวิจัยนั้นผิด แต่หมายความว่าผลการวิจัยไม่เป็นไปตามที่คาดหมายไว้


แบบฟอร์มสรุปผลงานวิจัย
ความเป็นมา ระบุเหตุผล ที่มาของปัญหาการ
วิจัย ความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยเรื่องนี้พอสังเขป

 แนวคิด ทฤษฎี ระบุแนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย
 วัตถุประสงค์ ระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัย
 สมมติฐานวิจัย ถ้ามีโปรดระบุ ุ
 ประเด็นงานวิจัย ระบุว่าเป็นประเด็นการวิจัยในเรื่องใด (ตามประเด็นของงานวิจัยที่กำหนด)
 ระเบียบวิธีวิจัย -ประชากร -กลุ่มตัวอย่าง -ตัวแปร -เครื่องมือ -การรวบรวบข้อมูล -การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุรายละเอียดประชากร ระบุกลุ่มตัวอย่างและวิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย ระบุตัวแปรที่ศึกษา ระบุวิธีการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระบุขั้นตอน/วิธีการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามที่ดำเนินการ
 สรุปผลวิจัย สรุปสาระสำคัญที่ได้จากงานวิจัย
 ข้อเสนอแนะและ ประโยชน์ของงานวิจัย ระบุข้อเสนอแนะและประเด็นที่เป็นจุดเด่นของผลการวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาการศึกษา การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ และการพัฒนาประเทศ (อันหมายถึง องค์ความรู้/นวัตกรรมทางการศึกษา รูปแบบหรือวิธีการที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงปฏิบัติ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ความทันสมัย แปลกใหม่ที่ประยุกต์ใช้ได้จริง)
 ผลกระทบ (ถ้ามี) ระบุผลกระทบจากการวิจัยที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง


ขั้นตอนของการทำวิจัย
การทำงานวิจัยนั้น ผู้ทำวิจัยสามารถวางแผนการทำงานวิจัยไว้ล่วงหน้าได้ เพื่อให้งานวิจัยนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนี้

❀ การเลือกหัวข้อปัญหา เป็นการกำหนดขอบเขตของการศึกษา ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร มีขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน
❀ ศึกษาค้นคว้าทฤษฎี เป็นการหาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในตัวปัญหา ผู้วิจัยจะต้องศึกษาจากเอกสาร เพื่อให้เกิดความรู้ที่ กว้างขึ้น ในขอบเขตของการวิจัย
❀ ให้คำจำกัดความปัญหา ผู้วิจัยจะต้องเขียนบรรยายถึงความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมาย ตัวแปร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง นิยามศัพท์ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
❀ สร้างสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า โดยอาศัยเหตุผล โดยอาศัยประสบการณ์ เอกสาร และความรู้ ใน ขอบเขตของงานวิจัย
❀ ขัดเกลาปัญหา และสมมุติฐาน เพื่อความชัดเจนของสมมุติฐาน และสมเหตุ สมผล และพิจารณาว่าสมมุติฐานเหล่านั้นเพียงพอ และ ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาหรือไม่
❀ พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาว่า ข้อมูลคืออะไร และได้มาอย่างไร
❀ วางแบบแผนการวิจัย เป็นการวางแผนงานของการวิจัย มีการกำหนดขั้นตอนในแผนการ พร้อมทั้งสามารถอธิบายด้วยความมีเหตุผลได้
❀ สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีการตรวจสอบความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
❀ เลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้เป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้ศึกษา
❀ เก็บรวบรวมข้อมูล
❀ จัดกระทำข้อมูล มีการจัดทำข้อมูลเพื่อให้สะดวกในการวิเคราะห์ วางแผนงาน ที่จะเสนอข้อมูลที่ค้นพบ เพื่อการสรุป และนำเสนออย่างมีความหมาย
❀. รายงานวิจัย เป็นการเขียนผลการวิจัยตามแนวทางการเขียนรายงานวิจัย โดยการใช้ภาษาที่ถูกต้อง รัดกุม และเข้าใจง่าย



การวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
อาจแบ่งได้ 3 ชนิด คือ
▽ การวิจัยพื้นฐาน หรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic or Pure Research) การวิจัยชนิดนี้มุ่งแสวงหาความรู้ ความจริงที่เป็นกฎ สูตร ทฤษฎี ที่เป็นพื้นฐานความรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางและลึกซึ้ง
▽ การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งใช้วิทยาการให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เป็นการวิจัยที่นำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะในทาง สังคมศาสตร์ การศึกษา จิตวิทยา และธุรกิจใช้กันมาก
▽ การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราวไป ผลการวิจัยจะอ้างอิงไปใช้กลุ่มอื่นไม่ได้
การวิจัยแบบพื้นฐานและการวิจัยเพื่อประยุกต์บางทีแบ่งออกจากกันเด็ดขาดได้ยาก นักวิจัยหลายคนไม่ยอมแยกการวิจัยสองอย่างนี้ออกจากกัน สาเหตุก็เพราะวิธีการและผลที่ได้ซ้ำซ้อนกัน จึงมีการแบ่งวิธีการวิจัย ออกเป็นรูป Input, Process และ Output เหมือนกระบวนการเครื่องคอมพิวเตอร์

A. การวิจัยรูปแบบ Input ความหมายคล้ายการวิจัยพื้นฐาน คือ มองในรูปการศึกษาค้นคว้าหาตัวต้น เช่น หลักเกณฑ์ กฎ คุณลักษณะ ฯลฯ ตัว Input อาจจะไม่เป็นอยู่ขั้นนี้ตลอดกาล มีโอกาสเป็นขั้นอื่น ๆ ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ลักษณะคนดีที่เมืองไทยต้องการ การศึกษาปรัชญาของการพัฒนาประเทศ ความเสมอภาคที่จะมีโอกาสรับการศึกษาของไทย วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของไทยในอดีตและปัจจุบัน ศึกษาพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กไทย เด็กไทยที่ครูและสังคมต้องการ อิทธิพลของสถาบันปฐมภูมิที่มีต่อบุคลิกภาพของเด็ก การศึกษาแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนแต่ละดับ อิทธิพลของการเคลื่อนย้ายประชากรกับการจัดการศึกษารูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องในครอบครัว คุณลักษณะของการศึกษาเพื่อความเป็นเอกราชของชาติ ฯลฯ

B. การวิจัยรูปแบบ Process มองในรูปกระบวนการหรือวิธีการ เปรียบเสมือนกระบวนการผลิตสินค้าที่เพิ่งผ่านจากวัตถุดิบ (Input) เพื่อแปรสภาพให้เป็นอีกส่วนหนึ่งปัญหาที่จัดว่าเป็นการวิจัยในรูปแบบนี้ได้แก่ พฤติกรรมของครูขณะทำการสอน ทักษะในการสอนของครูอิทธิพลของระบบการศึกษาที่มีต่อความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การศึกษา อิทธิพลของความเจริญทางวัฒนธรรมที่มีต่อวิวัฒนาการทางภาษา ระบบโรงเรียนในฐานะ ที่เป็นสถาบันในการสร้างค่านิยมของคนไทย วิธีอบรมเลี้ยงดูเด็กของคนไทย การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างนักเรียนที่อยู่ในโครงการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีกับนักเรีนที่ไม่ได้อยู่ในโครงการการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลาที่ใช้ในการศึกษากับประสิทธิภาพของการเรียนรู้ ระบบบริหารงานบุคคลฝ่ายการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของครู ฯลฯ

C. การวิจัยรูปแบบ Output เป็นการวิจัยปัญหาซึ่งอยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ประเมินเสมือนสินค้าสำเร็จรูปที่ออกจากกระบวนการข้อที่แล้ว มองอีกอย่างหนึ่งเหมือนกับการประเมินผลในโครงการใดโครงการหนึ่ง นั่นเอง Output มีโอกาสจะเป็น Input ได้แล้วแต่ลักษณะของการศึกษา ตัวอย่างปัญหาที่อยู่ในรูปแบบของ Output เช่น เจตคติของเด็กวัยรุ่นที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ลักษณะการปรับตัวของเด็กในเมืองกับชนบท ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการงาน การประเมินผลโครงการผลิตครูในระดับต่าง ๆ การใช้พลังกลุ่มในการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ผลของการศึกษาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสถานภาพสังคมของผู้เรียน อัตราตอบแทนทางสังคมในการลงทุนการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรในระดับอุดมศึกษาให้สัมพันธ์กับการพัฒนาทางเทคนิควิทยา การประเมินการศึกษาระบบหน่วยกิต ฯลฯ

ลักษณะของนักวิจัยที่ดี
วิจัย มาจากคำว่า Research ซึ่งแยกความหมายตามตัวอักษรที่ประกอบกันได้ดังนี้
R = Zrecrultment & Relationship) หมายถึงการฝึกฝนให้มีความสามารถในการรวบรวมความรู้ที่มีความสัมพันธ์กัน
E = (Education & Efficieney) หมายถึงผู้วิจัยต้องมีการศึกษา และความรู้ในความสามารถในการวิจัย
S = (Sciences & Stimulation) หมายถึง การเป็นศาสตร์ที่ต้องการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริง ผู้วิจัยจะต้องมีความคิด สร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
E = (Evaluation & Environment) หมายถึง รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรแก่การดำเนินการต่อไป หรือไม่ และต้อง ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัยได้อย่างเหมาะสม และเที่ยงตรง สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ดี สังเคราะห์ และวิเคราะห์ได้อย่างมีคุณภาพ
A = (Aim & Attitude) หมายถึง มีจุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายที่แน่นอน และมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
R = (Result) หมายถึง ผลงานของการวิจัยไม่ว่าจะออกมาในลักษณะใดก็ตาม จะต้องได้รับการยอมรับเนื่องจากเป็นการทำงานอย่างมีระบบ
C = (Suriosity) หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจ และขวนขวายอยู่ตลอดเวลา
H = (Horizon) หมายถึง ผลงานของการวิจัย จะเป็นเสมือนแสงสว่าง ซึ่งหมายถึงการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ด้วยคำจำกัดความดังกล่าว จึงสามารถสรุปคุณลักษณะของนักวิจัยที่ดีดังนี้
1. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทางด้านความรู้สึก และอารมณ์ (Emotion Drive)

❦ มีความสนใจอยากรู้อยากเห็น
❦ มีทัศนะคติที่ดีต่อการแสวงหาความรู้
❦ มีความสุขต่องานวิจัยที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ที่มีประโยชน์
❦ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
❦ มีความกระตือลือล้นในการทำงาน

2. เป็นผู้มีความรู้ (Knowledge)

❦ มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และคัดเลือกผลงานจากเอกสาร ได้อย่างรวดเร็ว และเหมาะสม
❦ มีการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
❦ มีความรอบรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
❦ มีความสามารถในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และพยากรณ์ได้ดี
❦ มีความสามารถในการวิเคราะห์ สงเคราะห์ และสรุปผลได้ดี
❦ มีความคิดสร้างสรรค์

3. การตัดสินใจ (Decision)

❦ มีการตัดสินใจที่ดี
❦ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ
❦ มีความรอบคอบ และใช้เหตุผล
❦ มีความเชื่อมั่นในหลักของเหตุ และผล
❦ มีความสามารถในการประเมินฐานะ และศักยภาพของตนเอง
❦ มีความเชื่อมั่นในตนเอง
❦ มีความขยัน และอดทนต่อการแสวงหาความรู้ มีจิตใจกว้าง ยอมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่นทั้งบวก และทางลบ
❦ มีความสามารถในการควบคุมตนเองให้ทำตามหลักการ และยุติธรรม
❦ มีความสามารถในการประเมินสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
❦ มีความหวังที่จะเห็นงานวิจัยสำเร็จอย่างมีคุณภาพ


ความหมายของการวิจัย
งานวิจัย หมายถึงการเสาะแสวงหาความรู้ที่เชื่อถือได้ โดยใช้วิธีการใช้เหตุผลมีวิธีการ และแบบแผน ขั้นตอนที่ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ผลสรุป และองค์ความรู้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ดังนี้
✽ เพื่อแก้ไขปัญหา (Problem Soiving Research)
✽ เพื่อสร้างทฤษฎี (Theory - Development Research) เนื่องจากทฤษฎีเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ สามารถนำมา อ้างอิง (Generalization) อธิบาย (Explanation) ทำนาย (Prediction) ควบคุม (Control) ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี มนุษย์จึงจำต้องสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้น

✽ เพื่อพิสูจน์ทฤษฎี ( Theory Testing Research) เนื่องจากทฤษฎีนั้นมีอยู่มากมาย และอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ทฤษฎี และความรู้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานภาพ กาลเวลา ดังนั้นมนุษย์จึงจะต้องทำการศึกษา และตรวจสอบ ทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านั้น ว่ายังเหมาสมหรือไม่

บทบาทของการวิจัย

ผลของการวิจัยจะเอื้อประโยชน์ให้มนุษย์เป็นอย่างมากทั้งทางทฤษฎี และปฎิบัติในทางวิทยาศาสตร์นั้น ทำให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติ มากขึ้น สามารถควบคุม และพยากรณ์สิ่งต่าง ๆ ล่วงหน้าได้ หรือสามารถคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ได้ ในทางสังคมศาสตร์ และ มนุษย์ศาสตร์นั้น ผลของการวิจัยทำให้มนุษย์มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันดีขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทำให้สามารถ ปรับตัวไดี้ดขึ้น และนอกจากนั้นงานวิจัยยังทำให้เกิดวิชาหรือวิทยาการใหม่ ๆ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีระบบ ผลของงาน วิจัยยังสามารถทำให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญคือ การวิจัยมีส่วนช่วย ในการพัฒนาหน่วยงานประเทศชาติไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัย
(Research Assumption) การวิจัยนั้นความจริงเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถ นำมาประยุกต์ ใช้ทางมนุษย์ศาสตร์ได้ดี ดังนั้น การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อตกลงเบื้องต้นนั้นแบ่งออกได้ดังนี้
1. ข้อตกลงที่เกี่ยวกับรูปแบบกายภาพทางธรรมชาติ (Assumption of Uniformity of Nature) หมายถึง ข้อตกลงของปรากฎการณ์ ต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีเหตุผล และเงื่อนไขที่ก่อให้เกิด มีแบบฉบับตายตัวที่เกิดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ ซึ่งข้อตกลงนี้แบ่งออกได้เป็น 3 ข้อย่อย ดังนี้

1.1 ชนิดของธรรมชาติ (Postulate of Natural Kinds) หมายถึงธรรมชาติมี โครงสร้าง คุณสมบัติ และจดหมายของตัวเอง เช่น การจัดหมวดหมู่ของ สัตว์ พืช ดิน น้ำ ไว้เป็นกลุ่มเป็นพวก

1.2 ความสม่ำเสมอ (Postulate of Constancy) หมายถึงปรากฎการณ์ตาม ธรรมชาติ จะคุมคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะอย่าง เช่น น้ำจะแข็งเมื่ออากาศเย็นจัด แต่ถ้าอากาศอุ่นขึ้น น้ำแข็งก็จะละลาย เป็นน้ำ

1.3 ความเป็นเหตุเป็นผล (Determinism) หมายถึง ปรากฎการณ์ทั้งหลายใน ธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น และผลก็จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น เช่น ถ้าอยากวาดภาพสีน้ำ หากเรามีแต่น้ำไม่มีสีก็ไม่สามารถ วาดภาพได้

2. ข้อตกลงที่เกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา (Assumption Concerning the Psychological Process) ข้อตกลงนี้หมายถึง การที่บุคคลได้รับความรู้ต่าง ๆ โดยอาศัยจิตวิทยา 3 ประการ ได้แก่ การรับรู้ (Perceiving) การจำ (Remembering) และการใช้เหตุผล (Reasoning) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ ได้แก่

2.1 ความเชื่อถือของการรับรู้ (Postulate of Reliability of Percieving) หมายถึง การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อถือได้ และมีความแน่นอน หรือมีความเที่ยงตรง

2.2 ความเชื่อถือของการจำ (Postulate of Reliability of Remembering) หมายถึงว่า การจำต้องมีความน่าเชื่อถือว่าถูกต้อง ซึ่งการจำนี้ทำได้โดย การจดบันทึก หรือใช้เอกสาร เทปบันทึก หลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำ อย่างถูกต้อง

2.3 ความเชื่อถือของการใช้เหตุผล (Postuiate of Reliability of Reasoning) หมายถึงการใช้เหตุผลในการหาความรู้ ต้องมีความเชื่อมั่นว่า ได้มาอย่าง ถูกต้อง มีระบบความคิดที่เป็นระบบ และสามารถนำมาใช้เป็นทฤษฎี หรือกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้


