จรรยาบรรณวิชาชีพครู
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
ความหมาย
จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ
ความสำคัญ
จรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ
๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
๓. พัฒนาวิชาชีพ
ลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพครู
จรรยาบรรณวิชาชีพครู จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student)
๒. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society)
๓. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession)
๔. เป็นคำมั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน (Commitment to the employment practice)
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
ครูต้องไม่แสดดงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
ที่มา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE1 ครูต้องรักและเมตตาศิษยE โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษยEดยเสมอหน้า
หลักการ
การแสดงออกของบุคคลในทางที่ดีเป็นผลมาจากสภาวะจิตใจที่ดีงาม และความเชื่อถือที่ถูกต้องของบุคคล บุคคลที่มีความรักและเมตตาย่อมแสดงออกด้วยความปรารถนาในอันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อบุคคลอื่น มีความสุภาพ ไตร่ตรองถึงผลแล้วจึงแสดงออกอย่างจริงใจ ครูจึงต้องมีความรักและเมตตาต่อศิษยEยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลให้พฤติกรรมที่ครูแสดงออกต่อศิษยE เป็นไปในทางสุภาพ เอื้ออาทร ส่งผลดีต่อศิษยEนทุกEด้าน
คำอธิบาย
ครูต้องรักและช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษยEดยเสมอหน้า หมายถึง การตอบสนองต่อความต้องการ ความถนัด ความสนใจของศิษยEย่างจริงใจ สอดคล้องกับการเคารพ การยอมรับ การเห็นอกเห็นใจ ต่อสิทธิพื้นฐานของศิษยEนเป็นที่ไว้วางใจเชื่อถือและชื่นชมไดE รวมทั้งเป็นผลไปสู่การพัฒนารอบด้านอย่างเท่าเทียมกัน
พฤติกรรมสำคัญ
1. สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษยE แต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น
1) ให้ความเป็นกันเองกับศิษยEbr> 2) รับฟังปัญหาของศิษยEละให้ความช่วยเหลือศิษยEbr> 3) ร่วมทำกิจกรรมกับศิษยEป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
4) สนทนาไต่ถามทุกขEุขของศิษยEbr> ฯลฯ
2. ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษยEนทางสร้างสรรคE ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของศิษยEต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น
1) สนใจคำถามและคำตอบของศิษยEุกคน
2) ให้โอกาสศิษยEต่ละคนได้แสดงออกตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
3) ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของศิษยEbr> 4) รับการนัดหมายของศิษยEกี่ยวกับการเรียนรู้ก่อนงานอื่นEbr> ฯลฯ
3. เสนอและแนะแนวทางการพัฒนาของศิษยEต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษยE ตัวอย่างเช่น
1) มอบหมายงานตามความถนัด
2) จัดกิจกรรมหลากหลายตามสภาพความแตกต่างของศิษยEพื่อให้แต่ละคนประสบความสำเร็จเป็นระยะE อยู่เสมอ
3) แนะแนวทางที่ถูกให้แก่ศิษยEbr> 4) ปรึกษาหารือกับครู ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียน เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาของศิษยEbr> ฯลฯ
4. แสดงผลงานที่ภูมิใจของศิษยEต่ละคน และทุกคนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตัวอย่างเช่น
1) ตรวจผลงานของศิษยEย่างสม่ำเสมอ
2) แสดงผลงานของศิษยEนห้องเรียน (ห้องปฏิบัติการ)
3) ประกาศหรือเผยแพร่ผลงานของศิษยEี่ประสบความสำเร็จ
ฯลฯ
ที่มา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2541
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE2 ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรูE ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษยE อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิEจ
หลักการ
ครูที่ดีต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศิษยEห้เจริญได้อย่างเต็มศักยภาพ และถือว่าความรับผิดชอบของตนจะสมบูรณE็ต่อเมื่อศิษยEด้แสดงออกซึ่งผลแห่งการพัฒนานั้นแล้ว ครูจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับศักยภาพของศิษยEต่ละคนและทุกคน เลือกกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาตามศักยภาพนั้นE ดำเนินการให้ศิษยEด้ลงมือทำกิจกรรมการเรียน จนเกิดผลอย่างแจ้งชัด และยังกระตุ้นยั่วยุให้ศิษยEุกคนได้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อความเจริญงอกงามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
คำอธิบาย
ครูต้องอบรมสั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษยEย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิEจ หมายถึงการดำเนินงานตั้งแต่การเลือกกำหนดกิจกรรมการเรียนที่มุ่งผลต่อการพัฒนาในตัวศิษยEย่างแท้จริง การจัดให้ศิษยEีความรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของการเรียนรูE ตลอดจนการประเมินร่วมกับศิษยE ในผลของการเรียนและการเพิ่มพูนการเรียนรู้ภายหลังบทเรียนต่างE ด้วยความปรารถนาที่จะให้ศิษยEต่ละคนและทุกคนพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพและตลอดไป
พฤติกรรมสำคัญ
1. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษยEย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ ตัวอย่างเช่น
1) สอนเต็มเวลา ไม่เบียดบังเวลาของศิษยEปหาผลประโยชนE่วนตน
2) เอาใจใสEอบรม สั่งสอนศิษยEนเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน
3) อุทิศเวลาเพื่อพัฒนาศิษยEามความจำเป็นและเมหาะสม
4) ไม่ละทิ้งชั้นเรียนหรือขาดการสอน
ฯลฯ
2. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษยEย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างเช่น
1) เลือกใช้วิธีการที่หลากหลายในการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของศิษยEbr> 2) ให้ความรู้โดยไม่ปิดบัง
3) สอนเต็มความสามารถ
4) เปิดโอกาสให้ศิษยEด้ฝึกปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ
5) สอนเต็มความสามารถและด้วยความเต็มใจ
6) กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย พัฒนาขึ้น
7) ลงมือจัด เลือกกิจกรรมที่นำสู่ผลจริงEbr> 8) ประเมิน ปรับปรุง ให้ได้ผลจริง
9) ภูมิใจเมื่อศิษยEัฒนา
ฯลฯ
3. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษยE้วยความบริสุทธิEจ ตัวอย่างเช่น
1) สั่งสอนศิษยEดยไม่บิดเบือนหรือปิดบัง อำพราง
2) อบรมสั่งสอนศิษยEดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
3) มอบหมายงานและตราวจผลงานด้วยความยุติธรรม
ฯลฯ
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE3 ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษยEั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
หลักการ
การเรียนรู้ในด้านค่านิยามและจริยธรรมจำเป็นต้องมีตัวแบบที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนยึดถือและนำไปปฎิบัติตาม ครูที่ดีจึงถ่ายทอดค่านิยมและจริยธรรมด้วยการแสดงตนเป็นตัวอย่างเสมอ การแสดงตนเป็นตัวอย่างนี้ถือว่าครูเป็นผู้นำในการพัฒนาศิษยEย่างแท้จริง
คำอธิบาย
การประพฤติปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงออกอย่างสม่ำเสมอของครูที่ศิษยEามารถสังเกตรับรู้ได้เอง และเป็นการแสดงที่เป็นไปตามมาตรฐานแห่งพฤติกรรมระดับสูงตามค่านิยม คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม
พฤติกรรมสำคัญ
1. ตระหนักว่าพฤติกรรมการแสดงออกของครูมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของศิษยEยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
1) ระมัดระวังในการกระทำ และการพูดของตนเองอยู่เสมอ
2) ไม่โกรธง่ายหรือแสดงอารมณEุนเฉียวต่อหน้าศิษยEองโลกในแง่ดี
ฯลฯ
2. พูดจาสุภาพและสร้างสรรคEดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศิษยEละสังคม ตัวอย่างเช่น
1) ไม่พูดคำหยาบหรือก้าวร้าว
2) ไม่นินทาหรือพูดจาส่อเสียด
3) พูดชมเชยให้กำลังใจศิษยE้วยความจริงใจ
ฯลฯ
3. กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี สอดคล้องกับคำสอนของตน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ตัวอย่างเช่น
1) ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดีอยู่เสมอ
2) แต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ
3) แสดงกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ
4) ตรงต่อเวลา
5) แสดงออกซึ่งนิสัยที่ดีในการประหยัด ซื่อสัตยEอดทน
6) สามัคคี มีวินัย
7) รักษาสาธารณสมบัติและสิ่งแวดล้อม
ฯลฯ
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE4 ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษE่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณE และสังคมของศิษยE/h3>
หลักการ
การแสดงออกของครูใดE ก็ตามย่อมมีผลในทางบวกหรือลบ ต่อความเจริญเติบโตของศิษยE เมื่อครูเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการพัฒนาทุกE ด้านของศิษยE จึงต้องพิจารณาเลือกแสดงแต่เฉพาะการแสดงที่มีผลทางบวก พึงระงับและละเว้นการแสดงใดE ที่นำไปสู่การชลอหรือขัดขวางความก้าวหน้าของศิษยEุกE ด้าน
คำอธิบาย
การไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษE่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณE และสังคมของศิษยEหมายถึง การตอบสนองต่อศิษยEนการลงโทษหรือให้รางวัลหรือการกระทำอื่นใดที่นำไปสู่การลดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และการเพิ่มพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
พฤติกรรมสำคัญ
1. ละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษยEกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณEละสังคมของศิษยE ตัวอย่างเช่น
1) ไม่นำปมด้อยของศิษยEาล้อเลียน
2) ไม่ประจานศิษยEbr> 3) ไม่พูดจาหรือกระทำการใดE ที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาหรือข้อบกพร่องของศิษยEbr> 4) ไม่นำความเครียดมาระบายต่อศิษยE ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือสีหน้า ท่าทาง
5) ไม่เปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่ของศิษยEbr> 6) ไม่ลงโทษศิษยEกินกว่าเหตุ
ฯลฯ
2. ละเว้นการกระทำที่เป็นอันตราต่อสุขภาพและร่างกายของศิษยE ตัวอย่างเช่น
1) ไม่ทำร้ายร่างกายศิษยEbr> 2) ไม่ลงโทษศิษยEกินกว่าระเบียบกำหนด
3) ไม่จัดหรือปล่อยปละละเลยให้สภาพแวดล้อมเป็นอันตรายต่อศิษยEbr> 4) ไม่ใช่ศิษยEำงานเกินกำลังความสามารถ
ฯลฯ
3. ละเว้นการกระทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทางสติปัญญา อารมณEจิตใจ และสังคมของศิษยE ตัวอย่างเช่น
1) ไม่ตัดสินคำตอบถูกผิดโดยยึดคำตอบของครู
2) ไม่ดุด่าซ้ำเติมศิษยEี่เรียนช้า
3) ไม่ขัดขวางโอกาศให้ศิษยEด้แสดงออกทางสร้างสรรคEbr> 4) ไม่ตั้งฉายาในทางลบให้แก่ศิษยE/p>
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
จรรยาบรรณข้อทีE5 ครูต้องไม่แสดดงหาประโยชนEันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษยEนการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษยEระทำการใดE อันเป็นการหาประโยชนEห้แก่ตนโดยมิชอบ
หลักการ
การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในวิชาชีพแสวงหาประโยชนEนโดยมิชอบ ย่อมทำให้เกิดความลำเอียงในการปฏิบัติหน้าทีE สร้างความไม่เสมอภาคนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาในบุคคลและวิชาชีพนั้น ดังนั้น ครูจึงต้องไม่แสวงหาประโยชนEันมิควรได้จากศิษยE หรือใช้ศิษยEห้ไปแสวงหาประโยชนEห้แก่คนโดยมิชอบ
คำอธิบาย
การไม่แสวงหาประโยชนEันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษยE ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษยEระทำการใดE อันเป็นการหาประโยชนEห้แก่ตนโดยมิชอบ หมายถึง การไม่กระทำการใดE ที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนเกินสิทธิที่พึงได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามปกติ
พฤติกรรมสำคัญ
1. ไม่รับหรือแสวงหาอามิสสินจ้างหรือผลประโยชนEันมิควรจากศิษยE ตัวอย่างเช่น
1) ไม่หารายได้จากการนำสินค้ามาขายให้ศิษยEbr> 2) ไม่ตัดสินผลงานหรือผลการเรียน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยน
3) ไม่บังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ศิษยEาเรียนพิเศษเพื่อหารายไดEbr> ฯลฯ
2. ไม่ใช้ศิษยEป็นเครื่องมือหาประโยชนEห้กับตนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความรู้สึกของสังคม ตัวอย่างเช่น
1) ไม่นำผลงานของศิษยEปแสวงหากำไรส่วนตน
2) ไม่ใช้แรงงานศิษยEพื่อประโยชนE่วนตน
3) ไม่ใช้หรือจ้างวานศิษยEปทำสิ่งผิดกฎหมาย
ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อทีE6 ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศนE ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
หลักการ
สังคมและวิทยาการมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ครูในฐานะผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษยE จึงต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต
คำอธิบาย
การพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศนE ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ หมายถึง การใฝ่รูE ศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรคEวามร้ใหม่ให้ทันสมัย ทันเหตุการณE และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและวิสัยทัศนE/p>
พฤติกรรมสำคัญ
1. ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรคEวามรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
1) หาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่างEอยู่เสมอ
2) จัดทำและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่างE ตามโอกาส
3) เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา หรือฟังการบรรยาย หรืออภิปรายทางวิชาการ
ฯลฯ
2. มีความรอบรูEทันสมัย ทันเหตุการณE สามารถนำมาวิเคราะหE กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น
1) นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
2) ติดตามข่าวสารเหตุการณE้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การเมืองอยู่เสมอ
3) วางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
ฯลฯ
3. แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น
1) รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
2) มีความเชื่อมั่นในตนเอง
3) แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
4) มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคม
ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อทีE7 ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององคEรวิชาชีพครู
หลักการ
ความรักและเชื่อมั่นในอาชีพของตนย่อมทำให้ทำงานอย่างมีความสุขและมุ่งมั่น อันจะส่งผลให้อาชีพนั้นเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ดังนั้นครูย่อมรักและศรัทธาในอาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององคEรวิชาชีพครูด้วยความเต็มใจ