ความรู้จริง และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ความรู้จริง และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องนั่นมีอยู่มาก และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ทำวิจัย จะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน เรื่องที่จะทำ และรู้ถึงทฤษฎีที่ใช้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องของการวิจัยต่อไป ความรู้จริง หมายถึงสิ่งที่มนุษย์พยายาม เสาะแสวงหา เป็นสิ่งที่เชื่อถือได้ และสามารถนำไปใช้ได้ในโอกาสต่อไป ความรู้นี้มีลักษณะสำคัญคือ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นจะต้อง แน่นอนคงตัวเสมอไป จะดำรงอยู่ในสภาพนั้น ๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อปรากฎการณ์ หรือสถานการณ์เปลี่ยนไป ความรู้จริง เหล่านั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงได้
ความรู้จริงแบ่งออกได้เป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1. ความรู้จริงส่วนบุคคล (Personal Fact) เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นกับคนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะเป็นการรับรู้เฉพาะตัว ความรู้จริงใน ส่วนนี้ แต่ละบุคคลจะรับรู้ไม่ตรงกัน และมักอยู่ในรูปนามธรรม เช่น ความฝัน ความกลัว ความเชื่อ ซึ่งความจริงประเภทนี้ตรวจสอบได้ยาก

2. ความรู้จริงที่เป็นสาธารณะ (Public Fact) เป็นความจริงที่คนกลุ่มหนึ่งรับรู้ได้ตรงกัน มักเป็นความจริงที่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และรับรู้ได้โดยประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น ม้ามี 4 ขา ช้างมีงวง และงา ซึ่งความจริงประเภทนี้ตรวจสอบได้ง่าย
ซึ่งความรู้จริงทั้ง 2 ประเภทนี้ จะพบเห็นได้มากในงานวิจัย ทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ส่วนความรู้จริงส่วนบุคคลนี้ จะพบมากในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์


วิธีการของมิลล์ (Mill’s Method)
วิธีการนี้เป็นการหาคำตอบโดยใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ นอกจากจะใช้เหตุผล ด้วยวิธีอุปมาน และอนุมาน และวิทยาศาสตร์ วิธีการนี้มีหลักการของความสัมพันธ์ เชิงเหตุผล 5 ประการ

♨วิธีของความสอดคล้อง (Agreement) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมันตั้งแต่ 2 อย่าง และสิ่ง 2 อย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุ หรือผลของเหตุการณ์นั้น เช่น หลังจากที่นิสิตทุกคนในคณะศิลปกรรมได้ศึกษาวิชาศิลปะไทย นิสิตทำงานออกแบบทุก ชิ้นงานเป็นงาน ที่เป็นแบบไทยอย่างชัดเจน ซึ่งอาจสรุปว่า วิชาไทยนั้นมีอิทธิพลต่อการออกแบบนิสิต

♨วิธีของความแตกต่าง (Difference) หมายถึงสิ่งแตกต่าง 2 สิ่ง เกิดขึ้นในเรื่องที่ต่างกัน ทำให้ผลแตกต่างกัน เช่น นิสิต 2 คน คนหนึ่งเรียนพื้นฐานวิชาวาดเส้นมามาก อีกคนหนึ่งมิได้เรียนมาเลย ก็อาจสรุปได้ว่า คนที่เรียนพื้นฐานวิชา วาดเส้นมามากจะมีพื้นฐานที่ดีกว่าอีกคนที่ไม่เคยเรียนมาเลยก็ได้

♨วิธีของความสอดคล้อง และไม่สอดคล้อง (Agreement and Didagreement) คือ การผสมผสานกันระหว่าง วิธีที่ 1 และ 2 เช่น ในการออกแบบนั้น แบ่งนิสิตออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเรียนวิชา Creative Design ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของการออกแบบที่สำคัญ ส่วนอีกกลุ่มนั้นไม่ได้เรียน Creative Design เมื่อให้นิสิตทั้ง 2 กลุ่มออกแบบงาน 2 มิติ กลุ่มที่เรียน Creative Design นั้นทำได้ดีกว่ามาก จึงสรุปได้ว่าวิชา Creative Design นั้นเป็นพื้นฐานสำคัญ สำหรับการเรียนการออกแบบ

♨วิธีของส่วนที่เหลือ (Residue) หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลาย ๆ สิ่ง และเป็นสาเหตุให้เกิดผลได้หลายอย่าง และสาเหตุบาง อย่างเราทราบว่ามีความสัมพันธ์กับผลบางอย่าง ดังนั้น ส่วนที่เหลือของเหตุย่อมทำให้เกิดผล ตัวอย่าง
เหตุ ผล
ก. ข. ค. ง. จ. ฉ.
จากสัญลักษณ์ทำให้เราทราบว่า
ก. เป็นเหตุทำให้เกิดผล ง.
ข. เป็นเหตุทำให้เกิดผล จ.
ดังนั้น สรุปว่า
ค. เป็นเหตุทำให้เกิดผล
ฉ. ด้วยเหมือนกัน

♨วิธีการแปรผันของตัวแปรร่วมกัน (Concomitant Variation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่ง ขึ้นอยู่กับการ เปลี่ยนแปลงของอีกสิ่งหนึ่งในสถานภาพเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของอีกสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะเหมือนกัน ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงร่วมกัน เช่น การเกิดของเด็ก ขึ้นอยู่กับจำนวนคู่แต่งงาน ถ้าแต่งงานมากเด็กก็เกิดมาก
วิธีการของ Mill นี้ เป็นวิธีการที่สามารถนำมาใช้หาข้อเท็จจริงได้ แต่การใช้วิธีนี้บ่อยครั้ง ไม่สามารถคุมสถานการณ์ได้ ดังนั้น การแปรผัน การควบคุม และเหตุการณ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการหาผลสรุปที่น่าเชื่อถือ


การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลมีความมุ่งหมายเพื่อสรุปผลของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ในรูปที่จะตอบปัญหาของการวิจัยได้ เมื่อผู้วิจัยได้ข้อมูลมาแล้วก็ต้องนำมาแปลงเป็นตัวเลขอาจโดยการให้คะแนน หรือ โดยการแจกแจงความถี่ แล้วก็นำไปวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีสถิติที่เหมาะสม จะต้องกำหนด วิธีวิเคราะห์ข้อมูลไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ขั้นวางแผนการวิจัย ไม่ควรใช้วิธีเก็บข้อมูลมาก่อน แล้วมาพิจารณาหาวิธีวิเคราะห์ภายหลังซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเปล่า เนื่องจากต้องทิ้งข้อมูลบางส่วนที่เพียรพยายามเก็บรวบรวมมาด้วยความยากลำบาก เพราะไม่สามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบปัญหาตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยได้

ในการศึกษาคุณสมบัติหรือลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลหรือรายละเอียดของข้อเท็จจริง เพื่อนำมาวิเคราะห์และแปรความหมาย โดยอาศัยระเบียบวิธีสถิติ รายละเอียดที่ต้องการย่อมได้จากการวัดหรือสังเกต และการจดบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่ต้องการให้ละเอียดถี่ถ้วนและเที่ยงตรงที่สุด ข้อมูล แต่ละชุดต่างก็มีลักษณะหรือคุณสมบัติแตกต่างกัน ถ้าพิจารณาในด้านการวัดที่หยาบที่สุด ถึงระดับที่ละเอียดที่สุด ดังนี้

๑۩۞۩๑ มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scales) วัดสิ่งที่ต้องการจัดแบ่งเป็นประเภทตามลักษณะ หรือ ตามคุณสมบัติที่ปรากฏ ข้อมูลที่ได้จากการวัดนี้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ประเภท หรือกลุ่มของข้อมูลต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด ผลการวัดทุกจำนวนสามารถจัดเข้ากลุ่ม หรือ ประเภทใดประเภทหนึ่งเสมอ เช่น เพศ ระดับการศึกษาคุณลักษณะ หรือชนิดของสิ่งที่ต้องการวัดเป็นต้น ข้อมูลที่มีการวัดระดับนี้ใช้ระเบียบวิธีสถิติง่าย ๆ เช่นจำนวน สัดส่วนหรือร้อยละของกลุ่มที่ศึกษา เป็นต้น

๑۩۞۩๑ มาตราเรียงอันดับ (Ordinal Scales) วัดจำนวนที่จัดเป็นอันดับของสิงที่ต้องการวัดการวัดในมาตรา นี้เรียงคุณสมบัติของข้อมูลประเภทเดียวกันจากตำแหน่งสูงสุดไปหาต่ำสุด โดยไม่คำนึงถึงจำนวนหรือช่วงของการวัด เช่น จัดอันดับว่าสิ่งที่ถูกวัดมีคุณสมบัติดีเป็นที่ 1, 2, 3, …. แต่ไม่อาจกล่าวได้ว่าคนที่ดีเป็นที่หนึ่ง จะดีกว่าคนที่ดีเป็นที่สอง เป็นต้น ระเบียบวิธีสถิติที่ใช้ได้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีระดับการวัดระดับนี้ คือ Non Parametric Statistics

๑۩۞۩๑ มาตราอันตรภาค (Interval Scales) วัดจำนวนที่บอกความแตกต่างระหว่างค่าที่วัดได้แต่ละช่วงของการวัดหรือการเปรียบเทียบระหว่างหน่วยของคะแนนในข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ มีค่าเท่ากันเช่น 30 ห่างจาก 20 และ 40 เท่ากัน เป็นต้นมาตรานี้ไม่มีศูนย์สัมบูรณ์ แต่อาจทราบได้วาสิ่งที่วัดได้มีค่ามากหรือน้อยกว่ากันเป็นจำนวนเท่าใด จะเปลี่ยนหน่วยการวัดระดับนี้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันได้ต้องอาศัยระเบียบวิธีสถิติในการแปลงทุกหน่วยที่ต้องการจะเปรียบเทียบ ให้เป็นหน่วยเดียวกันหมด เช่น เป็นตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์หรือเป็นคะแนนมาตรฐาน เป็นต้น ข้อมูลที่มีหน่วยการวัดในระดับนี้ ใช้ได้กับระเบียบวิธีสถิติเกือบทุกชนิด

๑۩۞۩๑ มาตราอัตราส่วน (Ratio Scales) เป็นมาตราวัดในระดับสูงสุด ศูนย์สัมบูรณ์ ค่าที่วัดได้จะบอกขนาดที่แน่นอน จะเปลี่ยนหน่วยการวัดระดับนี้จากหน่วยงานหนึ่งมาเป็นอีกหน่วยหนึ่ง เพื่อนำมา เปรียบเทียบกันได้ โดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์ การวัดระดับนี้ใช้ระเบียบวิธีสถิติได้ทุกชนิด

สถิติเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูล ที่เก็บรวบรวมมาได้อย่างถูกต้องได้ผลสรุป ที่มีความหมาย ผู้วิจัยจะต้องเลือกระเบียบวิธีสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ให้เหมาะกับระดับการวัด ผู้ใช้ระเบียบวิธีสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องเข้าใจความคิดพื้นฐานของสถิติและทราบข้อตกลงของค่า และระเบียบวิธีสถิตินั้น ๆ เพราะสถิตินั้นแต่ละค่าพัฒนามาโดยอาศัยความคิดเชิงคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ จึงขึ้นกับข้อตกลงหากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มีลักษณะตามข้อตกลงของค่าของสถิติที่ต้องการใช้ ค่าสถิตินั้นก็เหมาะกับการวิเคราะห์นั้น


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยจะได้ผลดี ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ก็จะต้องมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดีด้วย ผู้วิจัยจะต้องสร้างหรือเลือกใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมกับลักษณะ ขอบเขต และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ในบางครั้งอาจจะต้องพิจารณาระเบียบวิธีสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย แล้วปรับเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ตามข้อตกลงเบื้องต้น ของค่าสถิตินั้น ๆ เช่น ถ้าการวิจัยเป็นเชิงสำรวจเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลก็จะเป็นแบบสอบถาม แบบสำรวจ หรือแบบสัมภาษณ์ ถ้าการวิจัยเป็นการทดลองสอน เครื่องมือ ก็จะเป็นแบบทดสอบที่เที่ยงตรงและครอบคลุมเรื่องที่จะทดลองสอน รวมทั้งแบบฝึก หรือแบบเรียนที่ใช้ใน การทดลองสอนก็ต้องให้เหมาะสมกับเรื่องที่ทดลองสอนด้วย เป็นต้น
การสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยจะต้องอาศัยเนื้อหาวิชาอันเป็นความรู้ หรือภูมิหลักของผู้วิจัยเองกับความรู้เกี่ยวกับเทคนิค ในการสร้างเครื่องมือแบบต่าง ๆ ด้วย
เครื่องมือและเทคนิคในการรวบรวมข้อมูลมีหลายประเภทตัวอย่าง ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์



สมมุติฐานในการวิจัย
การกำหนดปัญหาที่แน่นอน การใช้ทฤษฎี และ แนวคิดช่วยในการวางแผนวิจัยจะทำให้ผู้วิจัยเกิดความคิด หรือเข้าใจจนตั้งสมมุติฐานขึ้นมาเป็นแนวทางในการวิจัยได้ ถ้าผู้วิจัยเข้าใจเรื่องที่ต้องการศึกษาอยู่แล้ว หรือมีแนวความคิด ตลอดจนมีการศึกษา ผลงานวิจัยของผู้อื่นที่ใกล้เคียงกัน ก็จะทำให้ผู้วิจัยได้แนวคิดในการตั้งสมมุติฐานของการวิจัยเช่นเดียวกันสมมุติฐานเป็นข้อเสนอเงื่อนไข หรือ หลักการสมมุติที่อาจไม่จริงก็ได้ หน้าที่ของสมมุติฐานก็ช่วยชี้ แนวทางในการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดซึ่งมีอยู่ในสมมุติฐานอาจเป็นคำตอบปัญหาที่มีอยู่แล้ว หรืออาจไม่เป็น ก็ได้ ความคิดต่าง ๆ ที่สมมุติฐานเสนอแนะไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อย่างไรก็ตามการวิจัยที่เริ่มต้นด้วยสมมุติฐานที่แน่นอนย่อมช่วยผู้วิจัยในการวางแผนเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

ในการวิจัยบางเรื่อง ผู้วิจัยอาจตั้งสมมุติฐานล่วงหน้าไม่ได้ อาจเพราะยังขาดประสบการณ์ ความเข้าใจ ความรู้ และไม่มีตัวอย่างการวิจัยเรื่องนั้นมาก่อน ผู้วิจัยจำเป็นต้องสำรวจ เพื่อหาแนวคิดหรือข้อเท็จจริง และ สมมุติฐานของงานวิจัยดังกล่าวนี้ได้แก่งานวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Research) ลักษณะของงานวิจัยดังกล่าวคือ ให้เสรีภาพที่จะทดลองใช้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบต่าง ๆ ไม่เพ่งเล็งที่ข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะกระจายความสนใจ ไม่จำเป็นต้องมีทฤษฎีล่วงหน้าหรือวางแผนอย่างแน่นอน แม้ว่าค้นพบหรือแนวคิดต่าง ๆ

ที่ได้มาจากการวิจัยที่ไม่มีสมมุติฐานล่วงหน้าจะมีน้ำหนักน้อยกว่าการวิจัยที่มีสมมุติฐานล่วงหน้าก็ตาม ผู้วิจัยจะต้องพยายามสำรวจโดยอาศัยระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากที่สุด งานวิจัยเชิงสำรวจนี้ผู้มีความรู้เรื่องระเบียบวิธีสถิติไม่มากนัก ก็สามารถดำเนินการวิจัยได้เพราะย้ำการค้นพบแนวความคิด และการค้นพบและสมมุติฐานมากกว่า การพิสูจน์ซึ่งต้องใช้ความรู้ระเบียบวิธีและสถิติมาก ผู้วิจัยอาจดำเนินการวิจัยไปโดยมีหรือไม่มีการตั้งสมมุติฐานไว้ล่วงหน้าก็ได้ เนื่องจากแนวคิดใหม่หรือการสร้างสมมุติฐานอาจเกิดขึ้นได้หลังจากที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วก็ได้
การตั้งสมมุติฐานในการวิจัยนั้น แม้ว่าไม่ง่ายนัก แต่ผู้วิจัยก็ควรจะใช้ความพยายามอย่างจริงจังที่จะคิดถึงสมมุติฐานต่าง ๆ ทั้งหมด แล้วเขียนหรือกำหนดไว้เป็นหลักฐานเพื่อขจัดข้อสงสัยคลุมเครือต่าง ๆ การวิจัยเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์บางอย่าง ผู้วิจัยอาจจะกำหนดความต้องการไว้เป็นวัตถุประสงค์หรือมีแนวทฤษฎี ที่พอจะตั้งเป็นสมมุติฐานได้ แต่ก็อาจเขียนลงไปในรายงานผลการวิจัยว่าเป็นสมมุติฐานได้ เพราะไม่อาจพิสูจน์บางส่วนให้เห็นจริงได้ ผู้วิจัยก็อาจจะเขียนไว้ในแนวเหตุผล ในรายงานการวิจัยก็ได้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้วิจัยได้บรรลุเป้าหมายในการวิจัยได้โดยง่าย
สมมุติฐานของการวิจัยนั้นควรมีลักษณะเฉพาะตรงกับเรื่องที่จะวิจัย และสามารถพิสูจน์ได้ สมมุติฐานที่ได้มาจากแนวทฤษฎี ข้อค้นพบที่เชื่อถือได้และเหตุผลจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะมีน้ำหนักมากกว่าสมมุติฐานที่คิดขึ้นเองและเขียนขึ้นอย่างลอย ๆ ดังนั้นในการเขียนสมมุติฐานของการวิจัย ผู้วิจัยจึงต้องแสดงแนวความคิด และเหตุผลประกอบกับข้อความที่เป็นสมมุติฐานในการวิจัยด้วย


เกณฑ์การเลือกปัญหา
การเลือกปัญหาที่จะวิจัยเพื่อให้สามารถเลือกปัญหาที่จะวิจัยได้อย่างเหมาะสม ควรพิจารณาเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ประกอบ
เป็นเรื่องที่ผู้วิจัยมีความสนใจอยากรู้อย่างแท้จริง หรือ มุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการแสวงหาคำตอบ จากลักษณะของงานวิจัยซึ่งเป็นการทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยความพากเพียร ความอดทน ความตั้งใจทำอย่างระมัดระวังจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกปัญหาที่ตนสนใจ
ถ้าเป็นปัญหาที่ไม่สนใจอาจทำให้งานวิจัยนั้นขาดคุณภาพ หรือผู้วิจัยเกิดความเบื่อหน่ายล้มเลิกกลางคันได้ อย่างไรก็ตามความสนใจอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะเรื่องที่ผู้วิจัยสนใจอาจเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีความสำคัญ หรือมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งต้องพิจารณาด้วย

∑ ค่าใช้จ่ายในการวิจัย เป็นเรื่องที่มีทุนวิจัยเพียงพอ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะต้องพิจารณาให้
รอบคอบควรทำประมาณการค่าใช้จ่ายในโครงการวิจัยให้ละเอียด ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง บุคลากร ค่าใช้คอมพิวเตอร์ ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าเดินทางเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าจ้างพิมพ์รายงานการวิจัย ฯลฯ ค่าใช้จ่าย เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดความสมบูรณ์ หรือความกว้างขวางของเรื่องที่วิจัย ถ้ามีทุนมากก็จะเอื้อต่อการวิจัยในเรื่องที่มีความลึกและได้รายละเอียด มีความสมบูรณ์มากขึ้น แต่การวิจัยในเรื่องที่มีคุณค่า ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากเสมอไป ในเรื่องทุนการวิจัยนี้บางครั้งอาจได้รับการสนับสนุนให้ทุนอุดหนุนจากหน่วยงาน สถาบันที่ส่งเสริมการวิจัย ถ้าเสนอโครงการวิจัยในเรื่องที่อยู่ในความสนใจ เป็นเรื่องที่เข้าเกณฑ์ตามที่วางไว้ หรือใช้งบประมาณของหน่วยงานของตน ก็จะช่วยขจัดปัญหาเกี่ยวกับทุนวิจัยได้

เป็นเรื่องสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของผู้วิจัย ในการเลือกปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องพิจารณาถึงขีดจำกัดของความสามารถ พื้นฐานและประสบการณ์ของตน อย่างเที่ยงธรรม แล้วเลือกวิจัย ในปัญหาที่ตนมีความรู้ในข้อเท็จจริง ในทฤษฎีของเรื่องนั้น ๆ และมีความสามารถความชำนาญในเรื่องนั้น การเลือกงานวิจัยที่ตนไม่ถนัดหรือขาดความสามารถ จะทำให้เกิดปัญหาอย่างมาก
มีงานวิจัยบางเรื่องต้องอาศัย ความรู้ความสามารถในด้านที่ผู้วิจัยไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน ถ้าจำเป็นต้องวิจัยเรื่องดังกล่าวก็อาจกระทำได้โดยศึกษาค้นคว้าในด้านนั้นเพิ่มเติมให้มาก ทั้งนี้ต้องมั่นใจก่อนว่าตนมีศักยภาพในการเรียนรู้ ในการที่จะเข้าใจเรื่องนั้น เป็นไปได้ควรทำการวิจัยเป็นคณะที่โดยร่วมมือกับบุคคลอื่นที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องกับการวิจัยและปรึกษาผู้ทีมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ผลงานมีคุณภาพ


ประเภทของตัวแปร
ตัวแปรมีหลายประเภทดังนี้
ก. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น ตัวแปรต้น ตัวแปรจัดกระทำ ตัวแปรเร้า เป็นต้น
การที่ใช้ชื่อว่าตัวแปรจัดกระทำ (Manipulated or Treatment Variable) เป็นการเรียกในกรณีวิจัยการทดลองทั้งนี้เนื่องจากการวิจัยทดลองเป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยจัดสภาพให้เกิดระดับหรือความเข้มข้น หรือประเภทแตกต่างกัน เช่น ถ้าตัวแปรอิสระเป็นอุณหภูมิ ผู้วิจัยจะจัดให้มีอุณหภูมิในการทดลองแตกต่างกัน เช่น ให้กลุ่มหนึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 20oC อีกกลุ่มอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิ 30oC เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเรียกว่าเป็นตัวแปรจัดกระทำ
ที่เรียกว่าตัวแปรป้อน (Input Variable) เป็นการเรียกในการวิจัยเชิงทดลอง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นตัวแปรที่ใส่ในการทดลอง

ข. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) มีชื่อเรียกอีกย่างว่าตัวแปรผล คำว่า ตาม (Dependent) หมายถึง ขึ้นอยู่กับ หรือแปรผันไปตาม ตัวแปรอิสระ กล่าวคือค่าของตัวแปรนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภท ระดับ หรือความเข้มของตัวแปรอิสระ
ที่เรียกว่าตัวแปรผล (Output Variable) เนื่องจากเชื่อว่าเป็นตัวแปรที่ได้รับผล หรือเป็นผลจากอิทธิพล ของตัวแปรอิสระ เช่น การสอน (ตัวแปรอิสระ) เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพลทำให้เกิดการเรียนรู้ (ตัวแปรผล) เป็นต้น
ตัวแปรอิสระ คือวิธีสอน ซึ่งมี 2 วิธี คือ
1.วิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
2.วิธีสอนแบบบรรยาย
ตัวแปรตาม มี 2 ตัว คือ
1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา
2.ความมีวินัยแห่งตน
ค. ตัวแปรสอดแทรกหรือตัวแปรแทรกซ้อน (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นระหว่างการทดลอง เช่น ขณะที่การทดลองกลุ่มตัวอย่างเกิดความเหนื่อยล้าหรือเกิดความวิตกกังวล มีแรงจูงใจสูงหรือต่ำเป็นต้น นอกจากความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวล แรงจูงใจ และยังมีตัวแปรชนิดนี้อีกหลายตัว เช่น ความรับรู้ ความต้องการ ความรู้สึก เป็นต้น
ง. ตัวแปรเกินหรือตัวแปรภายนอก (Extraneous Variable) คือตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษาผลของตัวแปรนั้นและได้ควบคุม แต่อาจมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรง ตัวอย่าง การทดลอง เพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอน 2 วิธี ว่าใดจะช่วยให้ผู้เรียนมีสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียน ได้แก่ ระดับสติปัญญาของผู้เรียน ฯลฯ ดังนั้นทางเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยเลือกเอาห้องเรียนที่โรงเรียนจัดไว้ โดยไม่ได้ใช้วิธีจัดแบบสุ่ม ห้องเรียนแต่ละห้องมักมีนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาแตกต่างกัน อนึ่งยังมีตัวแปรอื่น ๆ อีก เช่น สถานะภาพทางเศรษฐกิจและทางสังคม ความสามารถทางการเรียนของผู้เรียน เป็นต้น
จ. ตัวแปร Organismic หรือ Attribute Variable คือ ตัวแปรที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เป็นต้น
ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรเกินได้ เช่น ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง วิธีจับคู่ ตัวอย่าง (Matching) ฯลฯ

ตัวแปร (Variables)
ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือสภาวะการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกหรือเป็นระดับ หรือมีค่าได้ หลายค่า เช่น เพศ เป็นตัวแปรหนึ่ง แบ่งออกเป็นพวกเพศชายและเพศหญิง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นอีกตัวแปรหนึ่ง แต่ละคนอาจมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน บางคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง บางคนอาจจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง และบางคนอาจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในการทำวิจัยโดย ทั่วไปมักศึกษาเกี่ยวข้องกับตัวแปรเสมอแต่ละบุคคลจะมีคุณลักษณะ หรือค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือค่าเดียวในขณะหนึ่ง เช่น ก เป็นเพศชาย ในขณะนั้นจะไม่เป็นเพศหญิง หรือคนที่มีผลสัมฤทธิ์สูงหรือต่ำ ต่อมาผลสัมฤทธิ์ของเขาอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ แต่จะไม่มีผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนั้นหลายระดับหรือหลายค่าในขณะเดียวกัน

ตัวแปรที่มีคุณลักษณะจัดเป็นพวก ได้แก่ วิธีสอน เพศอาชีพ เชื้อชาติ ศาสนา
ตัวแปรที่มีคุณลักษณะจัดเป็นระดับ ได้แก่ วัย (เช่นที่จัดเป็นทารก วัยเด็ก วัยรุ่นวัยผู้ใหญ่ วัยชรา) ระดับสติปัญญา (เช่นที่จัดเป็นสติปัญญาสูง กลาง ต่ำ) ระดับความพร้อม (ที่จัดเป็นความพร้อมสูง ความพร้อมปานกลาง ความพร้อมต่ำ) ขนาดโรงเรียน (เช่นที่จัดเป็นใหญ่พิเศษขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก)
ตัวแปรที่มีค่าได้หลายระดับ มีมากมาย เช่นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านพุทธิพิสัย (Cognitive) ด้านจิตพิสัย (Affective) หรือด้านทักษะพิสัย (Psychomotor) สามารถวัดคุณสมบัติ ดังกล่าวออกมาในรูปคะแนน ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องมือเป็นสำคัญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบวัดบางฉบับอาจจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน บางฉบับเต็ม 200 คะแนน บางครั้งมีผู้ทำข้อสอบได้กระจายตั้งแต่จวนเต็มถึงจวนได้ศูนย์ (0) คุณลักษณะทางกายภาพได้แก่ ส่วนสูง น้ำ-หนัก ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีค่าได้หลายค่า
ตัวแปรบางตัวมีค่าได้หลายค่า แต่ในการวิจัยผู้วิจัยจะจัดออกเป็นระดับ เช่น ประสบการณ์ในการทำงาน อายุ รายได้ ประสบการณ์ในการทำงาน อาจจำแนกเป็น ทำงานน้อยกว่า 5 ปี 5-10 ปี 11-15 ปี เป็นต้น

แหล่งของปัญหาการวิจัย
มีแหล่งที่จะช่วยให้สามารถพบปัญหา เลือกปัญหา หรือกำหนดปัญหาการวิจัยหลายแหล่งดังนี้
1. รายงานการวิจัยของคนอื่น ๆ ที่พิมพ์ออกมาแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในวารสารการวิจัยต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นผลงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา หรือในรูปรายงานการวิจัย ที่พิมพ์ออกมาเป็นเล่มหรือแม้กระทั่งบทคัดย่อที่มีการรวบรวมไว้ เช่น บทคัดย่อปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะพิมพ์ออกมาเป็นรายปี ข่าวสารการวิจัยของหน่วยงานที่ทำการวิจัยและส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย เช่น ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ แหล่งที่เป็นภาษาอังกฤษที่มีบท คัดย่องานวิจัยเป็นจำนวนมาก เช่น Dissertation Abstracts International

2. ทฤษฎี ข้อเสนอแนะใหม่ ๆ และบทความของผู้รู้ ไม่ว่าจะอยู่ในตำรา วารสาร วิชาการสาขาต่าง ๆ
การศึกษาทฤษฎี ข้อเสนอแนะใหม่ ๆ และบทความของผู้รู้อย่างกว้างขวาง ในตำรา เอกสาร วารสารวิชา การในด้านที่ตนสนใจ อาจช่วยให้มองเห็นปัญหาในการวิจัยได้
3. การเข้าร่วมสัมมนา ประชุมทางวิชาการ ในเรื่องต่าง ๆ อาจช่วย ให้พบปัญหาที่ควรทำการวิจัยได้
4. การเสนอหัวข้อที่ควรทำวิจัยของหน่วยงานที่ให้ทุน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย เช่น สำนักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยโดยระบุลักษณะโครงการวิจัย หรือ โดยการกำหนดเรื่องของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ อาจช่วยให้เลือกเรื่องที่จะวิจัยได้
5. จากการให้คอมพิวเตอร์พิมพ์รายชื่อเรื่องต่าง ๆ ที่มีผู้วิจัยไว้แล้ว ตามหมวดต่าง ๆ ในสาขาที่ตน สนใจเพื่อที่จะได้แนวคิดในการวิจัย หรือให้พิมพ์ผลงานวิจัยโดยย่อในเรื่องที่ตนสนใจ เมื่อศึกษาในเรื่องเหล่านั้นอาจพบปัญหาที่จะทำวิจัย

6. จากการปฏิบัติงานในหน้าที่อาจพบปัญหาที่น่าทำวิจัย


Scientific method
คิดค้นวิทยาการทางวิทยาศาสตร์โดยอาศัย วิธีอนุมาน-อุปมาน (Deductive-inductive method)และกระบวนการคิดแบบนี้คิดกลับไปกลับมา(Reflective thinking)วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีสืบแสวงหาความรู้ของมนุษย์สมัยใหม่และยังเป็นที่นิยามใช้กันอยู่อย่างมากในปัจจุบัน เบคอน ก็มีส่วนช่วยปูพื้นฐานให้แก่วิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่เสนอแนะให้แก้ปัญหาด้วยการสังเกตและ การเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงใน ศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ดาร์วิน และนักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ คิดค้นวิทยาการทางวิทยาศาสตร์โดยอาศัย วิธีอนุมาน-อุปมาน (Deductive-inductive method) ได้ผลดีขึ้น แล้วต่อมาก็มีผู้ ดัดแปลงแก้ไขให้ชื่อใหม่ว่า Reflective thinking เพราะกระบวนการคิดแบบนี้คิดกลับไปกลับมา ผู้ที่คิดวิธีนี้คือ จอห์น ดุย (John Dewey) เขียนไว้ในหนังสือ How we think เมื่อปี ค.ศ. 1910 และได้แบ่งขั้นของการคิดแก้ปัญหาไว้ 5 ขั้น

-ขั้นปรากฏความยุ่งยากเกิดเป็นปัญหาขึ้น (A felt difficulty) พูดง่าย ๆ คือ ขั้นปัญหาแต่การที่มนุษย์จะประสบปัญหาอาจขึ้นอยู่กับ
ก.เขาไม่มีความรู้ที่จะแก้ปัญหาได้ตลอด
ข.เขามีความลำบากที่จะทำการพิสูจน์ลักษณะของปัญหา
ค.เขาไม่สามารถอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย

-ขั้นจำกัดขอบเขตและนิยามความยุ่งยาก (Location and definition of the difficulty) ขั้นนี้ เป็นขั้นพยายามทำให้ปัญหากระจ่างขึ้น อาจจะโดยการสังเกต การเก็บรวบรวมมาข้อเท็จจริงเพื่อช่วยในการนิยามปัญหาให้ชัดเจนขึ้น
-ขั้นเสนอแนะการแก้ปัญหาคือสมมุติฐาน (Suggested solutions of the problem : Hypotheses) ขั้นนี้ได้จากการค้นคว้าข้อเท็จจริงแล้วใช้ปัญญาของตนเดาคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น ขั้นนี้จึงเรียกว่าขั้นตั้งสมมุติฐาน
-ขั้นอนุมานเหตุผลของสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น (Deductively reasoning out the consequences of the suggested solutions) ขั้นนี้เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานทั้งหลายนั้นเอง
-ขั้นทดสอบสมมุติฐาน (Testing the hypotheses by action) ขั้นนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจะทดสอบดูว่า สมมุติฐานที่ตั้งขึ้นมานั้นเชื่อถือได้หรือไม่
-ขั้นตอนการคิดแบบนี้ต่อมาเรียกว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ซึ่งพอจะสรุปวิธีการคิดในปัจจุบันได้เป็น 5 ขั้น ดังนี้
ก.ขั้นปัญหา (Problem)
ข.ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypotheses)
ค.ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล (Gathering data)
ง.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis)
จ.ขั้นลงสรุป (Conclusion)

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อค้นคว้าหาความจริง (Fact) ไม่ใช่ตกลงเชื่อเองว่าเป็นจริงเสมอไป เป็นวิธีการที่เป็นระบบข้อเท็จจริง ทั้งหลายต้องมีการทดสอบว่าเป็นจริงหรือเท็จ

การกำหนดปัญหาในการวิจัย
ยังมีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายมหาศาลที่มนุษย์ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เกิดความกระจ่าง จำเป็นต้องวิจัยเพื่อให้เกิดความรู้ความกระจ่างในเรื่องเหล่านั้น ประกอบด้วยการเลือกปัญหาในการวิจัยและการให้นิยามปัญหา การกำหนดปัญหาในการวิจัยนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุดในการวิจัย เพราะถ้าเลือกเรื่องวิจัยที่เหมาะสมก็จะเอื้อต่อการวิจัยนั้นได้สำเร็จด้วยดี มีปัญหาหรืออุปสรรคน้อย แต่ถ้าเลือกเรื่องที่ไม่เหมาะสมก็อาจพบปัญหามากและได้รับความลำบากในการทำจนอาจะทำให้ล้มเลิกไปได้ การเลือกปัญหาในการวิจัยจึงต้องกระทำอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาจากเกณฑ์หลาย ๆ ด้าน ปัญหาให้การวิจัยมีอยู่มากมาย ทั้งนี้เนื่องจาก

การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์จะพบปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ บางปัญหาจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้า เพื่อให้เข้าใจและดำเนินการแก้ไข
ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ จะมีตัวแปรจำนวนมากที่แปรเปลี่ยนไปตามเวลา สถานที่ สภาพแวดล้อม ผลการค้นหาและการวิจัย ณ ที่ใดที่หนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่แน่ว่าจะสามารถอ้างอิงครอบคลุมไปในอีกที่หนึ่งหรือในเวลาต่อ ๆ มาได้ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัด
งานวิจัยที่ทำไปแล้ว โดยทั่วไปยังไม่สิ้นสุดในตัวเอง ระยะหลังอาจพบทฤษฎีใหม่ มีผู้พัฒนาเทคนิคในการรวบรวมข้อมูลใหม่ หรือเทคนิคในการวิเคราะห์แบบใหม่ หรือเทคนิคในการศึกษาแบบใหม่ ทำให้เกิดความสนใจในการศึกษาที่จะตรวจสอบเรื่องเดิมที่ได้วิจัยไปแล้วโดยใช้เทคนิค หรือวิธีการดังกล่าวนั้น อนึ่งในการวิจัยที่ผ่านมาอาจศึกษาในส่วนย่อย ๆ ไม่ละเอียดลึกซึ้ง ไม่เห็นภาพรวม ก็อาจวิจัยใหม่เพื่อให้เห็น ภาพรวมมุมมองใหม่ ก็ได้



กระบวนการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัยในการวิจัยแต่ละประเภทอาจะมีขั้นตอนแตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนโดยทั่วไป

1. เลือกหัวข้อปัญหา ในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องตกลงปลงใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ด้วยความมั่นใจ และเขียนชื่อเรื่องที่จะวิจัยออกมา
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย หลังจากที่กำหนดเรื่องที่จะวิจัยได้แล้ว จะต้องศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยศึกษาสาระความรู้ แนวความคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ในตำรา หนังสือ วารสาร รายงานการวิจัยและเอกสารอื่น ๆ สำหรับผลงานที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ทราบว่ามีใครวิจัยในแง่มุมใดไปแล้วบ้าง มีผลการค้นผลอะไร มีวิธีดำเนินการ ใช้เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์เช่นไร ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ในการทำวิจัยได้อย่างเหมาะสมรัดกุม ไม่ซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่ทำไปแล้ว และช่วยตั้งสมมุติฐานได้อย่างสมเหตุสมผล
3. เขียนเค้าโครงการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหือที่มาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ตัวแปรต่าง ๆ ที่วิจัย (กรณีที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวแปร) คำนิยามศัพท์เฉพาะ สมมุติฐานในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รูปแบบการวิจัย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับส่วนที่กล่าวถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้อาจแยกกล่าวต่างหากหรืออยู่ในส่วนที่เป็นภูมิหลังก็ได้
4. สร้างเครื่องมือในการรวบข้อมูล ดำเนินการสร้างตามหลักและขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้น ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องศึกษาวิธีสร้างเครื่องมือ ลักษณะธรรมชาติ และ โครงสร้างของสิ่งที่จะวัด การเขียนข้อความหรือข้อคำถามต่าง ๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไข การทดลอง และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การปรับปรุงเป็นเครื่องมือฉบับจริง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่สร้างขึ้นอย่างเป็นมาตรฐาน เหมาะสมกับการที่จะนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้อาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ ถ้าสงสัยในเรื่องความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ เนื่องจากสร้างไว้นานแล้วก็อาจนำมาทดลองใช้และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่ามีความเชื่อมั่นเข้าเกณฑ์ก็นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมที่เป็นแบบแผนก็จะตัดตอนนี้ออกไปได้
6. เลือกกลุ่มตัวอย่าง ในกรณีที่ไม่ได้ศึกษาจากประชากร แต่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ก็ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตามวิธีที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 3 ในการวิจัยบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ก็จะตัดขั้นตอนนี้ออก
7. จัดกระทำข้อมูล โดยอาจนำจัดเข้าตาราง วิเคราะห์ด้วยสถิติ ทดสอบสมมุติฐาน หรือนำมา
วิเคราะห์ตามทฤษฎีต่าง ๆ ตามวิธีการของการวิจัยเรื่องนั้น
8. ตีความผลการวิเคราะห์ จากผลการวิเคราะห์ในขั้นที่ 7 ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์
9. เขียนรายงานการวิจัย และจักพิมพ์ ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยประเภทนั้น ๆ เพื่อให้คนอื่นได้ศึกษา

Code of Ethics of Teaching Profession

จรรยาบรรณวิชาชีพครู

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

ความหมาย
จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ

ความสำคัญ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ

๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
๓. พัฒนาวิชาชีพ

ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครู จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการ คือ

๑. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
๒. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
๓. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
๔. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
ครูต้องไม่แสดดงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย


ที่มา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE1 ครูต้องรักและเมตตาศิษยE โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษยEดยเสมอหน้า
หลักการ

การแสดงออกของบุคคลในทางที่ดีเป็นผลมาจากสภาวะจิตใจที่ดีงาม และความเชื่อถือที่ถูกต้องของบุคคล บุคคลที่มีความรักและเมตตาย่อมแสดงออกด้วยความปรารถนาในอันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อบุคคลอื่น มีความสุภาพ ไตร่ตรองถึงผลแล้วจึงแสดงออกอย่างจริงใจ ครูจึงต้องมีความรักและเมตตาต่อศิษยEยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลให้พฤติกรรมที่ครูแสดงออกต่อศิษยE เป็นไปในทางสุภาพ เอื้ออาทร ส่งผลดีต่อศิษยEนทุกEด้าน

คำอธิบาย

ครูต้องรักและช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษยEดยเสมอหน้า หมายถึง การตอบสนองต่อความต้องการ ความถนัด ความสนใจของศิษยEย่างจริงใจ สอดคล้องกับการเคารพ การยอมรับ การเห็นอกเห็นใจ ต่อสิทธิพื้นฐานของศิษยEนเป็นที่ไว้วางใจเชื่อถือและชื่นชมไดE รวมทั้งเป็นผลไปสู่การพัฒนารอบด้านอย่างเท่าเทียมกัน

พฤติกรรมสำคัญ

1. สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษยE แต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น

1) ให้ความเป็นกันเองกับศิษยEbr> 2) รับฟังปัญหาของศิษยEละให้ความช่วยเหลือศิษยEbr> 3) ร่วมทำกิจกรรมกับศิษยEป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
4) สนทนาไต่ถามทุกขEุขของศิษยEbr> ฯลฯ

2. ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษยEนทางสร้างสรรคE ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของศิษยEต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น

1) สนใจคำถามและคำตอบของศิษยEุกคน
2) ให้โอกาสศิษยEต่ละคนได้แสดงออกตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
3) ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของศิษยEbr> 4) รับการนัดหมายของศิษยEกี่ยวกับการเรียนรู้ก่อนงานอื่นEbr> ฯลฯ

3. เสนอและแนะแนวทางการพัฒนาของศิษยEต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษยE ตัวอย่างเช่น

1) มอบหมายงานตามความถนัด
2) จัดกิจกรรมหลากหลายตามสภาพความแตกต่างของศิษยEพื่อให้แต่ละคนประสบความสำเร็จเป็นระยะE อยู่เสมอ
3) แนะแนวทางที่ถูกให้แก่ศิษยEbr> 4) ปรึกษาหารือกับครู ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียน เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาของศิษยEbr> ฯลฯ

4. แสดงผลงานที่ภูมิใจของศิษยEต่ละคน และทุกคนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตัวอย่างเช่น

1) ตรวจผลงานของศิษยEย่างสม่ำเสมอ
2) แสดงผลงานของศิษยEนห้องเรียน (ห้องปฏิบัติการ)
3) ประกาศหรือเผยแพร่ผลงานของศิษยEี่ประสบความสำเร็จ
ฯลฯ



ที่มา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE2 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรูE ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษยE อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิEจ
หลักการ

ครูที่ดีต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศิษยEห้เจริญได้อย่างเต็มศักยภาพ และถือว่าความรับผิดชอบของตนจะสมบูรณE็ต่อเมื่อศิษยEด้แสดงออกซึ่งผลแห่งการพัฒนานั้นแล้ว ครูจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับศักยภาพของศิษยEต่ละคนและทุกคน เลือกกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาตามศักยภาพนั้นE ดำเนินการให้ศิษยEด้ลงมือทำกิจกรรมการเรียน จนเกิดผลอย่างแจ้งชัด และยังกระตุ้นยั่วยุให้ศิษยEุกคนได้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อความเจริญงอกงามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

คำอธิบาย

ครูต้องอบรมสั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษยEย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิEจ หมายถึงการดำเนินงานตั้งแต่การเลือกกำหนดกิจกรรมการเรียนที่มุ่งผลต่อการพัฒนาในตัวศิษยEย่างแท้จริง การจัดให้ศิษยEีความรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของการเรียนรูE ตลอดจนการประเมินร่วมกับศิษยE ในผลของการเรียนและการเพิ่มพูนการเรียนรู้ภายหลังบทเรียนต่างE ด้วยความปรารถนาที่จะให้ศิษยEต่ละคนและทุกคนพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพและตลอดไป

พฤติกรรมสำคัญ

1. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษยEย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ ตัวอย่างเช่น

1) สอนเต็มเวลา ไม่เบียดบังเวลาของศิษยEปหาผลประโยชนE่วนตน
2) เอาใจใสEอบรม สั่งสอนศิษยEนเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน
3) อุทิศเวลาเพื่อพัฒนาศิษยEามความจำเป็นและเมหาะสม
4) ไม่ละทิ้งชั้นเรียนหรือขาดการสอน
ฯลฯ

2. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษยEย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างเช่น

1) เลือกใช้วิธีการที่หลากหลายในการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของศิษยEbr> 2) ให้ความรู้โดยไม่ปิดบัง
3) สอนเต็มความสามารถ
4) เปิดโอกาสให้ศิษยEด้ฝึกปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ
5) สอนเต็มความสามารถและด้วยความเต็มใจ
6) กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย พัฒนาขึ้น
7) ลงมือจัด เลือกกิจกรรมที่นำสู่ผลจริงEbr> 8) ประเมิน ปรับปรุง ให้ได้ผลจริง
9) ภูมิใจเมื่อศิษยEัฒนา
ฯลฯ

3. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษยE้วยความบริสุทธิEจ ตัวอย่างเช่น

1) สั่งสอนศิษยEดยไม่บิดเบือนหรือปิดบัง อำพราง
2) อบรมสั่งสอนศิษยEดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3) มอบหมายงานและตราวจผลงานด้วยความยุติธรรม
ฯลฯ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE3 ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษยEั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
หลักการ

การเรียนรู้ในด้านค่านิยามและจริยธรรมจำเป็นต้องมีตัวแบบที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนยึดถือและนำไปปฎิบัติตาม ครูที่ดีจึงถ่ายทอดค่านิยมและจริยธรรมด้วยการแสดงตนเป็นตัวอย่างเสมอ การแสดงตนเป็นตัวอย่างนี้ถือว่าครูเป็นผู้นำในการพัฒนาศิษยEย่างแท้จริง

คำอธิบาย

การประพฤติปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออกอย่างสม่ำเสมอของครูที่ศิษยEามารถสังเกตรับรู้ได้เอง และเป็นการแสดงที่เป็นไปตามมาตรฐานแห่งพฤติกรรมระดับสูงตามค่านิยม คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม

พฤติกรรมสำคัญ

1. ตระหนักว่าพฤติกรรมการแสดงออกของครูมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของศิษยEยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น

1) ระมัดระวังในการกระทำ และการพูดของตนเองอยู่เสมอ
2) ไม่โกรธง่ายหรือแสดงอารมณEุนเฉียวต่อหน้าศิษยEองโลกในแง่ดี
ฯลฯ

2. พูดจาสุภาพและสร้างสรรคEดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศิษยEละสังคม ตัวอย่างเช่น

1) ไม่พูดคำหยาบหรือก้าวร้าว
2) ไม่นินทาหรือพูดจาส่อเสียด
3) พูดชมเชยให้กำลังใจศิษยE้วยความจริงใจ
ฯลฯ

3. กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี สอดคล้องกับคำสอนของตน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ตัวอย่างเช่น

1) ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดีอยู่เสมอ
2) แต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ
3) แสดงกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ
4) ตรงต่อเวลา
5) แสดงออกซึ่งนิสัยที่ดีในการประหยัด ซื่อสัตยEอดทน
6) สามัคคี มีวินัย
7) รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อม
ฯลฯ

แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE4 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษE่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณE และสังคมของศิษยE/h3>
หลักการ

การแสดงออกของครูใดE ก็ตามย่อมมีผลในทางบวกหรือลบ ต่อความเจริญเติบโตของศิษยE เมื่อครูเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการพัฒนาทุกE ด้านของศิษยE จึงต้องพิจารณาเลือกแสดงแต่เฉพาะการแสดงที่มีผลทางบวก พึงระงับและละเว้นการแสดงใดE ที่นำไปสู่การชลอหรือขัดขวางความก้าวหน้าของศิษยEุกE ด้าน

คำอธิบาย

การไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษE่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณE และสังคมของศิษยEหมายถึง การตอบสนองต่อศิษยEนการลงโทษหรือให้รางวัลหรือการกระทำอื่นใดที่นำไปสู่การลดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และการเพิ่มพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา

พฤติกรรมสำคัญ

1. ละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษยEกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณEละสังคมของศิษยE ตัวอย่างเช่น

1) ไม่นำปมด้อยของศิษยEาล้อเลียน
2) ไม่ประจานศิษยEbr> 3) ไม่พูดจาหรือกระทำการใดE ที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาหรือข้อบกพร่องของศิษยEbr> 4) ไม่นำความเครียดมาระบายต่อศิษยE ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือสีหน้า ท่าทาง
5) ไม่เปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่ของศิษยEbr> 6) ไม่ลงโทษศิษยEกินกว่าเหตุ
ฯลฯ

2. ละเว้นการกระทำที่เป็นอันตราต่อสุขภาพและร่างกายของศิษยE ตัวอย่างเช่น

1) ไม่ทำร้ายร่างกายศิษยEbr> 2) ไม่ลงโทษศิษยEกินกว่าระเบียบกำหนด
3) ไม่จัดหรือปล่อยปละละเลยให้สภาพแวดล้อมเป็นอันตรายต่อศิษยEbr> 4) ไม่ใช่ศิษยEำงานเกินกำลังความสามารถ
ฯลฯ

3. ละเว้นการกระทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณEจิตใจ และสังคมของศิษยE ตัวอย่างเช่น

1) ไม่ตัดสินคำตอบถูกผิดโดยยึดคำตอบของครู
2) ไม่ดุด่าซ้ำเติมศิษยEี่เรียนช้า
3) ไม่ขัดขวางโอกาศให้ศิษยEด้แสดงออกทางสร้างสรรคEbr> 4) ไม่ตั้งฉายาในทางลบให้แก่ศิษยE/p>


แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE5 ครูต้องไม่แสดดงหาประโยชนEันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษยEนการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษยEระทำการใดE อันเป็นการหาประโยชนEห้แก่ตนโดยมิชอบ
หลักการ

การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในวิชาชีพแสวงหาประโยชนEนโดยมิชอบ ย่อมทำให้เกิดความลำเอียงในการปฏิบัติหน้าทีE สร้างความไม่เสมอภาคนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาในบุคคลและวิชาชีพนั้น ดังนั้น ครูจึงต้องไม่แสวงหาประโยชนEันมิควรได้จากศิษยE หรือใช้ศิษยEห้ไปแสวงหาประโยชนEห้แก่คนโดยมิชอบ

คำอธิบาย

การไม่แสวงหาประโยชนEันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษยE ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษยEระทำการใดE อันเป็นการหาประโยชนEห้แก่ตนโดยมิชอบ หมายถึง การไม่กระทำการใดE ที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนเกินสิทธิที่พึงได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามปกติ

พฤติกรรมสำคัญ

1. ไม่รับหรือแสวงหาอามิสสินจ้างหรือผลประโยชนEันมิควรจากศิษยE ตัวอย่างเช่น

1) ไม่หารายได้จากการนำสินค้ามาขายให้ศิษยEbr> 2) ไม่ตัดสินผลงานหรือผลการเรียน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยน
3) ไม่บังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ศิษยEาเรียนพิเศษเพื่อหารายไดEbr> ฯลฯ

2. ไม่ใช้ศิษยEป็นเครื่องมือหาประโยชนEห้กับตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความรู้สึกของสังคม ตัวอย่างเช่น

1) ไม่นำผลงานของศิษยEปแสวงหากำไรส่วนตน
2) ไม่ใช้แรงงานศิษยEพื่อประโยชนE่วนตน
3) ไม่ใช้หรือจ้างวานศิษยEปทำสิ่งผิดกฎหมาย
ฯลฯ

จรรยาบรรณข้อทีE6 ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศนE ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
หลักการ

สังคมและวิทยาการมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ครูในฐานะผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษยE จึงต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต

คำอธิบาย

การพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศนE ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ หมายถึง การใฝ่รูE ศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรคEวามร้ใหม่ให้ทันสมัย ทันเหตุการณE และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและวิสัยทัศนE/p>

พฤติกรรมสำคัญ

1. ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรคEวามรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น

1) หาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่างEอยู่เสมอ
2) จัดทำและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างE ตามโอกาส
3) เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา หรือฟังการบรรยาย หรืออภิปรายทางวิชาการ
ฯลฯ

2. มีความรอบรูEทันสมัย ทันเหตุการณE สามารถนำมาวิเคราะหE กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น

1) นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
2) ติดตามข่าวสารเหตุการณE้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเมืองอยู่เสมอ
3) วางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
ฯลฯ

3. แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น

1) รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
2) มีความเชื่อมั่นในตนเอง
3) แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
4) มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคม
ฯลฯ


จรรยาบรรณข้อทีE7 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององคEรวิชาชีพครู
หลักการ

ความรักและเชื่อมั่นในอาชีพของตนย่อมทำให้ทำงานอย่างมีความสุขและมุ่งมั่น อันจะส่งผลให้อาชีพนั้นเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ดังนั้นครูย่อมรักและศรัทธาในอาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององคEรวิชาชีพครูด้วยความเต็มใจ

คำอธิบาย

ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององคEรวิชาชีพครู หมายถึง การแสดงออกด้วยความชื่นชมและเชื่อมั่นในอาชีพครูด้วยตระหนักว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ครูพึงปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและภูมิใจ รวมทั้งปกป้องเกรียติภูมิของอาชีพครู เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนองคEรวิชาชีพครู

พฤติกรรมสำคัญ

1. เชื่อมั่น ชื่นชม ภูมิใจในความเป็นครูและองคEรวิชาชีพครู ว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ตัวอย่างเช่น

1) ชื่นชมในเกียรติและรางวัลที่ได้รับและรักษาไว้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
2) ยกย่องชมเชยเพื่อนครูที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการสอน
3) เผยแพร่ผลสำเร็จของตนเองและเพื่อนครู
4) แสดงตนว่าเป็นครูอย่างภาคภูมิ
ฯลฯ

2. เป็นสมาชิกองคEรวิชาชีพครูและสนับสนุนหรือเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู ตัวอย่างเช่น

1) ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดขององคEร
2) ร่วมกิจกรรมที่องคEรจัดขึ้น
3) เป็นกรรมการหรือคณะทำงานขององคEร
ฯลฯ

3. ปกป้องเกียรติภูมิของครูและองคEรวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น

1) เผยแพร่ประชมสัมพันธEลงานของครูและองคEรวิชาชีพครู
2) เมื่อมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวงการวิชาชีพครูก็ชี้แจงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
ฯลฯ

จรรยาบรรณข้อทีE8 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรคE/h3>
หลักการ

สมาชิกของสังคมใดพึงผนึกกำลังกันพัฒนาสังคมนั้นและเกื้อกูลสังคมรอบข้าง ในวงวิชาชีพครู ผู้ประกอบอาชีพครูพึงร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยความเต็มใจ อันจะยังผลให้เกิดพลังและศักยภาพในการพัฒนาวิชาชีพครู และการพัฒนาสังคม

คำอธิบาย

การช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรคE หมายถึง การให้ความร่วมมือ แนะนำปรึกษาช่วยเหลือแก่เพื่อนครูทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และการงานตามโอกาสอย่างเหมาะสม รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยการให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

พฤติกรรมสำคัญ

1. ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น

1) ให้คำปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ
2) ให้คำแนะนำการผลิตสื่อการเรียนการสอน
ฯลฯ

2. ให้ความช่วยเหลือด้านทุนทรัพยE สิ่งของแด่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น

1) ร่วมงานกุศล
2) ช่วยทรัพยEมื่อเพื่อนครูเดือนร้อน
3) จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ฯลฯ

3. เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ตัวอย่างเช่น

1) แนะแนวทางการป้องกัน และกำจัดมลพิษ
2) ร่วมกิจกรรมตามประเพณีของชุมชน
ฯลฯ


จรรยาบรรณข้อทีE9 ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษEละพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
หลักการ

หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการศึกษาคือ การพัฒนาคนให้มีภูมิปัญญา และรู้จักเลือกวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ในฐานะที่ครูเป็นบุคลากรสำคัญทางการศึกษา ครูจึงควรเป็นผู้นำในการอนุรักษEละพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

คำอธิบาย

การเป็นผู้นำในการอนุรักษE และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย หมายถึง การริเริ่มดำเนินกิจกรรม สนับสนุนส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย โดยรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะหEลือกสรร ปฏิบัติตนและเผยแพร่ศิลปะ ประเพณี ดนตรี กีฬา การละเล่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การดำรงชีวิตตนและสังคม

พฤติกรรมสำคัญ

1. รวบรวมข้อมูลและเลือกสรรภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เหมาะสมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น

1) เชิญบุคคลในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากร
2) นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการเรียนการสอน
3) นำศิษยEปศึกษาในแหล่งวิทยาการชุมชน
ฯลฯ

2. เป็นผู้นำในการวางแผน และดำเนินการเพื่ออนุรักษEละพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น

1) ฝึกการละเล่นท้องถิ่นให้แก่ศิษยEbr> 2) จัดตั้งชมรม สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3) จัดทำพิพิธภัณฑEนสถานศึกษา
ฯลฯ

3. สนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น

1) รณรงคEารใช้สินค้าพื้นเมือง
2) เผยแพร่การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
3) ร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น
ฯลฯ

4. ศึกษาวิเคราะหE วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น

1) ศึกษาวิเคราะหEกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ตำนานและความเชื่อถือ
2) นำผลการศึกษาวิเคราะห์

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). เพื่อชุมชนแห่งการศึกษาและบรรยากาศแห่งวิชาการ. (คุณธรรมของครู อาจารย์ และผู้บริหาร). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๐.

พระราชวรมุนี. (ประยูร ธมมจิตโต). ขอบฟ้าแห่งความรู้. (ปาฐกถา ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เนื่องในวันครบรอบ ๔๐ ปี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐) : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

วัลลภ ตังคณานุรักษ์. ครูของครูหยุย. (บรรยายพิเศษเนื่องในวันครู ๑๗ มกราคม ๒๕๓๗) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

วิจิตร ศรีสอ้าน. การยกสถานภาพของครูในกระแสโลกาภิวัตน์. (บรรยายพิเศษเนื่องในวันครู ๑๖ มกราคม ๒๕๓๘) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, กองวิชาชีพครู. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ.๒๕๓๗. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.

------------. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ.๒๕๓๙. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๐.

หนังสืออ่านประกอบ

เทพรัตนราชสุดาฯ. สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (ทรงแปลและเรียบเรียง). เมฆหินน้ำไหล.

"ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ด้วย ๕ แนวคิดหลัก". วารสารครุศาสตร์. ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๑ (กรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๔๐) ๑-๑๐๓.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. ความฝันของแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.

------------. ความจริงของแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เจ.ฟิลม์โปรเซส จำกัด, ๒๕๔๑

เอกสารอื่นตามที่ผู้สอนแนะนำ เช่น

ชูชีพ บุญญานุภาพ. เชิงผาหิมพานต์.

จริยธรรมในวิชาชีพ


โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ
ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่มา : ชุดบทความประกอบการสัมมนา เรื่อง "จริยธรรมในวิชาชีพ"
วันที่ ๒๖ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๑ ห้องราชเทวีแกรนด์บอลรูม
โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ

โดยการสนับสนุนของ
สำนักงานกองทุนสนัุบสนุนการวิจัย (สกว.)



***

คำว่า "วิชาชีพ (profession)" นั้น มีผู้อธิบายความหมายไว้คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันดังนี้ วิลเบอร์ต อี. มัวร์ (Wilbert E. Moore) อธิบายว่า วิชาชีพคือ การประกอบอาชีพเต็มเวลา โดยผู้ประกอบวิชาชีพ (professional) อุทิศเวลาให้แก่อาชีพนั้น ๆ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน และมักมีการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ อันเป็นผลมาจากการที่ได้รับการฝึกอบรม หรือการศึกษาตรงตามสาขาที่ประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ของการประกอบวิชาชีพ ปฏิบัติงานและให้บริการด้วยจิตสำนึกในวิชาชีพ ตลอดจนมรความเป็นอสระในการประกอบวิชาชีพ อันเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพของตนในระดับสูง (๑)

ความหมายของคำว่า "วิชาชีพ" ตามที่มัวร์ได้อธิบายไว้นี้ ค่อนข้างจะคล้ายคลึงกับความหมายที่ตินปรัชญ์พฤทธิ์ได้ให้ไว้ในหนังสือชื่อ "วิชาชีพนิยมของระบบราชการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าิอยู่หัว" โดยเน้นว่า ความเป็นวิชาชีพ หรือวิชาชีพนิยม (professionalism) นั้น หมายถึงสิ่งที่กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยึดถือว่า องค์ควารู้ หรือความรอบรู้เกี่ยวกับอาชีของตนมีค่า และพยายามผลักดันให้สาธารณชนยอมรับสถานภาพอาชีพของตน (๒)

อนึ่ง คำว่า "profession" ที่แปลว่า "วิชาชีพ" นี้ได้รับการแปลความหมายในพจนานุกรม Oxford Advanced Learner's Dictionary ไว้ดังนี้ "profession: paid occupation especially one that requires advanced education and training" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "วิชาชีพ หมายถึง อาชีพที่ได้รับค่าตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเป็นอาชีพที่ต้องการการศึกษา และการฝึกอบรมในระดับสูง" (๓) ซึ่งก็ตรงกับที่ ส.เสถบุตร ได้อธิบายคำแปลของคำว่า "profession" ไว้ในพจนานุกรม New Modern English-Thai Dictionary ว่า คำว่า "profession" นั้น หมายถึง "อาชีพที่ใช้การศึกษาสูง เช่น ทนายความแพทย์ วิศวกร ครู ฯลฯ" ยังมีคำอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนมีความหมายว่า "อาชีพ" แต่ไม่ใช่วิชาชีพ ได้แก่คำว่า "career" ซึ่งแปลว่าอาชีพ แต่ไม่ใช่วิชาชีพ คำว่า "trade" ซึ่งหมายถึงอาชีพทั่ว ๆ ไป รวมทั้งการค้า แต่ไม่รวมการกสิกรรม และยังมีกิจวัตรอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นอาชีพ หรือไม่เป็นอาชีพก็ได้ ดังนี้ avocation, calling, employment, occupation, pursuit, voaction โดยทั่ว ๆ ไปคำเหล่านี้แปเป็นาษาไทยว่าอาชีพทั้งสิ้น (๔) ดังนั้น จึงขพอสรุปได้ว่า คำว่า "วิชาชีพ" นั้น มีคำแปลคำเดียยในภาษาอังกฤษคือคำว่า "profession"

นอกจากนี้ ติน ปรัชญพฤทธิ์ ยังเสนอเกณฑ์ของวิชาชีพนิยมในระดับมหภาค (ทั้งตามแนวทางประวัติศาสตร์ และแนวทางที่มิใช่ประวัติศาสตร์" และระดับจุลภาค หรือระดับบุคคล ดังต่อไปนี้



เกณฑ์ของวิชาชีพนิยมในระดับมหภาค

แนวตามประวัติศาสตร์

๑. การประกอบอาชีพเต็มเวลา
๒. การจัดแผนงานการศึกษาโดยสมาคมวิชาชีพ
๓. การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพ และการออกกฎหมายรับรองสถานสภาพของวิชาชีพ
๔. การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
๕. การมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ
๖. การเป็นที่ยอมรับของสังคม
๗. การมีความรอบรู้ในวิชาชีพ
๘. การให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ
๙. การมีความเป็นอิสระในวิชาชีพ

เกณฑ์ของวิชาชีพในระดับจุลภาคหรือระดับบุคคล

๑๐. การได้รับการศึกษาตรงตรามสาขาวิชาที่ประกอบอาชีพ
๑๑. การมีผู้คอยสนับสนุนในการประกอบอาชีพ
๑๒. การมีการวางแผนล่วงหน้าที่จะประกอบอาชีพ
๑๓. การมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน
๑๔. การมีความกระตือรือล้นในวิชาชีพ
๑๕. การประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
๑๖. การมีความจงรักภักดีและความผูกพันต่อวิชาชีพ
๑๗. การมองเห็นอนาคตในการประกอบวิชาชีพ
๑๘. การมีความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตน (๕)



จากเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่ามีหลายข้อที่คล้ายคลึงกับคำจำกัดความของคำว่า "วิชาชีพ" ตามที่มัวร์ได้ระบุได้ นอกจากนี้ ติน ปรัชญพฤทธิ์ ไ้ด้่เน้นความสำคัญของการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพ และการออกกฎหมายรับรองสถานภาพของวิชาชีพว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะสมาคมวิชาชีพจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายของสมาคม ในการกำหนดหลักจริยธรรมของวิชาชีพนั้น ๆ ต่อไป

นักวิชาการอีกผู้หนึ่งคือ ทาลคอทท์ พาร์สันส์ (Talcott Parson) ได้เน้นความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ซึ่งความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพตามทรรศนะของพาร์สัน นั้น มีลักษณะเดียวกับคุณสมบัติของ "มนุษย์สมัยใหม่" (modern man)" ในสังคมยุคปัจจุบันเป็นอันมาก (๖) กล่าวคือ "มนุษย์สมัยใหม่" จะต้องมีศรัทธาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ในการมีอำนาจเหนือธรรมชาติ วางแผนชีวิตไว้ล่วงหน้า ตรงเวลา สม่ำเสมอ และเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการดำเนินชีวิตกิจการทั้งหลายทั้งปวงเป็นปัจเจกชนที่พึ่งตนเองได้ อ่านหนังสือพิมพ์ ชอบอยู่ในเมืองใหญ่ ใช้ความสำเร็จของตนเองเป็นบันได้ในการเลื่อนชั้นทางสังคม และที่สำคัญคือต้องมีการศึกษาดี เพราะการศึกษานั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์สมัยใหม่ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ (๗)

สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่าคนไทยเริ่มรู้จักคำว่า "วิชาชีพ" เป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และวิชาีชีพแรกที่คนไทยรู้จักก็คือวิชาชีพข้าราชการ จะเห็นได้่จากการที่พระองค์ทรงปฏิรูปโครงสร้างของระบบราชการ ตลอดนจนการบริหารประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ ดังที่เราทราบกันดีว่า พระองค์ทรงดำเนินนโยบายตามพระราชบิดาของพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการปรับปรุงประเทศให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราช์นั้น ตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์ใน พ.ศ.๒๔๑๑ จนถึง พ.ศ.๒๔๕๓ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระองค์

ดังนั้น คำว่า "วิชาชีพ" (profession) จึงเริ่มช้กันเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงวิชาชีพข้าราชการ และการประกอบวิชาชีพ นั้น หมายถึง การประกอบวิชาชีพข้าราชการนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทรงปฏิรูปการปกครองประเทศ และก่อให้เกิดการมีวิชาชีพข้าราชการนั้น สืบเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยภายใน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา อำนาจในการปกครองประเทศส่วนใหญ่ตกอยู่กับกลุ่มตระกูลบุนนาค ซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต้นตระกูลบุนนาค เป็นผู้นำบุคคลในตระกูลนี้หลายคน ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในวงราชการขณะนั้นแทบทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่พระองค์จะต้องทรงดำเนินการดึงอำนาจกลับสู่ถาบันพระมหากษัตริย์

ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเข้ามาในประเทศไทยก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวคิดตะวันตก ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ตลอดจนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทย ในการปรับปรุงประเทศหลายประการ อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านั้น มิได้จำกัดอยู่ในแวดวงชนชั้นสูงกลุ่มเดียวเท่านั้น หากแต่ได้ขยายสู่สามัญชนด้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา มีคนไทยจำนวนหนึ่งไปศึกษาอบรม ดูงาน ในประเทศตะวันตก และได้รับอิทธิพลทางความคิดจากต่างประเทศมาไม่น้อย จึงหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปในแนวทางแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้น ภัยของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกก็เป็นสิ่งที่ตระหนักกันโดยทั่วไป ทั้งในหมู่ชนชั้นสูง และสามัญชนโดยทั่วไป ประเทศในเอเชียหลายประเทศได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา

ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว รัชกาลที่ ๕ จึงทรงปรับปรุงประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางตะวันตก และการปรับปรุงประเทศที่สำคัญคือ การปฏิรูปการปกครองและระบบราชการ ทั้งนี้โดยตรงมุ่งหวังที่จะพัฒนาวิชาชีพนิยมระบบราชการ และข้าราชการไทยให้มีความเข้มแข็ง และมีความรู้พอที่จะต่อสู่กับศัตรูจากภายนอกประเทศได้ การปรับปรุงประเทศที่สำคัญก็คือ การปฏิรูปการปกครองและระบบราชการ ซึ่งผลสำคัญของการปฏิรูประบบราชการนี้ อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประการ ดังนี้