คำอธิบาย
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององคEรวิชาชีพครู หมายถึง การแสดงออกด้วยความชื่นชมและเชื่อมั่นในอาชีพครูด้วยตระหนักว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ครูพึงปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและภูมิใจ รวมทั้งปกป้องเกรียติภูมิของอาชีพครู เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนองคEรวิชาชีพครู
พฤติกรรมสำคัญ
1. เชื่อมั่น ชื่นชม ภูมิใจในความเป็นครูและองคEรวิชาชีพครู ว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ตัวอย่างเช่น
1) ชื่นชมในเกียรติและรางวัลที่ได้รับและรักษาไว้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
2) ยกย่องชมเชยเพื่อนครูที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการสอน
3) เผยแพร่ผลสำเร็จของตนเองและเพื่อนครู
4) แสดงตนว่าเป็นครูอย่างภาคภูมิ
ฯลฯ
2. เป็นสมาชิกองคEรวิชาชีพครูและสนับสนุนหรือเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู ตัวอย่างเช่น
1) ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดขององคEร
2) ร่วมกิจกรรมที่องคEรจัดขึ้น
3) เป็นกรรมการหรือคณะทำงานขององคEร
ฯลฯ
3. ปกป้องเกียรติภูมิของครูและองคEรวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น
1) เผยแพร่ประชมสัมพันธEลงานของครูและองคEรวิชาชีพครู
2) เมื่อมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวงการวิชาชีพครูก็ชี้แจงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อทีE8 ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรคE/h3>
หลักการ
สมาชิกของสังคมใดพึงผนึกกำลังกันพัฒนาสังคมนั้นและเกื้อกูลสังคมรอบข้าง ในวงวิชาชีพครู ผู้ประกอบอาชีพครูพึงร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยความเต็มใจ อันจะยังผลให้เกิดพลังและศักยภาพในการพัฒนาวิชาชีพครู และการพัฒนาสังคม
คำอธิบาย
การช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรคE หมายถึง การให้ความร่วมมือ แนะนำปรึกษาช่วยเหลือแก่เพื่อนครูทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และการงานตามโอกาสอย่างเหมาะสม รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยการให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
พฤติกรรมสำคัญ
1. ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
1) ให้คำปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ
2) ให้คำแนะนำการผลิตสื่อการเรียนการสอน
ฯลฯ
2. ให้ความช่วยเหลือด้านทุนทรัพยE สิ่งของแด่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
1) ร่วมงานกุศล
2) ช่วยทรัพยEมื่อเพื่อนครูเดือนร้อน
3) จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ฯลฯ
3. เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ตัวอย่างเช่น
1) แนะแนวทางการป้องกัน และกำจัดมลพิษ
2) ร่วมกิจกรรมตามประเพณีของชุมชน
ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อทีE9 ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษEละพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
หลักการ
หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการศึกษาคือ การพัฒนาคนให้มีภูมิปัญญา และรู้จักเลือกวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ในฐานะที่ครูเป็นบุคลากรสำคัญทางการศึกษา ครูจึงควรเป็นผู้นำในการอนุรักษEละพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
คำอธิบาย
การเป็นผู้นำในการอนุรักษE และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย หมายถึง การริเริ่มดำเนินกิจกรรม สนับสนุนส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย โดยรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะหEลือกสรร ปฏิบัติตนและเผยแพร่ศิลปะ ประเพณี ดนตรี กีฬา การละเล่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การดำรงชีวิตตนและสังคม
พฤติกรรมสำคัญ
1. รวบรวมข้อมูลและเลือกสรรภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เหมาะสมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
1) เชิญบุคคลในท้องถิ่นมาเป็นวิทยากร
2) นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการเรียนการสอน
3) นำศิษยEปศึกษาในแหล่งวิทยาการชุมชน
ฯลฯ
2. เป็นผู้นำในการวางแผน และดำเนินการเพื่ออนุรักษEละพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น
1) ฝึกการละเล่นท้องถิ่นให้แก่ศิษยEbr> 2) จัดตั้งชมรม สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3) จัดทำพิพิธภัณฑEนสถานศึกษา
ฯลฯ
3. สนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น
1) รณรงคEารใช้สินค้าพื้นเมือง
2) เผยแพร่การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
3) ร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น
ฯลฯ
4. ศึกษาวิเคราะหE วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
1) ศึกษาวิเคราะหEกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ตำนานและความเชื่อถือ
2) นำผลการศึกษาวิเคราะห์
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). เพื่อชุมชนแห่งการศึกษาและบรรยากาศแห่งวิชาการ. (คุณธรรมของครู อาจารย์ และผู้บริหาร). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๔๐.
พระราชวรมุนี. (ประยูร ธมมจิตโต). ขอบฟ้าแห่งความรู้. (ปาฐกถา ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เนื่องในวันครบรอบ ๔๐ ปี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐) : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
วัลลภ ตังคณานุรักษ์. ครูของครูหยุย. (บรรยายพิเศษเนื่องในวันครู ๑๗ มกราคม ๒๕๓๗) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
วิจิตร ศรีสอ้าน. การยกสถานภาพของครูในกระแสโลกาภิวัตน์. (บรรยายพิเศษเนื่องในวันครู ๑๖ มกราคม ๒๕๓๘) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, กองวิชาชีพครู. เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.ศ.๒๕๓๗. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.
------------. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ.๒๕๓๙. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๐.
หนังสืออ่านประกอบ
เทพรัตนราชสุดาฯ. สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (ทรงแปลและเรียบเรียง). เมฆหินน้ำไหล.
"ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ด้วย ๕ แนวคิดหลัก". วารสารครุศาสตร์. ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๑ (กรกฎาคม-ตุลาคม ๒๕๔๐) ๑-๑๐๓.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. ความฝันของแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
------------. ความจริงของแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เจ.ฟิลม์โปรเซส จำกัด, ๒๕๔๑
เอกสารอื่นตามที่ผู้สอนแนะนำ เช่น
ชูชีพ บุญญานุภาพ. เชิงผาหิมพานต์.
จริยธรรมในวิชาชีพ
โดย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ
ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา : ชุดบทความประกอบการสัมมนา เรื่อง "จริยธรรมในวิชาชีพ"
วันที่ ๒๖ - ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๑ ห้องราชเทวีแกรนด์บอลรูม
โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ
โดยการสนับสนุนของ
สำนักงานกองทุนสนัุบสนุนการวิจัย (สกว.)