๑. ทำให้อาชีพข้าราชการกลายเป็นวิชาชีพขึ้น ทั้งนี้ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่าวิชาชีพ คือ การประกอบอาชีพเต็มเวลา และมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับวิชาชีพนี้เริ่มขึ้นในประเทศตะวันตก เมื่อมีความเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจจากระบบการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นระบบทุนนิยม และสำหรับในประเทศไทยนั้นเมื่อเวลาผ่านไป คำว่าวิชาชีพนี้ก็ได้ขยายขอบเขตไปผนวกวิชาชีพอื่น ๆ เข้าไว้ด้วย

๒. ทำให้เกิดมีสิ่งที่เรียกว่า "จรรยาบรรณวิชาชีพ" หรือในงานวิจัยนี้จะใช้คำว่า "จริยธรรมในวิชาชีพ" ขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพข้าราชการขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เหตุที่ในงานวิจัยนี้จะใช้คำว่า "จริยธรรมในวิชาชีพ" แทนคำว่า "จรรยาบรรณวิชาชีพ" นั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่า "จรรยาบรรณ" นั้น เป็นการนำเอาคำว่า "จริย" มาสมาสกับคำว่า "บรรณ" ตามความหมายแล้วน่าจะแปลว่า "หนังสือจรรยา" มิใช่หลักแห่ความประพฤติตามที่มีผู้นำมาใช้กับวิชาชีพต่าง ๆ ประสงค์จะให้เป็นเช่นนั้น และอันที่จริงแล้ว คำว่า "จรรยาบรรณ" เป็นคำที่เกิดภายหลังคำว่า "จริยธรรม" ซึ่งเป็นคำที่เก่ากว่า และมีความหมายตรงกับคำว่า "จรรยาบรรณ" และเนื่องจากคำว่า "จริยธรรม" นั้น ได้มีผู้นิยามความหมายไว้มากมาย จึงจะขอยกความหมายทั่ว ๆ ไปพอสังเขปดังต่อไปนี้

พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส อินฺทปญโญ) กล่าวว่าจริยธรรมแปลว่า เป็นสิ่งที่พึงประพฤติ จะต้องประพฤติ ส่วนศีลธรรมนั้นหมายถึง สิ่งที่กำลังประพฤติอยู่ หรือประพฤติแล้ว จริยธรรม หรือ ethics อยู่ในรูปของปรัชญา คือ สิ่งที่ต้องคิดต่้องนึก ส่วนเรื่องศีลธรรมหรือ morality นี้ต้องทำอยู่จริง ๆ เพราะเป็นปัญหาเฉพาะหน้า (๙)

พระราชวรมุณี (ประยุทธ ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายของคำว่า "จริยธรรม" ไว้ว่า จริยธรรม มาจากคำว่าพรหมจรรย์ ซึ่งในพุทธศาสนาหมายถึง มรรค คือ วิธีการปฏิบัติสายกลาง ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ บางครั้งก็เรียกว่า "ไตรสิกขา" คือ การศึกษา ๓ ประการ อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา่ ดังนั้น จริยธรรม หรือพรหมจรรย์ มรรค และไตรสิกขา ทั้งหมดนี้เป็นทางปฏิบัติเพื่อนำมนุษย์ไปสู่จุดหมายในชีวิต (๑๐)

ระวี ภาวิไล ให้ความหมายว่า ชีวิตคือการมีคนและมีโลกสัมพันธ์กัน จริยธรรมเป็นหลักกำหนดว่า ตนมุ่งอะไรในโลก และพึงปฏิบัติอย่างไร จึงแบ่งจริยธรรมออกเป็น ๓ ข้อ คือ ๑) รู้จักโลก รู้จักตน ๒) รู้จักทุกข์ รู้จักชีวิต ๓) รู้จักทุกข์ในชีวิต (๑๑)

วิทย์ วิศทเวทย์ อธิบายว่า จริยธรรม คือ ความประพฤติตามค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยใช้วิชาจริยศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมด้านคุณค่า สามารถวิเคราห์ค่านิยมที่เป็นคู่กัน (dichotomy) สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งมดดี ควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น (๑๒)

สาโรช บัวศรี กล่าวว่า จริยธรรม คือ หลักความประพฤติที่อบรมกิริยา และปลูกฝังลักษณะนิสัยให้อยู่ในครรลองของคุณธรรมหรือศีลธรรม (๑๓)

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มีความเห็นว่า จริยธรรมคือสิ่งที่คนในสังคมเกิดความเชื่อถือ ซึ่งมีตัวตนมาจาก ปรมัตถสัจจะ ในลัมธิศาสนาอื่น ๆ ถ้าเข้าใจปรมัตถสัจจะชัดแจ้ง และประพฤติตามนั้น จริยธรรมในสังคมย่อมเป็นผลพลอยได้ ให้บังเิกิดความยุติธรรม ความเมตตาปรานี และความเป็นอิสระแก่กัน แต่ความลำบากอยู่ตรงที่เมื่อยังเข้าไม่ถึงตัวปรมัตถสัจจะ การตีความในเรื่องปรมัตถให้ชัดแจ้งเป็นไปได้ยาก แม้เข้าใจชัดก็น่ามาปฏิบัติให้เต็มภาคภูมิได้ยาก (๑๔)

จำรัส ดวงธิสาร กล่าวว่า จริยธรรมมีความหมายตามหลักพระพุทธศาสนาว่าเส้นบรรทัด และเครื่องกล่อมเกลาให้มนุษย์เคลื่อนไหว ประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา และใจอย่างมีกติกา (๑๕)

สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า จริยธรรม คือ ธรรมจริยา ซึ่งหมายถึง คำสอนเกี่ยวกับความประพฤติ และท่านใช้คำว่า "จริยธรรมของหนังสือพิมพ์" แทนคำว่า "จรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์" ในหนังสือของท่าน ซึ่งกล่าวถึงหลักความประพฤติของนักหนังสือพิมพ์ (๑๖)

ก่อ สวัสดิพาณิชย์ สรุปว่า จริยธรรม คือประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งดีงามและเหมาะสม จริยธรรมในสมัยก่อนและสมัยปัจจุบัน ในชนชทและในเมืองก็มีทั้งที่ดีและเลวเหมือนกัน (๑๗)

ดังนั้น หากจะกล่าวโดยสรุป นักวิชาการส่วนใหญ่เหล่านี้ลงความเห็นว่า จริยธรรม คือ หลักการที่มนุษย์ในสังคมยึดถือปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมนั่นเอง และเมื่อนำไปใช้กับการประกอบวิชาชีพ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการทำงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ก็ย่อมหมายความว่า มนุษย์ย่อมจะต้องมีจริยธรรมในการทำงาน หรือการประกอบวิชาชีพ เพราะในการทำงาน มนุษย์ย่อมต้องมีสังคมซึ่งประกอบด้วยคนหลายคน เนื่องจากในวงการของการทำงานนั้น การทำงานคนเดียว ย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงสมควรมีการวางกรอบให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติ เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสงบสุข

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่จะเกิดคำว่า "วิชาชีพ" ขึ้นในประเทศไทยนั้น คนไทยมิได้มีสิ่งที่เรียกว่า "จรรยาบรรณในวิชาชีพ" หรือ "จริยธรรมในวิชาชีพ" (Code of Ethics)* (คำว่า "จรรยาบรรณ" และคำว่า "จริยธรรม" นั้น แม้รากศัพท์จะมีความหมายต่างกัน แต่โดยความหมายที่นักวิชาการทั่ว ๆ ไปใช้ ก็คือหมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสม และอันที่จริงแล้ว ถ้าพิจารณาตามรากศัพท์ คำว่า "จริยธรรม" ดูจะมีความหมายตรงกับคำว่า "หลักแห่งความประพฤติ" มากกว่าคำว่า "จรรยาบรรณ" เสียอีก เพราะคำว่า "จรรยาบรรณ" แปลว่า หนังสือว่าด้วยเรื่องความประพฤติ ในขณะที่คำว่า "จริยธรรม" (จริย+ธรรม) แปลว่า ธรรมอันบุคคลพึงปฏิบัติ ดังนั้น ในบทความทุกเรื่องในชุด "จริยธรรทวิชาชีพ" นี้ จึงจะขอใช้คำว่า "จริยธรรมในวิชาชีพ" เพราะให้ความหมายที่ตรงกว่า ยกเว้นในการณีการอ้างข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ) ในลักษณะเดียวกับจริยธรรมในวิชาชีพของประเทศตะวันตก เนื่องจากว่าในประเทศตะวันตกนั้น จริยธรรมในวิชาชีพเป็นผลพวงของการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นเป็้นส่วนใหญ่ ครั้นเมื่องมีการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นแล้ว บุคคลในวิชาชีพนั้น ๆ นั่นเองที่เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการมีจริยธรรมในวิชาชีพขึ้น เพื่อยกฐานะวิชาชีพของตนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ดังตัวอย่างของจรรยาแพทย์ที่เรียกว่า Hippocratic Oath ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยบาบิโลน และโรมัน อย่างไรก็ตาม จริยธรรมในวิชาชีพของชาวตะวันตกนั้น มิได้มีบ่อเกิดมาจากการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพแต่เพียงอย่างเดียวเท่่านั้น บางส่วนอาจจะมาจากปรัชญาทางการเมือง อิทธิพลทางศาสนา แนวคิดหรือุดมการ์ของผู้รู้ หรือพระมหากษัตริย์ ความจำเป็นเฉพาะหน้า วินัย ฯลฯ เป็นต้น (๑๘)

สำหรับจริยธรรมวิชาชีพในประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานมาจากหลายแหล่งด้วยกันดังต่อไปนี้

๑. หลักจริยธรรมที่ได้จา่กอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ และราชสวดีธรรม

ทศพิธราชธรรม นั้น แปลตามตัวหมายถึงธรรมของพระมหากษัตริย์ แต่อันที่จริงแล้วเป็นหลักธรรมซึ่งมิใช่พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ควรปฏิบัติ ข้าราชการทั่ว ๆ ไปก็ควรปฏิบัติตามด้วย ได้แก่ ๑) ทาน ๒) ความประพฤติที่ดีงามหรือศีล ๓) การบริจาค หรือการยอมสละผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ๔) ความเป็นคนตรง ๕) ความสุภาพอ่อนโยนต่อชนทั้งปวง ๖) ความเพียร ๗) ความไม่โกรธ ๘) ความไม่เบียดเบียน ๙) ความอดทน และ ๑๐) ความไม่ผิดพลาด

จักรวรรดิวัตร เป็นหลักธรรมที่มีจุดประสงค์ให้พระมหากษัตริย์ และข้าราชการของพระองค์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเมือง ดังต่อไปนี้ ๑) การอบรมให้ผู้อยู่ในปกครองตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ๒) การผูกพันธไมตรีกับต่างประเทศ ๓) การให้รางวัลอันสมควรแก่ผู้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ๔) การเกื้อกูลผู้ทรงศีล เครื่องพรต และไทยธรรม และอนุเคาระห์คฤหบดี ด้วยการให้ความช่วยเหลือในสิ่งจำเป็นสำหรับอาชีพ ๕) การอนุเคราะห์ให้เลี้ยงชีพได้ตามควรแก่อัตภาพ ๖) การให้อุปการะแก่ผู้ทรงศีลที่ประพฤติชอบ ๗) ห้ามการเบียดเบียนสัตว์ ๘) การชักนำให้ชนทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรม ขจัดการทำบาป ทำกรรม และความไม่เป็นธรรม ๙) การให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ขัดสนไม่พอเลี้ยงชีพ ๑๐) การเข้าหาผู้ทรงศีลในโอกาสอันควร เพื่อศึกษาถึงบุญบาป ๑๑) การตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะดำฤาณาในที่ไม่ควร และ ๑๒) การระงับความโลภ ห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่ไม่ควรได้

ราชสังคหวัตถุ คือ หลักธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง และการพัฒนาประเทศหรือรัฐาภิบาล ๑ รัฐประศาสนโยบาย ซึ่งได้แก่ ๑) การบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ๒) การรู้จักดูคน รู้จักใช้คนให้เหมาะกับงาน และให้รางวัลตามสมควรของเขา ๓) การรู้จักแก้ปัญหาสังคมให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ และ ๔) การพูดจาไพเราะ

ราชวสดีธรรม คือ ธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติต่อราชการซึ่งมีทั้งหมด ๔๙ ข้อ และพอจะสรุปออกมาได้เป็น กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ธรรมที่เกี่ยวกับการปฏฺบัติต่อพระราชาโดยตรง ๒) ธรรมเกี่ยวกับการควบคุมตนเอง และ ๓) ธรรมที่เกี่ยวกับการงานโดยตรง ดังตัวอย่างของธรรมเหล่านี้ต่อไปนี้

- เมื่อเข้ารับราชการใหม่ ๆ ยังไม่มีชื่อเสียง และยังมิได้มียศศักดิ์ ก็อย่ากล้าจนเกินพอ และอย่าขลาดกลัวจนเสียราชการ

- ข้าราชการต้องไม่มักง่าย ไม่เลินเล่อเผลอสติ แต่ต้องระมัดระวังให้ดีอยู่เสมอ ถ้าหัวหน้าทราบความประพฤติ สติปัญญา และความซื่อสัตย์ สุจริตแล้ว ย่อมไว้วางใจ และเผยความลับให้ทราบด้วย

- ไม่พึงเห็นแก่หลับนอนจนแสดงให้เห็นเป็นการเกียจคร้าน

- เมื่อพระมหากษัตริย์จะทรงยกย่องพระราชโอรสหรือพระราชวงศ์ โดยพระราชทานบ้าน นิคม รัฐ (นครรัฐ) หรือชนบทให้ครอบครอง ก็ควรนิ่งดูก่อนไม่ควรด่วนเพ็ดทูลคุณหรือโทษ

- ข้าราชการพึงใฝ่ใจเข้าไปหาสมณะและพราหมณีผู้ทรงศีล ผู้เป็นนักปราชญ์ หรือรู้หลักนักปราชญ์ดี เพื่อรักษาศีล ฟังธรรมบ้าง ศึกษาถ่ายทอดเอาความรู้ท่านบ้าง (๑๙) ฯลฯ

๒. หลักจริยธรรมที่ได้จากคำสาบาน กฎหมาย หรือวินัย หลักจริยธรรมที่ได้จากคำสาบานของข้าราชการที่เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็นหลักจริยธรรมที่ได้รับการระบุไว้ในกฎหมาย หรือวินัยของข้าราชการ เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พุทธศักราช ๑๘๙๕ กฎมณเทียรบาล จ.ศ.๗๒๐ ฯลฯ เป็นต้น

หลักจริยธรรมที่่ได้จากคำสาบานของข้าราชการที่เข้ารับตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น คำสาบานของปรีวีเคาน์ซิลลอร์ หรือองคมนตรี ใน พ.ศ.๒๔๑๗

ข้อ ๓ การสิ่งใดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริห์ไว้ในที่ปรีวีเคาน์ซิล ซึ่งยังไม่เป็นการเปิดเผย ข้าพระพุทธเจ้าจะรักษาความข้อนั้นไว้ให้เป็นการลับมิให้แพร่งรายได้

ข้อ ๔ ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ทำการผิด กลับเอาเท็จเป็นจริง เพราะเห็นแก่อามิสสินบล แลผลประโยชน์ในตน แลเพราะเชื่อคำคนยุ ชัำำำกนำให้เสียจากสิ่งที่ตรง

ข้อ ๕ การสั่งใดที่ได้ปฤกษาตกลงกันแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะเอาใจใส่ ช่วยค้ำชูอุดหนุนในการซึ่งปฤกษาตกลงกันนั้น ให้มั่นคงแข็งแรง

หลักจริยธรรมที่ได้จากกฎหมาย หรือวินัยนั้น เป็นหลักการที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกตัวอย่างเช่น

กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พุทธศักราช ๑๘๙๕ มีบทลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดจริยธรรมในหน้าที่ราชการอยู่หลายประการ ดังจะยกตัวอย่างมาพอสังเขปต่อไปนี้

- กระทำเหนือพระราชบัญญัติ

- ขัดพระบัณฑูรพระโองการ

- มิได้กระทำตามตรัส

- เพโทบายเอาแต่เงินทองสิ่งของ ๆ เขาให้เสียราชการ

- ข่มเหงราษฎร

- แปลงพระธรรมนูญ แปลงพระโองการ

- แปลงตราสารสำนวนถ้อยคำ ฯลฯ

การกระทำผิดเหล่านี้ถือว่ามีความผิด และกฎมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดบทลงโทษตามความผิดหนักเบาต่าง ๆ ไว้ ๑๐ สถาน ดังนี้ ๑) ฟันทอริบเรือนเอาเมียเป็นข้า รับทรัพย์สิ่งของเข้าพระคลัง ๒) ตัดมือตัดเท้าจงใส่ตรุไว้ ๓) ทวนด้วยหน้าไม้ หวาย แล้วประจานจำใส่ตรุ ๔) ไหมจัตรุคุณ แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ๕) ไหมตรีคูณ แล้วเอาตัวออกจากราชการ ๖) ไหมตรีคูณ แล้วพระจานสามวัน เจ็ดวันให้พ้นโทษ ๗) ไหมลาหนึ่ง แล้วให้ใช้ของ ๆ เขา ๘) ตัดปาก แหวะปาก เอามะพร้าวห้าวยัดปาก ๙) ภาคยทัณฑ์ไว้ ๑๐) ให้กดอุเบกษาไว้

กฎมณเฑียรบาล จ.ศ.๗๒๐ ซึ่งเริ่มใช้ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังตัวอย่าง มาตรา ๖๗

- ถ้าคบกันกินเหล้าในพระราชวัง ให้ต้มเหล้าให้ร้อนกรอกปาก แล้วให้จำไว้

- ผู้ใดเล่นว่าวข้ามพระราชวังก็ดี ซัดไม้ค้อนก้อนดิน อิฐผาข้ามพระราชวังโทษตัดมือ

- ขว้างพระที่นั่งโทษถึงตาย

- ใช้บันดาศักดิ์นอนในพระราชวัง และเข้ามานอนไซร์ให้ตีผู้นอน และผู้ขอนอนคนละ ๑๐ ที (๒๐) ฯลฯ

๓. หลักจริยธรรมที่ได้จากพระราชดำริ และพระราโชวาทของรัชกาลที่ ๕ รวมทั้งโอวาทของข้าราชการระดับสูง เช่น เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น ซึ่งพระราชดำริ พระราโชวาท และโอวาท เหล่านี้ระบุหลักจริยธรรมที่ข้าราชการพึงควรประพฤติไว้ทั้งสิ้น ดังเช่น พระราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "พ่อสอนลูก" พระราชทานแก่พระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ เมื่อเสด็จไปทรงศึกาาต่อต่าประเทศใน พ.ศ.๒๔๒๘ ดังมีใจความว่า

อย่าถือว่าตัวเป็นลูกเจ้าแผ่นดิน
พ่อมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในบ้านเมือง
ถึงจะเกะกะไม่เกรงกลัวข่มเหงผู้ใด
เขาก็คงจะมีความเกรงใจพ่อ ไม่ต่อสู้
หรือไม่อาจฟ้องร้องว่ากล่าว
การซึ่งเชื่อเ่ชนนั้นเป็นการผิดแท้ทีเดียว ...
เพราะฉะนั้น จงรู้เถิดว่า
เมื่อใดทำความผิดจะได้รับโทษทันที
การที่มีพ่อเป็นเจ้าแผ่นดินนั้น
จะไม่เป็นการช่วยเหลืออุดหนุนแก้ไขอันใดได้เลย...
จงประพฤติตัวหันมาทางที่ชอบที่ถูกเสมอเป็นนิจเถิด
ละเว้นทางที่ชั่ว (๒๑)

ด้วยเหตุนี้ ลักษณะความเป็นวิชาชีพนิยม (professionalism) ของอาชีพข้าราชการจึงอาจกล่าวได้ว่า เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และหลักจริยธรรมในวิชาชีพก็เริ่มขึ้นในระบบเกียวกันนั่นเอง แม้จะมิได้มีการรวมตัวกันของบุคคลในวิชาชีพข้าราชการ เพื่อจัดตั้งสมาคมข้าราชการขึ้นดังในต่างประเทศก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีความเป็นวิชาชีพนิยมของอาชีพข้าราชการเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการพิจารณากันถึงเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการ ซึ่งประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการเริ่มเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้ประกอบวิชาชีพข้าราชการนั่นเอง ที่เล็งเห็นความสำคัญของการมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีีพของตน

ครั้ลุล่วงถึงสมัยต่าง ๆ มา ความเป็นวิชาชีพนิยมได้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น และได้ผนวกเอาอาชีพอื่น ๆ เข้าไว้ด้วย และเช่นเดียวกันวิชาชีพข้าราชการ บุคคลผู้ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการประกอบวิชาชีพ อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีจริยธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของศาธารณชน แต่ละวิชาชีพได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมวิชาชีพของตนขึ้น ในเวลาต่อมาทุกสมาคมต่างก็ร่วมมือกันสร้างจริยธรรมในวิชาชีพ (หรือที่มักนิยมเรีียกกันอย่างแพร่หลายว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ) ของตนขึ้น จนถึงสมัยปัจจุบันเกือบทุกวิชาชีพต่างก็มีสมาคมวิชาชีพ กฎหมายควบคุมวิชาชีพ และจริยธรรมในวิชาชีพของตน จะขอยกตัวอย่างจริยธรรมในวิชาชีพสำคัญ ๆ มาพอสังเขปดังต่อไปนี้



วิชาชีพแพทย์พยาบาล โดยเหตุที่วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพพยาบาล เป็นวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ดังนั้นจริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ วิชาชีพพยาบาล จึงเน้นหลักไปในด้านความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์พยาบาลกับผู้ป่วย จะขอกล่าวถึงจริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ก่อนว่า ได้มีการเน้นเรื่องจริยธรรมของแพทย์ที่พึงปฏิบัติต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมากดังนี้

ข้อ ๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรค และความพิการต่าง ๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ

ข้อ ๖ ผู้ประกอบอาชีพเวชกรรมต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย

ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่สั่ง ใช้ หรือสนับสนุนการใช้ยาตำรับลับ รวมทั้งใช้อุปกรณ์การแพทย์อันไม่เปิดเผยส่วนประกอบ

ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เผิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมา เนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือตามหน้าที่ (๒๒)

ตัวอย่างที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า มีการให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และยังมีอีกหลายข้อ ซึ่งมิได้นำมากล่าวอ้างในที่นี้ซึ่งเน้นว่า แพทย์จะต้องประกอบวิชาชีพโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ป่วยมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง และจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากการประกอบวิชาชีพแพทย์ไม่ว่ากรณีใด ๆ

ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จริยธรรมวิชาชีพแพทย์ ซึ่งร่างขึ้นตั้งแต่การนี้เน้นว่า แพทย์จะต้องไม่เรียกร้องทรัพย์สินเงินทองจากผู้ป่วย นอกเหนือจากค่า่บริการอันพึงได้รับตามปกติ แสดงให้เห็นว่า แพทย์ในอดีตคงจะไม่รับค่าตอบแทนมากมายนัก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ประเด็นที่ว่าวิชาชีพแพทย์ปลอดจากการเข้ามาแทรกแซงทางด้านธุรกิจนี้เอง ส่งเสริมให้วิชาชีพแพทย์ในสมัยโบราณเป็นวิชาชีพซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีเกียรติสูงส่งจากสังคม

สำหรับวิชาชีพพยาบาลนั้น ก็เช่นเดียวกับวิชาชีพแพทย์ คือ เป็นวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบชีวิตมนุษย์ จึงต้องมีจริยธรรมทางการพยาบาลที่กำหนดไว้แน่นอนตายตัว เพื่อให้สมาชิกของวิชาชีพยึดถือเป็นหลักปฏิบัติของตนเอง และต่อสังคม ข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพพยาบาล และการผดุงครรภ์ รวมทั้งการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ พ.ศ.๒๕๓๐ ได้กำหนดหลักจริยธรรมของพยาบาลในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยไว้ถึง ๑๗ ข้อ จะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบล หรือการผดุงครรภ์ในระดับที่ดีที่สุด ด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ

ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับส่งผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ เพื่อรับบริการทางการแพทย์ หรือการผดุงครรภ์

ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วยเมื่อได้รับคำขอร้อง และตนอยู่ในฐนะที่จะช่วยได้

ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะทำการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติและคลอดอย่างปกติ ตลอดจนการพยาบาลมารดา และทารก

ในรายที่มีครรภ์ผิดปกติหรือคลอดผิดปกติ ถ้าไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาทำการคลอดได้ภายในเวลาอันสมควร และเห็นประจักษ์ว่าถ้าละเลยไว้จะเป็นอันตรายแก่มารดาหรือทารก ก็ให้ทำคลอดในรายเช่นนั้นได้ แต่ห้ามมิให้ใช้คีมสูง หรือทำการผ่าตัดในการทำคลอด หรือฉีดยารัดมดลูกก่อนคลอด (๒๓)

จะเห็นได้ว่า หลักจริยธรรมในวิชาชีพพยาบาลที่ได้กำหนดไว้นี้ มีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลตระหนักในบทบาทของตนเอง เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ด้วยความตระหนักในคุณค่า ศักดิ์ศรี ตลอดจนสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็จะต้องรักษามาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ และธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรมในการประกอบวิชาชีพของตนด้วย



วิชาชีพนักกฎหมาย ได้มีปรากฏในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ซึ่งระบุหลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา หรือทนายความไว้อย่าละเอียด ดังต่อไปนี้

จริยธรรมผู้พิพากษา

ข้อ ๒ ผู้พิพากษาพึงตรวจสำนวนความ และตระเตรียมการดำเนินกระบวนพิจาณาไว้ให้พร้อม ออกนั่งพิจาณาตรงตามเวลา และไม่เลื่อนการพิจารณาโดยไม่จำเป็น

ข้อ ๘ การเปรียบเทียบหรือไกล่เกลี่ยคดี จักต้องกระทำในศาล ผู้พิพากษาพึงชี้แจงให้คู่ความทุกฝ่ายตระหนักถึงผลดีผลเสียในการดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้จักต้องไม่ให้คำมั่นหรือบีบบังคับให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอใด ๆ หรือให้จำเลยรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ และจักต้องไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระแวงว่าผู้พิพากษาฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

ข้อ ๑๒ เมื่อจะพิพากษา หรือมีคำาัสั่งคดีเรื่องใด ผู้พิพากษาจำต้องละวงาอคติทั้งปวงเกี่ยวกับคู่ความ หรือคดีความเรื่องนั้น ทั้งจะต้องวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด (๒๔)

จริยธรรมทนายความ

ข้อ ๔ ทนายความผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

หมวด ๒
มรรยาทต่อศาลและในศาล

ข้อ ๕ ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก่ต่างในคดีอาณา เว้นแต่จะมีข้อแก้ตัวโดยสมควร

ข้อ ๖ ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทการใดอันเป้นการดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษาในศาล หรือนอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล หรือผู้พิพากษา

ข้อ ๗ กล่าวความ หรือทำเอกสาร หรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายลวงให้ศาลหลง หรือกระทำการใดเพื่อทราบคำสั่ง หรือคำพิพากษา ของศาลที่ยังไม่เปิดเผย

ข้อ ๘ สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อทำพยานหลักฐา่นเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน (๒๕)

เช่นเดียวกับแพทย์พยาบาล ซึ่งดูแลทุกข์สุขของประชาชนในด้านสุขภาพอนามัยทางร่างกาย นักกฎหมายดูแลทุกข์สุขของประชาชนในด้านความคิดและการกระทำ วิชาชีพนักกฎหมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาชีพนักกฎหมายมีละกษณะพิเศษประการหนึ่งคือ เป็นงานที่ดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งจัดว่าเป็นงานที่ยากลำบาก และเป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการตลอดไป ไม่่ว่ายุคสมัยใด ภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจหลัก ซึ่งต้องการผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ยิ่งไปกว่านั้นประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และจักต้องทำงานด้วยความอิสระ ไม่อยู่ใต้อำนาจการบงการของผู้ใด จิตติ ติงศภัทิย์ แสดงความคิดเห็นไว้ว่า คุณสมบัติของนักกฎหมายที่จะทำงานด้วยความเป็นอิสระได้ก็คือ "ความกล้าในการแสดงความคิดเห็น นักกฎหมายไม่ใช่บุคคลประเภทขอรับกระผม ที่เรียกว่า yes man หรือที่ล้อกันว่า ใต้เท้ากรุณาบัญชาไม่ผิด" (๒๖)

กล่าวโดยสรุป ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ใช้กฎหมายให้เป็นธรรม รอบรู้วิชาการ และมีอิสระในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม ซึ่งเป็นประเด็นที่ยากลำบากอย่างยิ่ง เพราะบางครั้งอาจต้องเผชิญกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งถือว่าอำนาจคือความถูกต้อว



วิชาชีพครูอาจารย์ เป็นวิชาชีพหนึ่งซึ่งเน้นความสำคัญของจริยธรรมในวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ในกรณีนี้ได้มีการแบ่งไว้อย่างชัดเจน ระหว่างจริยธรรมในวิชาชีพครูในโรงเรียน และจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หลักจริยธรรมที่ได้กำหนดไว้นั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้

จริยธรรมครู

คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก พฤติกรรมบ่งชี้
๑. มีความเมตตากรุณา ๑.๑ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม ๑.๑.๑ ไม่นิ่งดูดาย และเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังความสามารถ
๒. มีความยุติธรรม ๑.๒ มีความสนใจและห่วงใยในการเรียน และความประพฤติของผู้เรียน ๑.๒.๑ แนะนำเอาใจใส่ ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุขและพ้นทุกข์

๑.๒.๒ เป็นกันเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของผู้เรียนได้
๒.๑ มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน
๒.๑.๑ เอาใจใส่ และปฏิบัติต่อผู้เรียน และเพื่อนร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาค และไม่ลำเอียง

๒.๒.๑ ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงาน และผู้บริหาร โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
๒.๒ มีความเป็นกลาง
๘. มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู ๘.๑ เห็นความสำคัญของวิชาชีพครู
๘.๑.๑ สนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรวิชาชีพครู

๘.๑.๒ เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู

๘.๑.๓ ร่วมมือ และส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู
๘.๒ รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู ๘.๒.๑ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

๘.๒.๒ รักษาความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน

๘.๒.๓ ปกป้อง และสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคม เกี่ยวกับวิชาชีพครู
๘.๓ เกิดความสำนึก และตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี ๘.๓.๑ ปฏิบัติตนให้เหมาะสม ที่เป็นปูชนียบุคคล (๒๗)



นอกจากนี้ยังมีจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยดังนี้

จริยธรรมของอาจารย์ที่ปรึกษา

๑. รักษาความลับของศิษย์อย่างเคร่งครัด

๒. พิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ของศิษย์

๓. อุทิศเวลาเพื่องานอาจารย์ที่ปรึกษา

๔. ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ

นอกจากนี้ยังมีหลักการที่อาจารย์ที่ปรึกษา คือ

๑. อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องช่วยให้งานอุดมศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ คือการสร้างบัณฑิตที่เป็นคนที่สมบูรณ์

๒. อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยพัฒนาความพร้อมทางสติปัญญษ ให้ใฝ่รู้ และวิธีการแสวงหาความรู้

๓. ช่วยให้นิสิตประสบความสำเร็จ และมีชีวิตสมบูรณ์อยู่ในมหาวิทยาลัย

๔. ช่วยให้นิสิตเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

๕. พัฒนาทัศนคติ จริยธรรม และศิลปวัฒนธรรมให้แก่นิสิต



จริยธรรมอาจารย์

๑. อาจารย์พงวางตนให้เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง เป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
๒. อาจารย์ควรเป็นผู้มีเหตุผล พึ่งเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และไม่พึงบังคับไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามตน

๓. อาจารย์ไม่พึงปฏิบัติต่อผูั้ใดอย่างมีอคติ โดยอาศัยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ

๔. อาจารย์ไม่พึงเรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ ซึ่งชักนำ หรือาจจชักนำไปให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนไม่สุจริตเที่ยงธรรม หรือให้ หรือรับว่าจะให้ ซึ่งประโยชน์ที่ตนสามารถจะให้ได้ในอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับประโยชน์อันไม่ควรให้

๕. อาจารย์พึ่งมีความรอบรู้ทางวิชาการ พึ่งเตรียมการสอน และเข้าสอนโดยสม่ำเสมอตามกำหนด ในการสอนนั้นจะต้องไม่จงใจปิดบังอำพราง หรือปิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ นอกจากนั้น อาจารย์พึ่งตั้งใจค้นคว้าหาความรู้ในสาขาวิชาของตนมาให้แก่ศิษย์ และพึงสนับสนุนให้ศิษย์มีความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ (๒๘)

จากตัวอย่างของหลักจริยธรรมครู อาจารย์ที่ยกมาบางส่วนนี้ พอจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หลักจริยธรรมของทั้งครูในโรงเรียน และอาจารย์ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ นอกจากจะต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนที่เก่ง และดีแล้ว ตัวครูอาจารย์เองก็จะต้่องเก่งและดีด้วย ซึ่งนับว่าเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญและยากลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ้งประเด็นความเป็นคนดีนั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะสอนคนให้เป็นคนดี โดยที่ครูอาจารย์ ซึ่งเปรียบประดุจ "เม่พิมพ์" ของชาติสมควรจะต้องเป็นคนดีด้วย



วิชาชีพนักธุรกิจ เป็นวิชาชีพที่น่าจะมีความขัดแย้งกับประเด็นเรื่องการมีจริยธรรมในวิชาชีพมากที่สุด เนื่องจากนักธุรกิจย่อมแสวงหาผลกำไรเป็นเครื่องตอบแทนการลงมุนทำธุรกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม มีนักธุรกิจหลายคนทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตนเและในขณะเดียวกัน ก็สามารถช่วยเหลือพัฒนาทางสังคมไปด้วยได้ มูลนิธิสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย ได้กำหนดหลักจริยธรรมในวิชาชีกซึ่งนักธุรกิจพึงปฏิบัติต่อลูกค้าไว้ดังนี้