***
คำว่า "วิชาชีพ (profession)" นั้น มีผู้อธิบายความหมายไว้คล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันดังนี้ วิลเบอร์ต อี. มัวร์ (Wilbert E. Moore) อธิบายว่า วิชาชีพคือ การประกอบอาชีพเต็มเวลา โดยผู้ประกอบวิชาชีพ (professional) อุทิศเวลาให้แก่อาชีพนั้น ๆ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเดียวกัน และมักมีการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพอย่างเป็นรูปธรรม ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และทักษะในการประกอบวิชาชีพนั้น ๆ อันเป็นผลมาจากการที่ได้รับการฝึกอบรม หรือการศึกษาตรงตามสาขาที่ประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ของการประกอบวิชาชีพ ปฏิบัติงานและให้บริการด้วยจิตสำนึกในวิชาชีพ ตลอดจนมรความเป็นอสระในการประกอบวิชาชีพ อันเนื่องมาจากการที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพของตนในระดับสูง (๑)
ความหมายของคำว่า "วิชาชีพ" ตามที่มัวร์ได้อธิบายไว้นี้ ค่อนข้างจะคล้ายคลึงกับความหมายที่ตินปรัชญ์พฤทธิ์ได้ให้ไว้ในหนังสือชื่อ "วิชาชีพนิยมของระบบราชการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าิอยู่หัว" โดยเน้นว่า ความเป็นวิชาชีพ หรือวิชาชีพนิยม (professionalism) นั้น หมายถึงสิ่งที่กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยึดถือว่า องค์ควารู้ หรือความรอบรู้เกี่ยวกับอาชีของตนมีค่า และพยายามผลักดันให้สาธารณชนยอมรับสถานภาพอาชีพของตน (๒)
อนึ่ง คำว่า "profession" ที่แปลว่า "วิชาชีพ" นี้ได้รับการแปลความหมายในพจนานุกรม Oxford Advanced Learner's Dictionary ไว้ดังนี้ "profession: paid occupation especially one that requires advanced education and training" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "วิชาชีพ หมายถึง อาชีพที่ได้รับค่าตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเป็นอาชีพที่ต้องการการศึกษา และการฝึกอบรมในระดับสูง" (๓) ซึ่งก็ตรงกับที่ ส.เสถบุตร ได้อธิบายคำแปลของคำว่า "profession" ไว้ในพจนานุกรม New Modern English-Thai Dictionary ว่า คำว่า "profession" นั้น หมายถึง "อาชีพที่ใช้การศึกษาสูง เช่น ทนายความแพทย์ วิศวกร ครู ฯลฯ" ยังมีคำอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนมีความหมายว่า "อาชีพ" แต่ไม่ใช่วิชาชีพ ได้แก่คำว่า "career" ซึ่งแปลว่าอาชีพ แต่ไม่ใช่วิชาชีพ คำว่า "trade" ซึ่งหมายถึงอาชีพทั่ว ๆ ไป รวมทั้งการค้า แต่ไม่รวมการกสิกรรม และยังมีกิจวัตรอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นอาชีพ หรือไม่เป็นอาชีพก็ได้ ดังนี้ avocation, calling, employment, occupation, pursuit, voaction โดยทั่ว ๆ ไปคำเหล่านี้แปเป็นาษาไทยว่าอาชีพทั้งสิ้น (๔) ดังนั้น จึงขพอสรุปได้ว่า คำว่า "วิชาชีพ" นั้น มีคำแปลคำเดียยในภาษาอังกฤษคือคำว่า "profession"
นอกจากนี้ ติน ปรัชญพฤทธิ์ ยังเสนอเกณฑ์ของวิชาชีพนิยมในระดับมหภาค (ทั้งตามแนวทางประวัติศาสตร์ และแนวทางที่มิใช่ประวัติศาสตร์" และระดับจุลภาค หรือระดับบุคคล ดังต่อไปนี้
เกณฑ์ของวิชาชีพนิยมในระดับมหภาค
แนวตามประวัติศาสตร์
๑. การประกอบอาชีพเต็มเวลา
๒. การจัดแผนงานการศึกษาโดยสมาคมวิชาชีพ
๓. การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพ และการออกกฎหมายรับรองสถานสภาพของวิชาชีพ
๔. การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
๕. การมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ
๖. การเป็นที่ยอมรับของสังคม
๗. การมีความรอบรู้ในวิชาชีพ
๘. การให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ
๙. การมีความเป็นอิสระในวิชาชีพ
เกณฑ์ของวิชาชีพในระดับจุลภาคหรือระดับบุคคล
๑๐. การได้รับการศึกษาตรงตรามสาขาวิชาที่ประกอบอาชีพ
๑๑. การมีผู้คอยสนับสนุนในการประกอบอาชีพ
๑๒. การมีการวางแผนล่วงหน้าที่จะประกอบอาชีพ
๑๓. การมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน
๑๔. การมีความกระตือรือล้นในวิชาชีพ
๑๕. การประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
๑๖. การมีความจงรักภักดีและความผูกพันต่อวิชาชีพ
๑๗. การมองเห็นอนาคตในการประกอบวิชาชีพ
๑๘. การมีความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตน (๕)
จากเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่ามีหลายข้อที่คล้ายคลึงกับคำจำกัดความของคำว่า "วิชาชีพ" ตามที่มัวร์ได้ระบุได้ นอกจากนี้ ติน ปรัชญพฤทธิ์ ไ้ด้่เน้นความสำคัญของการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพ และการออกกฎหมายรับรองสถานภาพของวิชาชีพว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะสมาคมวิชาชีพจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายของสมาคม ในการกำหนดหลักจริยธรรมของวิชาชีพนั้น ๆ ต่อไป
นักวิชาการอีกผู้หนึ่งคือ ทาลคอทท์ พาร์สันส์ (Talcott Parson) ได้เน้นความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ซึ่งความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพตามทรรศนะของพาร์สัน นั้น มีลักษณะเดียวกับคุณสมบัติของ "มนุษย์สมัยใหม่" (modern man)" ในสังคมยุคปัจจุบันเป็นอันมาก (๖) กล่าวคือ "มนุษย์สมัยใหม่" จะต้องมีศรัทธาในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชื่อมั่นในความสามารถของมนุษย์ในการมีอำนาจเหนือธรรมชาติ วางแผนชีวิตไว้ล่วงหน้า ตรงเวลา สม่ำเสมอ และเป็นระเบียบเรียบร้อย ในการดำเนินชีวิตกิจการทั้งหลายทั้งปวงเป็นปัจเจกชนที่พึ่งตนเองได้ อ่านหนังสือพิมพ์ ชอบอยู่ในเมืองใหญ่ ใช้ความสำเร็จของตนเองเป็นบันได้ในการเลื่อนชั้นทางสังคม และที่สำคัญคือต้องมีการศึกษาดี เพราะการศึกษานั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์สมัยใหม่ หรือผู้ประกอบวิชาชีพ (๗)
สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่าคนไทยเริ่มรู้จักคำว่า "วิชาชีพ" เป็นครั้งแรกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และวิชาีชีพแรกที่คนไทยรู้จักก็คือวิชาชีพข้าราชการ จะเห็นได้่จากการที่พระองค์ทรงปฏิรูปโครงสร้างของระบบราชการ ตลอดนจนการบริหารประเทศให้ทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศ ดังที่เราทราบกันดีว่า พระองค์ทรงดำเนินนโยบายตามพระราชบิดาของพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการปรับปรุงประเทศให้เป็นสมัยใหม่ (modernization) ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราช์นั้น ตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์ใน พ.ศ.๒๔๑๑ จนถึง พ.ศ.๒๔๕๓ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระองค์
ดังนั้น คำว่า "วิชาชีพ" (profession) จึงเริ่มช้กันเป็นครั้งแรกในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงวิชาชีพข้าราชการ และการประกอบวิชาชีพ นั้น หมายถึง การประกอบวิชาชีพข้าราชการนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทรงปฏิรูปการปกครองประเทศ และก่อให้เกิดการมีวิชาชีพข้าราชการนั้น สืบเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ดังต่อไปนี้
ปัจจัยภายใน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ยังทรงพระเยาว์ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา อำนาจในการปกครองประเทศส่วนใหญ่ตกอยู่กับกลุ่มตระกูลบุนนาค ซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต้นตระกูลบุนนาค เป็นผู้นำบุคคลในตระกูลนี้หลายคน ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในวงราชการขณะนั้นแทบทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่พระองค์จะต้องทรงดำเนินการดึงอำนาจกลับสู่ถาบันพระมหากษัตริย์
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งเข้ามาในประเทศไทยก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวคิดตะวันตก ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง ตลอดจนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทย ในการปรับปรุงประเทศหลายประการ อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเหล่านั้น มิได้จำกัดอยู่ในแวดวงชนชั้นสูงกลุ่มเดียวเท่านั้น หากแต่ได้ขยายสู่สามัญชนด้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา มีคนไทยจำนวนหนึ่งไปศึกษาอบรม ดูงาน ในประเทศตะวันตก และได้รับอิทธิพลทางความคิดจากต่างประเทศมาไม่น้อย จึงหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศไปในแนวทางแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ภัยของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกก็เป็นสิ่งที่ตระหนักกันโดยทั่วไป ทั้งในหมู่ชนชั้นสูง และสามัญชนโดยทั่วไป ประเทศในเอเชียหลายประเทศได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจยุโรป ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว รัชกาลที่ ๕ จึงทรงปรับปรุงประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางตะวันตก และการปรับปรุงประเทศที่สำคัญคือ การปฏิรูปการปกครองและระบบราชการ ทั้งนี้โดยตรงมุ่งหวังที่จะพัฒนาวิชาชีพนิยมระบบราชการ และข้าราชการไทยให้มีความเข้มแข็ง และมีความรู้พอที่จะต่อสู่กับศัตรูจากภายนอกประเทศได้ การปรับปรุงประเทศที่สำคัญก็คือ การปฏิรูปการปกครองและระบบราชการ ซึ่งผลสำคัญของการปฏิรูประบบราชการนี้ อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประการ ดังนี้
๑. ทำให้อาชีพข้าราชการกลายเป็นวิชาชีพขึ้น ทั้งนี้ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่าวิชาชีพ คือ การประกอบอาชีพเต็มเวลา และมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับวิชาชีพนี้เริ่มขึ้นในประเทศตะวันตก เมื่อมีความเปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจจากระบบการผลิตเพื่อยังชีพมาเป็นระบบทุนนิยม และสำหรับในประเทศไทยนั้นเมื่อเวลาผ่านไป คำว่าวิชาชีพนี้ก็ได้ขยายขอบเขตไปผนวกวิชาชีพอื่น ๆ เข้าไว้ด้วย
๒. ทำให้เกิดมีสิ่งที่เรียกว่า "จรรยาบรรณวิชาชีพ" หรือในงานวิจัยนี้จะใช้คำว่า "จริยธรรมในวิชาชีพ" ขึ้น เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพข้าราชการขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เหตุที่ในงานวิจัยนี้จะใช้คำว่า "จริยธรรมในวิชาชีพ" แทนคำว่า "จรรยาบรรณวิชาชีพ" นั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่า "จรรยาบรรณ" นั้น เป็นการนำเอาคำว่า "จริย" มาสมาสกับคำว่า "บรรณ" ตามความหมายแล้วน่าจะแปลว่า "หนังสือจรรยา" มิใช่หลักแห่ความประพฤติตามที่มีผู้นำมาใช้กับวิชาชีพต่าง ๆ ประสงค์จะให้เป็นเช่นนั้น และอันที่จริงแล้ว คำว่า "จรรยาบรรณ" เป็นคำที่เกิดภายหลังคำว่า "จริยธรรม" ซึ่งเป็นคำที่เก่ากว่า และมีความหมายตรงกับคำว่า "จรรยาบรรณ" และเนื่องจากคำว่า "จริยธรรม" นั้น ได้มีผู้นิยามความหมายไว้มากมาย จึงจะขอยกความหมายทั่ว ๆ ไปพอสังเขปดังต่อไปนี้
พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส อินฺทปญโญ) กล่าวว่าจริยธรรมแปลว่า เป็นสิ่งที่พึงประพฤติ จะต้องประพฤติ ส่วนศีลธรรมนั้นหมายถึง สิ่งที่กำลังประพฤติอยู่ หรือประพฤติแล้ว จริยธรรม หรือ ethics อยู่ในรูปของปรัชญา คือ สิ่งที่ต้องคิดต่้องนึก ส่วนเรื่องศีลธรรมหรือ morality นี้ต้องทำอยู่จริง ๆ เพราะเป็นปัญหาเฉพาะหน้า (๙)
พระราชวรมุณี (ประยุทธ ปยุตฺโต) ได้อธิบายความหมายของคำว่า "จริยธรรม" ไว้ว่า จริยธรรม มาจากคำว่าพรหมจรรย์ ซึ่งในพุทธศาสนาหมายถึง มรรค คือ วิธีการปฏิบัติสายกลาง ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการ บางครั้งก็เรียกว่า "ไตรสิกขา" คือ การศึกษา ๓ ประการ อันได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา่ ดังนั้น จริยธรรม หรือพรหมจรรย์ มรรค และไตรสิกขา ทั้งหมดนี้เป็นทางปฏิบัติเพื่อนำมนุษย์ไปสู่จุดหมายในชีวิต (๑๐)
ระวี ภาวิไล ให้ความหมายว่า ชีวิตคือการมีคนและมีโลกสัมพันธ์กัน จริยธรรมเป็นหลักกำหนดว่า ตนมุ่งอะไรในโลก และพึงปฏิบัติอย่างไร จึงแบ่งจริยธรรมออกเป็น ๓ ข้อ คือ ๑) รู้จักโลก รู้จักตน ๒) รู้จักทุกข์ รู้จักชีวิต ๓) รู้จักทุกข์ในชีวิต (๑๑)