๑. พึงขายสินค้า และบริการในราคายุติธรรม มีกำไรตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้าและบริการ
๒. พึงขายสินค้า และบริการให้ถูกต้องตามจำนวนคุณภาพ ราคาที่ตกลงกัน และมีความรับผิดชอบตามภาระผูกพันของตน

๓. พึงดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้โอกาสเท่าเทียมกันที่จะซื้อสินค้า และรับบริการ ไม่ว่าในสภาวะใด เช่น ในภาวะสินค้าขาดตลาด เป็นต้น

๔. พึงละเว้นการกระทำใด ๆ ที่จะควบคุมการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อ หรือรับบริการโดยการใช้ความใหญ่ขององค์กรของตนเป็นเครื่องต่อรอง หรือการซื้อขายโดยวิธีต่างตอบแทนกัน หรือสร้างเงื่อนไขกำหนดให้ลูกค้าต้องทำตาม

๕. พึงละเว้นการกระทำใด ๆ เพื่อทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น โดยไม่มีเหตุผล เช่น การกักตุนสินค้า ปล่อยข่าวอันเป็นเท็จ เพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อ ต้องซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าในสภาพ

๖. พึงปฏิบัติต่อลูกค้า และให้บริการอย่างมีน้ำใจไมตรีอัธยาศัยที่ดีต่อกัน (๒๙)

ดังนั้น วิชาชีพธุรกิจจึงเป็นวิชาชีพที่มีหลักจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น ๆ ประเด็นที่ต่างกันก็คือว่า เป้าหมายของธุนกิจคือกำไร ด้วยเหตุนี้สิ่งที่นักธุรกิจจะต้องคำนึงถึงให้มากก็คือ กำไรที่ได้นั้นส่งผลกระทบต่อสังคมในทางบวก หรือทางลบ ในประเด็นนี้ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เสนอทางออกให้ โดยการให้นักธุรกิจตั้งปัญหาถามตัวเอง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. ธุรกิจที่ทำนั้นขัดแย้งกับสามัญสำนึกของคุณไหม ถ้าขัดแย้งกับสามัญสำนึก คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณ
๒. ธุรกิจที่ทำจะมีผลต่ออนาคตของคุณหรือไม่ ถ้ามี ผลนั้นเป็นบวกหรือลบ

๓. ธุรกิจที่ทำนั้นกระทบกับวิชาชีพไหม ถ้ามีผลกระทบในเชิงขัดแย้ง เขาจะเป็นผู้ที่เป็นมนุษย์เต็มตัวขึ้นมาแล้วคือ เป็นผู้ที่คำนึงจรรยาบรรณวิชาชีพ

๔. ธุรกิจนั้นกระทบต่อสัคงคมไทยไหม ถ้ากระทบแล้วคุณยังทำ แสดงว่าคุณขาดขรรยาบรรณข้อที่สำคัญที่สุดคือข้อที่สี่ก็คือ ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (๓๐)

เนื่องจากวิชาชีพธุรกิจเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาอาชีพ นักธุรกิจจึงสมควรที่จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในวิชาชีพของตนให้มาก ทั้งนี้เพื่อสร้างศรัทธา และการยอมรับจากสาธารณชนทั่วไปให้บังเกิดแก่วิชาชีพของตน เพราะสาธารณชนก็คือลูกค้าของนักธุรกิจนั่นเอง หากปราศจากศรัทธา และการยอมรับจากสาธารณชนเสียแล้ว นักธุรกิจก็ไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งธุรกิจของตนได้เช่นกัน



วิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ แม่ว่าวิชาชีพหนังสือพิมพ์เป็นวิชาชีพเก่าแก่ โดยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่จริยธรรมในวิชาชีพหนังสือพิมพ์เพิ่งจะได้รับการกำหนดไว้รัชกาลปัจจุบันนี้เอง โดยมีใจความสำคัญอยู่ ๗ ประการ ได้แก่

๑. เสรีภาพ เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ควรหวงแหนที่สุด เพราะถ้าหนังสือพิมพ์ไม่มีเสรีภาพเสียแล้ว วิชาชีพนี้ก็หมดความหมาย
๒. ความรับผิดชอบ หมายถึง การรู้จักหน้าที่ที่ควรทำ ผู้รู้หน้าที่ของตนพบได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ

๓. ความเป็นไทแก่ตัว หรือความไม่เป็นทาส คือ การไม่ยอมตกเป็นทาสของอามิสสินจ้าง เพื่อที่จะทำลายผู้ที่ไม่มีความผิด

๔. ความจริงใจ หมายถึง ความจริงวาจา และจริงใจ ไม่เขียนข่าวเท็จ โดยไม่สอบข่อเท็จจริงให้เป็นที่แน่ใจเสียก่อน

๕. ความเที่ยงธรรม คือ ไม่มีอคติ ไม่มีลำเอียง เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการเสนอข่าว

๖. ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา หมายถึง การไม่กล่าวตำหนิใคร โดยไม่ให้โอกาสชี้แจง ไม่กล่าวล่วงล้ำสิทธิ หรือความรู้สึกส่วนตัวของบุคคล เว้นแต้่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน

๗. ความมีมารยาท หมายถึง มีสมบัติผู้ดี ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบโลน หรือลามกอนาจารในการเสนอข่าว (๓๑)

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ จึงเป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู่มาโดยตลอด นักหนังสือพิมพ์รุ่นเก่าต่อสู้เพื่อธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมในวิชาชีพ แม้ในระยะนั้นจะยังมิได้มีการกำหนดจริยธรรมในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ดูเหมือนจะมีการยอมรับเป็นหลักปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางโดยนักหนังสือพิมพ์รุ่นเก่าที่มีจริยธรรม หรือที่เรียกกันว่า "นักหนังสือพิมพ์น้ำดี" ว่า จริยธรรม ๒ ข้อแรกคือ เสรีภาพและความรับผิดชอบนั้นจัดว่าเป็นหัวใจของวิชาชีพนัีกหนังสือพิมพ์อย่างแท้จริง แม้จะมิได้มีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนดังในสมัยต่อ ๆ มาก็ตาม

เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้่า วิชาชีพข้าราชการ แพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย นักธุนกิจ นักหนังสือพิมพ์ เหล่านี้ล้วนเป็นวิชาชีพสำคัญ และมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมทั้งสิ้น จนอาจกล่าวได้ ถ้าบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมควบคู่กันไป คือ ทั้ง "เก่งและดี" สังคมจะเจริญรุดหน้าไปอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามในทางตรงกันข้าม หากผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ไร้จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพของตนเสียแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมของเรา

อนึ่ง มีข้่อสังเกตอยู่ ๒ ประการก็คือ ประการแรก เกือบทุกวิชาชีพที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ได้มีการกำหนดกรอบของจริยธรรมไว้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เป็นการง่ายต่อการตรวจสอบ แต่บางวิชาชีพ เช่น วิชาชีพนักการเมือง มิได้มีการกำหนดจริยธรรมในวิชาชีพไว่้อย่างชัดเจนเหมือนดังอาชีพอื่น ๆ ซึ่งทำให้ยากลำบากต่อการตรวจสอบ พฤติกรรมของนักการเมืองบางคนที่มีพฤติกรรมทางจริยธรรมซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงมิได้

ประการที่สอง ในปัจจุบันนี้ สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอันมาก และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งความเจริญทางจิตใจตามไม่ทัน ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเช่นเดียวกับประเทศตะวันตกในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่มีการพัฒนาไปในแนวทางตะวันตก เรารับวัฒนธรรมวัตถุนิยม และบริโภคนิยม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบทุนนิยมตะวันตกเข้าไว้อย่างเต็มที่ กระแสวัฒนธรรมวัตถุนิยมและบริโภคนิยมที่สังคมไทยรับมาในช่วง ๓๐ ปีมานี้ ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการดำเนินชีวิต การศึกษา การแต่งกาย รูปแบบบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนการประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ด้วย

เมื่อได้พิจารณาถึงสาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคมไทย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คณะวิจัยซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ และบุคคลวิชาชีพต่าง ๆ จึงเห็นว่า เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพ ทั้งนี้โดยมีความมุ่งหมายว่า การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์หลักจริยธรรมในวิชาชีพ ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ขณะนี้คงจะทำให้สามารถเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

งานวิจัยนี้จึงมีขั้นตอนการดำเนินงานดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ ประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๑๑ วิชาชีพ และศึกษาพัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรมในวิชาชีพของตน

ขั้นตอนที่ ๒ มีการดำเนินงานซึ่งแบ่งขั้นย่อยดังนี้

๒.๑ ศึกษาปัญหาทางจริยธรรมในวิชาชีพที่เกิดขึ้นว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง และประเด็นใดที่มีการประพฤติผิดจริยธรรมบ่อยครั้ง

๒.๒ ศึกษามูลเหตุจูงใจที่ทำให้มีการประพฤติผิดจริยธรรมในแต่ละวิชาชีพว่าีมีอะไรบ้าง และมีมาตรการใดที่จะแก้ไข หรือป้องกันมิให้มูลเหตุเหล่านั้นเกิดขึ้น เพื่อลดปัญหาทางจริยธรรมที่จะตามมา

๒.๓ ศึกษาว่าแต่ละวิชาชีพมีกลไกการตรวจสอบการประพฤติผิดจริยธรรมหรือไม่อย่างไร ถ้ามี กลไกนั้นมีลักษณะอย่างไรบ้าง และกลไกเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการประพฤติผิดจริยธรรมได้จริงหรือไม่ ถ้าไม่จริง ผู้อยู่ในวิชาชีพนั้น ๆ จะเสนอกลไกอื่น ๆ เพิ่มเติมสำหรับการตรวจสอบอีกหรือไม่อย่างไร เพื่อให้การตรวจสอบจริยธรรมในวิชาชีพนั้น ๆ มีประสิืทธิภาพอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นการสัมภาษณ์บุคคลผู้อยู่ในวิชาชีพต่าง ๆ วิชาชีพละ ๑๐๐ คน

บทความทั้ง ๑๓ เรื่องนี้ จึเป็นความพยามที่จะประมวลองค์ความรู้เกี่ยกัวบจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๑๑ วิชาชีพ ส่วนอีก ๒ บทความ ในชุดจริยธรรมในวิชาชีพเป็นการเสนอภาพรวมของงานวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

๑. จริยธรรมในวิชาชีพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ

๒. จริยธรรมพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์

๓. จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ โดย นายแพทย์วิรัช ทุ่งวชิรกุล

๔. จริยธรรมในวิชาชีพพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ ฟาริดา อิบราฮิม

๕. จริยธรรมนักวิจัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์

๖. จริยธรรมนักการเมือง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี เจนวิทย์การ

๗. จริยธรรมในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ

๘. จริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิภาดา อังสุมาลิน

๙. จริยธรรมในวิชาชีพทหาร โดย อาจารย์สมศักดิ์ ส่งสัมพันธ์

๑๐. จริยธรรมในวิชาชีพตำรจ โดย พลตำรวจโทสุวรรณ สุวรรณเวโช

๑๑. จริยธรรมในวิชาชีพครูอาจารย์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร ปัญญาทีป

๑๒. จริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมาย โดย นายวิชา มหาคุณ

๑๓. จริยธรรมในวิชาชีพนักธุรกิจ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภกร์ลักขิ์มณฑลี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม

บาความทั้งหมดนี้จึงเป็นผลของการดำเนินงานในขั้นตอนที่ ๑ ซึ่งเป็นการประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพรวม ๑๑ วิชาชีพ จัดทำเป็นชุดบทความ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงพัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ โดยรวบรวมมาอย่างครบถ้วน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังมิได้มีผู้ใดกระทำมาก่อนเลย ทั้งนี้โดยมีการจัดสัมมนาเรื่อง "จริยธรรมในวิชาชีพ" ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๐ ประกอบด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้่จากการศึกษาวิจัยในขั้ตอนที่ ๑ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น คำวิจารณ์ ตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมการสัมมนา หลังจากการสัมมนาเสร็จสิ้นลงแล้ว คณะวิจัยจะประมวลความคิดและข้อเสนอแนะจากการสัมมนาทั้งหมด เพื่อนำไปเ็ป็นข้อมูลประกอบในการวิจัยภาคสนามในขั้ตนอที่ ๒ ต่อไป

อนึ่ง การดำเนินงานวิจับเรื่อง "จริยธรรมในวิชาชีพ" นี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อำนวยการกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณื พานิช และ ดร.โชคชัย สุทธาเวศ แห่งฝ่ายความสัมพันธ์ข้ามชาติและทางเลือกในการพัฒนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ให้ความสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยเป็นอย่างดียิ่งมาโดยตลอด คณะวิจัยจึงขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความชุด "จริยธรรมในวิชาชีพ" คงจะเป็นประโยชน์ไใ่เฉพาะแก่วงวิชาการด้านปรัชญาจริยศาสตร์เท่านั้น แต่น่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยโดยทั่วไปอีกด้วย เพราะการพัฒนาจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจริยธรรมในวิชาชีพมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาประเทศ และประเทศชาติจะพัฒนาไม่ได้เลย หากจริยธรรมของคนในชาติเสื่อทรามลง.

* * *

เชิงอรรถ

๑. Wilburt E.Moore, The Profession: Roles and Rules (New York: Russel Sage Foundatiob, 1970) อ้างโดย T.H. Silcock (ed.), Professional Structure in South East Asia (Canberra: The Australian National University, 1972), p.31.

๒. ติน ปรัชญพฤทธิ์, วิชาชีพนิยมของระบบราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: วิวัฒนาการและผลกระทบต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖)

๓. Oxford Advanced Learner's Dictionary (Oxford: Oxford University Press, 1989), p.993.

๔. ส. เสถบุตร, New Modal English-Thai Dictionary (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช ๒๕๓๖), หน้า ๑๑๓๗.

๕. ติน ปรัชญพฤทธิ์, เรื่องเดิม, หน้า ๓๔-๓๕.

๖. Talcott Parsons, "The Professions and Social Structure," in Essays in Sociological Theory, revised edition (Glencoe, Ill: Free Press, 1954), pp. 34-39. อ้างโดย Silcock (ed.), op.cit., p.13.

๗. Joseph A. Kahl, The Measurement of Modernism: A Study of Values in Brazil and Mexico (Austin: Univesitu of Texas Press, 1968) อ้างโดย Silcock (ed.), cit., p.13.

๘. ศึกษารายละเอียกเพิ่มเติมได้จาก บัญชา แก้งเกตุทอง, การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๒), หน้า ๔-๒๔. และ ธารทอง ทองสวัสดิ์, "อิทธิพลตะวันตกกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย. "ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, วิวัฒนาการการเมืองไทย (นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๒), หน้า ๓๕๓-๓๕๗.

๙. พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส อินฺปัญโญ), การสร้างเสริมจริยธรรมแก่วัยรุ่น คณะครูโรงเรียนนฤมิตวิทยา จังหวัดนครราชสีมา พิมพ์เป็นบรรณาการเพื่อเป็นอนุสรณ์ และเทอดพระคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โทพระยาราชสีมาจารย์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม พระนคร วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๑๑.

๑๐. ชำเลือง วุฒิจันทร์, คุณธรรมและจริยธรรม: หลักการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๔), หน้า ๙.

๑๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐.

๑๒. วิทย์ วิศทเวทย์, จริยศาสตร์เบื้องต้น (กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๒๘), หน้า ๑-๑๓.

๑๓. สาโรช บัวศรี, จริยธรรมศึกษา (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๒๖), หน้า ๑๒.

๑๔. ชำเลือง วุฒิจันทร์, เรื่องเดิม, หน้า ๑๑.

๑๕. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐.

๑๖. สุภา ศิริมานนท์, จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ (กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, ๒๕๓๐), หน้า ๑๑-๑๓.

๑๗. ชำเลือง วุฒิจันทร์, เรื่องเดิม, หน้า ๑๐.

๑๘. ติน ปรัชญพฤทธิ์, เรื่องเดิม, หน้า ๔๐-๔๑.

๑๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๘-๘๔.

๒๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๕-๙๑.

๒๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙-๙๔.

๒๒. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รวมรวมจรรยาบรรณอาจารย์ และจรรยาบรรณวิชาชีพ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกร์มหาวิทยาัลย, ๒๕๓๔), หน้า ๑๗-๑๘.

๒๓. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๖-๕๘.

๒๔. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๓.

๒๕. จิตติ ติงภัทิย์. "คติของวิชาชีพทางกฎหมาย," ในจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย, คณะนิติศาสตร์, จริยธรรมนักกฎหมาย รายงานการสัมมนาเรื่อง" ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๐ ธันวาคม ๒๕๒๘ ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพฯ: ป. สัมพันธ์พาณิชย์, ๒๕๒๙), หน้า ๑๑๖-๑๗.

๒๖. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เรื่องดิม, หน้า ๑๒-๑๔.

๒๗. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑.

๒๘. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๐-๕๑.

๒๙. ทบวงมหาวิทยาลัย และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการเสริมสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการเสรมสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ" วันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๓ ณ ทบวงมหาวิทยาลัย, หน้า ๗๔.

๓๐. วานิช พลูวังกาญจน์, ฐานันดร ๔ (กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๐).