วิทย์ วิศทเวทย์ อธิบายว่า จริยธรรม คือ ความประพฤติตามค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยใช้วิชาจริยศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมด้านคุณค่า สามารถวิเคราห์ค่านิยมที่เป็นคู่กัน (dichotomy) สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งมดดี ควรกระทำ และสิ่งใดควรละเว้น (๑๒)
สาโรช บัวศรี กล่าวว่า จริยธรรม คือ หลักความประพฤติที่อบรมกิริยา และปลูกฝังลักษณะนิสัยให้อยู่ในครรลองของคุณธรรมหรือศีลธรรม (๑๓)
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ มีความเห็นว่า จริยธรรมคือสิ่งที่คนในสังคมเกิดความเชื่อถือ ซึ่งมีตัวตนมาจาก ปรมัตถสัจจะ ในลัมธิศาสนาอื่น ๆ ถ้าเข้าใจปรมัตถสัจจะชัดแจ้ง และประพฤติตามนั้น จริยธรรมในสังคมย่อมเป็นผลพลอยได้ ให้บังเิกิดความยุติธรรม ความเมตตาปรานี และความเป็นอิสระแก่กัน แต่ความลำบากอยู่ตรงที่เมื่อยังเข้าไม่ถึงตัวปรมัตถสัจจะ การตีความในเรื่องปรมัตถให้ชัดแจ้งเป็นไปได้ยาก แม้เข้าใจชัดก็น่ามาปฏิบัติให้เต็มภาคภูมิได้ยาก (๑๔)
จำรัส ดวงธิสาร กล่าวว่า จริยธรรมมีความหมายตามหลักพระพุทธศาสนาว่าเส้นบรรทัด และเครื่องกล่อมเกลาให้มนุษย์เคลื่อนไหว ประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา และใจอย่างมีกติกา (๑๕)
สุภา ศิริมานนท์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า จริยธรรม คือ ธรรมจริยา ซึ่งหมายถึง คำสอนเกี่ยวกับความประพฤติ และท่านใช้คำว่า "จริยธรรมของหนังสือพิมพ์" แทนคำว่า "จรรยาบรรณของหนังสือพิมพ์" ในหนังสือของท่าน ซึ่งกล่าวถึงหลักความประพฤติของนักหนังสือพิมพ์ (๑๖)
ก่อ สวัสดิพาณิชย์ สรุปว่า จริยธรรม คือประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งดีงามและเหมาะสม จริยธรรมในสมัยก่อนและสมัยปัจจุบัน ในชนชทและในเมืองก็มีทั้งที่ดีและเลวเหมือนกัน (๑๗)
ดังนั้น หากจะกล่าวโดยสรุป นักวิชาการส่วนใหญ่เหล่านี้ลงความเห็นว่า จริยธรรม คือ หลักการที่มนุษย์ในสังคมยึดถือปฏิบัติ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมนั่นเอง และเมื่อนำไปใช้กับการประกอบวิชาชีพ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการทำงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ก็ย่อมหมายความว่า มนุษย์ย่อมจะต้องมีจริยธรรมในการทำงาน หรือการประกอบวิชาชีพ เพราะในการทำงาน มนุษย์ย่อมต้องมีสังคมซึ่งประกอบด้วยคนหลายคน เนื่องจากในวงการของการทำงานนั้น การทำงานคนเดียว ย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงสมควรมีการวางกรอบให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติ เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสงบสุข
อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนที่จะเกิดคำว่า "วิชาชีพ" ขึ้นในประเทศไทยนั้น คนไทยมิได้มีสิ่งที่เรียกว่า "จรรยาบรรณในวิชาชีพ" หรือ "จริยธรรมในวิชาชีพ" (Code of Ethics)* (คำว่า "จรรยาบรรณ" และคำว่า "จริยธรรม" นั้น แม้รากศัพท์จะมีความหมายต่างกัน แต่โดยความหมายที่นักวิชาการทั่ว ๆ ไปใช้ ก็คือหมายถึง หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสม และอันที่จริงแล้ว ถ้าพิจารณาตามรากศัพท์ คำว่า "จริยธรรม" ดูจะมีความหมายตรงกับคำว่า "หลักแห่งความประพฤติ" มากกว่าคำว่า "จรรยาบรรณ" เสียอีก เพราะคำว่า "จรรยาบรรณ" แปลว่า หนังสือว่าด้วยเรื่องความประพฤติ ในขณะที่คำว่า "จริยธรรม" (จริย+ธรรม) แปลว่า ธรรมอันบุคคลพึงปฏิบัติ ดังนั้น ในบทความทุกเรื่องในชุด "จริยธรรทวิชาชีพ" นี้ จึงจะขอใช้คำว่า "จริยธรรมในวิชาชีพ" เพราะให้ความหมายที่ตรงกว่า ยกเว้นในการณีการอ้างข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ) ในลักษณะเดียวกับจริยธรรมในวิชาชีพของประเทศตะวันตก เนื่องจากว่าในประเทศตะวันตกนั้น จริยธรรมในวิชาชีพเป็นผลพวงของการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นเป็้นส่วนใหญ่ ครั้นเมื่องมีการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นแล้ว บุคคลในวิชาชีพนั้น ๆ นั่นเองที่เป็นผู้กระตุ้นให้เกิดการมีจริยธรรมในวิชาชีพขึ้น เพื่อยกฐานะวิชาชีพของตนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ดังตัวอย่างของจรรยาแพทย์ที่เรียกว่า Hippocratic Oath ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยบาบิโลน และโรมัน อย่างไรก็ตาม จริยธรรมในวิชาชีพของชาวตะวันตกนั้น มิได้มีบ่อเกิดมาจากการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพแต่เพียงอย่างเดียวเท่่านั้น บางส่วนอาจจะมาจากปรัชญาทางการเมือง อิทธิพลทางศาสนา แนวคิดหรือุดมการ์ของผู้รู้ หรือพระมหากษัตริย์ ความจำเป็นเฉพาะหน้า วินัย ฯลฯ เป็นต้น (๑๘)
สำหรับจริยธรรมวิชาชีพในประเทศไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้น อาจกล่าวได้ว่ามีรากฐานมาจากหลายแหล่งด้วยกันดังต่อไปนี้
๑. หลักจริยธรรมที่ได้จา่กอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร ราชสังคหวัตถุ และราชสวดีธรรม
ทศพิธราชธรรม นั้น แปลตามตัวหมายถึงธรรมของพระมหากษัตริย์ แต่อันที่จริงแล้วเป็นหลักธรรมซึ่งมิใช่พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ควรปฏิบัติ ข้าราชการทั่ว ๆ ไปก็ควรปฏิบัติตามด้วย ได้แก่ ๑) ทาน ๒) ความประพฤติที่ดีงามหรือศีล ๓) การบริจาค หรือการยอมสละผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ๔) ความเป็นคนตรง ๕) ความสุภาพอ่อนโยนต่อชนทั้งปวง ๖) ความเพียร ๗) ความไม่โกรธ ๘) ความไม่เบียดเบียน ๙) ความอดทน และ ๑๐) ความไม่ผิดพลาด
จักรวรรดิวัตร เป็นหลักธรรมที่มีจุดประสงค์ให้พระมหากษัตริย์ และข้าราชการของพระองค์ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเมือง ดังต่อไปนี้ ๑) การอบรมให้ผู้อยู่ในปกครองตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ๒) การผูกพันธไมตรีกับต่างประเทศ ๓) การให้รางวัลอันสมควรแก่ผู้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ๔) การเกื้อกูลผู้ทรงศีล เครื่องพรต และไทยธรรม และอนุเคาระห์คฤหบดี ด้วยการให้ความช่วยเหลือในสิ่งจำเป็นสำหรับอาชีพ ๕) การอนุเคราะห์ให้เลี้ยงชีพได้ตามควรแก่อัตภาพ ๖) การให้อุปการะแก่ผู้ทรงศีลที่ประพฤติชอบ ๗) ห้ามการเบียดเบียนสัตว์ ๘) การชักนำให้ชนทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรม ขจัดการทำบาป ทำกรรม และความไม่เป็นธรรม ๙) การให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ขัดสนไม่พอเลี้ยงชีพ ๑๐) การเข้าหาผู้ทรงศีลในโอกาสอันควร เพื่อศึกษาถึงบุญบาป ๑๑) การตั้งวิรัติห้ามจิตไม่ให้เกิดอธรรมราคะดำฤาณาในที่ไม่ควร และ ๑๒) การระงับความโลภ ห้ามจิตไม่ให้ปรารถนาลาภที่ไม่ควรได้
ราชสังคหวัตถุ คือ หลักธรรมที่ใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง และการพัฒนาประเทศหรือรัฐาภิบาล ๑ รัฐประศาสนโยบาย ซึ่งได้แก่ ๑) การบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ๒) การรู้จักดูคน รู้จักใช้คนให้เหมาะกับงาน และให้รางวัลตามสมควรของเขา ๓) การรู้จักแก้ปัญหาสังคมให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ และ ๔) การพูดจาไพเราะ
ราชวสดีธรรม คือ ธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติต่อราชการซึ่งมีทั้งหมด ๔๙ ข้อ และพอจะสรุปออกมาได้เป็น กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ธรรมที่เกี่ยวกับการปฏฺบัติต่อพระราชาโดยตรง ๒) ธรรมเกี่ยวกับการควบคุมตนเอง และ ๓) ธรรมที่เกี่ยวกับการงานโดยตรง ดังตัวอย่างของธรรมเหล่านี้ต่อไปนี้
- เมื่อเข้ารับราชการใหม่ ๆ ยังไม่มีชื่อเสียง และยังมิได้มียศศักดิ์ ก็อย่ากล้าจนเกินพอ และอย่าขลาดกลัวจนเสียราชการ
- ข้าราชการต้องไม่มักง่าย ไม่เลินเล่อเผลอสติ แต่ต้องระมัดระวังให้ดีอยู่เสมอ ถ้าหัวหน้าทราบความประพฤติ สติปัญญา และความซื่อสัตย์ สุจริตแล้ว ย่อมไว้วางใจ และเผยความลับให้ทราบด้วย
- ไม่พึงเห็นแก่หลับนอนจนแสดงให้เห็นเป็นการเกียจคร้าน
- เมื่อพระมหากษัตริย์จะทรงยกย่องพระราชโอรสหรือพระราชวงศ์ โดยพระราชทานบ้าน นิคม รัฐ (นครรัฐ) หรือชนบทให้ครอบครอง ก็ควรนิ่งดูก่อนไม่ควรด่วนเพ็ดทูลคุณหรือโทษ
- ข้าราชการพึงใฝ่ใจเข้าไปหาสมณะและพราหมณีผู้ทรงศีล ผู้เป็นนักปราชญ์ หรือรู้หลักนักปราชญ์ดี เพื่อรักษาศีล ฟังธรรมบ้าง ศึกษาถ่ายทอดเอาความรู้ท่านบ้าง (๑๙) ฯลฯ
๒. หลักจริยธรรมที่ได้จากคำสาบาน กฎหมาย หรือวินัย หลักจริยธรรมที่ได้จากคำสาบานของข้าราชการที่เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือเป็นหลักจริยธรรมที่ได้รับการระบุไว้ในกฎหมาย หรือวินัยของข้าราชการ เช่น กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พุทธศักราช ๑๘๙๕ กฎมณเทียรบาล จ.ศ.๗๒๐ ฯลฯ เป็นต้น
หลักจริยธรรมที่่ได้จากคำสาบานของข้าราชการที่เข้ารับตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น คำสาบานของปรีวีเคาน์ซิลลอร์ หรือองคมนตรี ใน พ.ศ.๒๔๑๗
ข้อ ๓ การสิ่งใดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริห์ไว้ในที่ปรีวีเคาน์ซิล ซึ่งยังไม่เป็นการเปิดเผย ข้าพระพุทธเจ้าจะรักษาความข้อนั้นไว้ให้เป็นการลับมิให้แพร่งรายได้
ข้อ ๔ ข้าพระพุทธเจ้าจะไม่ทำการผิด กลับเอาเท็จเป็นจริง เพราะเห็นแก่อามิสสินบล แลผลประโยชน์ในตน แลเพราะเชื่อคำคนยุ ชัำำำกนำให้เสียจากสิ่งที่ตรง
ข้อ ๕ การสั่งใดที่ได้ปฤกษาตกลงกันแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะเอาใจใส่ ช่วยค้ำชูอุดหนุนในการซึ่งปฤกษาตกลงกันนั้น ให้มั่นคงแข็งแรง
หลักจริยธรรมที่ได้จากกฎหมาย หรือวินัยนั้น เป็นหลักการที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกตัวอย่างเช่น
กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พุทธศักราช ๑๘๙๕ มีบทลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดจริยธรรมในหน้าที่ราชการอยู่หลายประการ ดังจะยกตัวอย่างมาพอสังเขปต่อไปนี้
- กระทำเหนือพระราชบัญญัติ
- ขัดพระบัณฑูรพระโองการ
- มิได้กระทำตามตรัส
- เพโทบายเอาแต่เงินทองสิ่งของ ๆ เขาให้เสียราชการ
- ข่มเหงราษฎร
- แปลงพระธรรมนูญ แปลงพระโองการ
- แปลงตราสารสำนวนถ้อยคำ ฯลฯ
การกระทำผิดเหล่านี้ถือว่ามีความผิด และกฎมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดบทลงโทษตามความผิดหนักเบาต่าง ๆ ไว้ ๑๐ สถาน ดังนี้ ๑) ฟันทอริบเรือนเอาเมียเป็นข้า รับทรัพย์สิ่งของเข้าพระคลัง ๒) ตัดมือตัดเท้าจงใส่ตรุไว้ ๓) ทวนด้วยหน้าไม้ หวาย แล้วประจานจำใส่ตรุ ๔) ไหมจัตรุคุณ แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง ๕) ไหมตรีคูณ แล้วเอาตัวออกจากราชการ ๖) ไหมตรีคูณ แล้วพระจานสามวัน เจ็ดวันให้พ้นโทษ ๗) ไหมลาหนึ่ง แล้วให้ใช้ของ ๆ เขา ๘) ตัดปาก แหวะปาก เอามะพร้าวห้าวยัดปาก ๙) ภาคยทัณฑ์ไว้ ๑๐) ให้กดอุเบกษาไว้
กฎมณเฑียรบาล จ.ศ.๗๒๐ ซึ่งเริ่มใช้ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ดังตัวอย่าง มาตรา ๖๗
- ถ้าคบกันกินเหล้าในพระราชวัง ให้ต้มเหล้าให้ร้อนกรอกปาก แล้วให้จำไว้
- ผู้ใดเล่นว่าวข้ามพระราชวังก็ดี ซัดไม้ค้อนก้อนดิน อิฐผาข้ามพระราชวังโทษตัดมือ
- ขว้างพระที่นั่งโทษถึงตาย
- ใช้บันดาศักดิ์นอนในพระราชวัง และเข้ามานอนไซร์ให้ตีผู้นอน และผู้ขอนอนคนละ ๑๐ ที (๒๐) ฯลฯ
๓. หลักจริยธรรมที่ได้จากพระราชดำริ และพระราโชวาทของรัชกาลที่ ๕ รวมทั้งโอวาทของข้าราชการระดับสูง เช่น เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น ซึ่งพระราชดำริ พระราโชวาท และโอวาท เหล่านี้ระบุหลักจริยธรรมที่ข้าราชการพึงควรประพฤติไว้ทั้งสิ้น ดังเช่น พระราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง "พ่อสอนลูก" พระราชทานแก่พระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ เมื่อเสด็จไปทรงศึกาาต่อต่าประเทศใน พ.ศ.๒๔๒๘ ดังมีใจความว่า
อย่าถือว่าตัวเป็นลูกเจ้าแผ่นดิน
พ่อมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในบ้านเมือง
ถึงจะเกะกะไม่เกรงกลัวข่มเหงผู้ใด
เขาก็คงจะมีความเกรงใจพ่อ ไม่ต่อสู้
หรือไม่อาจฟ้องร้องว่ากล่าว
การซึ่งเชื่อเ่ชนนั้นเป็นการผิดแท้ทีเดียว ...
เพราะฉะนั้น จงรู้เถิดว่า
เมื่อใดทำความผิดจะได้รับโทษทันที
การที่มีพ่อเป็นเจ้าแผ่นดินนั้น
จะไม่เป็นการช่วยเหลืออุดหนุนแก้ไขอันใดได้เลย...
จงประพฤติตัวหันมาทางที่ชอบที่ถูกเสมอเป็นนิจเถิด
ละเว้นทางที่ชั่ว (๒๑)
ด้วยเหตุนี้ ลักษณะความเป็นวิชาชีพนิยม (professionalism) ของอาชีพข้าราชการจึงอาจกล่าวได้ว่า เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และหลักจริยธรรมในวิชาชีพก็เริ่มขึ้นในระบบเกียวกันนั่นเอง แม้จะมิได้มีการรวมตัวกันของบุคคลในวิชาชีพข้าราชการ เพื่อจัดตั้งสมาคมข้าราชการขึ้นดังในต่างประเทศก็ตาม แต่ก็แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีความเป็นวิชาชีพนิยมของอาชีพข้าราชการเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการพิจารณากันถึงเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการ ซึ่งประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการเริ่มเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เพราะผู้ประกอบวิชาชีพข้าราชการนั่นเอง ที่เล็งเห็นความสำคัญของการมีจริยธรรมในการประกอบวิชาชีีพของตน
ครั้ลุล่วงถึงสมัยต่าง ๆ มา ความเป็นวิชาชีพนิยมได้ขยายขอบเขตกว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น และได้ผนวกเอาอาชีพอื่น ๆ เข้าไว้ด้วย และเช่นเดียวกันวิชาชีพข้าราชการ บุคคลผู้ประกอบวิชาชีพนั้น ๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการประกอบวิชาชีพ อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีจริยธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของศาธารณชน แต่ละวิชาชีพได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมวิชาชีพของตนขึ้น ในเวลาต่อมาทุกสมาคมต่างก็ร่วมมือกันสร้างจริยธรรมในวิชาชีพ (หรือที่มักนิยมเรีียกกันอย่างแพร่หลายว่า จรรยาบรรณวิชาชีพ) ของตนขึ้น จนถึงสมัยปัจจุบันเกือบทุกวิชาชีพต่างก็มีสมาคมวิชาชีพ กฎหมายควบคุมวิชาชีพ และจริยธรรมในวิชาชีพของตน จะขอยกตัวอย่างจริยธรรมในวิชาชีพสำคัญ ๆ มาพอสังเขปดังต่อไปนี้
วิชาชีพแพทย์พยาบาล โดยเหตุที่วิชาชีพแพทย์ วิชาชีพพยาบาล เป็นวิชาชีพซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ ประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ดังนั้นจริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ วิชาชีพพยาบาล จึงเน้นหลักไปในด้านความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์พยาบาลกับผู้ป่วย จะขอกล่าวถึงจริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ก่อนว่า ได้มีการเน้นเรื่องจริยธรรมของแพทย์ที่พึงปฏิบัติต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมากดังนี้
ข้อ ๑ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดีที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรค และความพิการต่าง ๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ ๖ ผู้ประกอบอาชีพเวชกรรมต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่สั่ง ใช้ หรือสนับสนุนการใช้ยาตำรับลับ รวมทั้งใช้อุปกรณ์การแพทย์อันไม่เปิดเผยส่วนประกอบ
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เผิดเผยความลับของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมา เนื่องจากการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือตามหน้าที่ (๒๒)
ตัวอย่างที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า มีการให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และยังมีอีกหลายข้อ ซึ่งมิได้นำมากล่าวอ้างในที่นี้ซึ่งเน้นว่า แพทย์จะต้องประกอบวิชาชีพโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ป่วยมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง และจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากการประกอบวิชาชีพแพทย์ไม่ว่ากรณีใด ๆ
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ จริยธรรมวิชาชีพแพทย์ ซึ่งร่างขึ้นตั้งแต่การนี้เน้นว่า แพทย์จะต้องไม่เรียกร้องทรัพย์สินเงินทองจากผู้ป่วย นอกเหนือจากค่า่บริการอันพึงได้รับตามปกติ แสดงให้เห็นว่า แพทย์ในอดีตคงจะไม่รับค่าตอบแทนมากมายนัก ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ประเด็นที่ว่าวิชาชีพแพทย์ปลอดจากการเข้ามาแทรกแซงทางด้านธุรกิจนี้เอง ส่งเสริมให้วิชาชีพแพทย์ในสมัยโบราณเป็นวิชาชีพซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีเกียรติสูงส่งจากสังคม
สำหรับวิชาชีพพยาบาลนั้น ก็เช่นเดียวกับวิชาชีพแพทย์ คือ เป็นวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบชีวิตมนุษย์ จึงต้องมีจริยธรรมทางการพยาบาลที่กำหนดไว้แน่นอนตายตัว เพื่อให้สมาชิกของวิชาชีพยึดถือเป็นหลักปฏิบัติของตนเอง และต่อสังคม ข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพพยาบาล และการผดุงครรภ์ รวมทั้งการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ พ.ศ.๒๕๓๐ ได้กำหนดหลักจริยธรรมของพยาบาลในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยไว้ถึง ๑๗ ข้อ จะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพการพยาบล หรือการผดุงครรภ์ในระดับที่ดีที่สุด ด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ โดยไม่เรียกร้องสินจ้างรางวัลพิเศษ นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนเนื่องจากการรับส่งผู้ป่วย หรือผู้รับบริการ เพื่อรับบริการทางการแพทย์ หรือการผดุงครรภ์
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วยเมื่อได้รับคำขอร้อง และตนอยู่ในฐนะที่จะช่วยได้
ข้อ ๑๖ ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจะทำการผดุงครรภ์ได้แต่เฉพาะรายที่มีครรภ์ปกติและคลอดอย่างปกติ ตลอดจนการพยาบาลมารดา และทารก
ในรายที่มีครรภ์ผิดปกติหรือคลอดผิดปกติ ถ้าไม่สามารถหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมมาทำการคลอดได้ภายในเวลาอันสมควร และเห็นประจักษ์ว่าถ้าละเลยไว้จะเป็นอันตรายแก่มารดาหรือทารก ก็ให้ทำคลอดในรายเช่นนั้นได้ แต่ห้ามมิให้ใช้คีมสูง หรือทำการผ่าตัดในการทำคลอด หรือฉีดยารัดมดลูกก่อนคลอด (๒๓)
จะเห็นได้ว่า หลักจริยธรรมในวิชาชีพพยาบาลที่ได้กำหนดไว้นี้ มีจุดมุ่งหมายให้พยาบาลตระหนักในบทบาทของตนเอง เพื่อสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย ด้วยความตระหนักในคุณค่า ศักดิ์ศรี ตลอดจนสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็จะต้องรักษามาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ และธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรมในการประกอบวิชาชีพของตนด้วย
วิชาชีพนักกฎหมาย ได้มีปรากฏในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ซึ่งระบุหลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพนักกฎหมายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา หรือทนายความไว้อย่าละเอียด ดังต่อไปนี้
จริยธรรมผู้พิพากษา
ข้อ ๒ ผู้พิพากษาพึงตรวจสำนวนความ และตระเตรียมการดำเนินกระบวนพิจาณาไว้ให้พร้อม ออกนั่งพิจาณาตรงตามเวลา และไม่เลื่อนการพิจารณาโดยไม่จำเป็น
ข้อ ๘ การเปรียบเทียบหรือไกล่เกลี่ยคดี จักต้องกระทำในศาล ผู้พิพากษาพึงชี้แจงให้คู่ความทุกฝ่ายตระหนักถึงผลดีผลเสียในการดำเนินคดีต่อไป ทั้งนี้จักต้องไม่ให้คำมั่นหรือบีบบังคับให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทุกฝ่ายยอมรับข้อเสนอใด ๆ หรือให้จำเลยรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ และจักต้องไม่ทำให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระแวงว่าผู้พิพากษาฝักใฝ่ช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
ข้อ ๑๒ เมื่อจะพิพากษา หรือมีคำาัสั่งคดีเรื่องใด ผู้พิพากษาจำต้องละวงาอคติทั้งปวงเกี่ยวกับคู่ความ หรือคดีความเรื่องนั้น ทั้งจะต้องวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า และไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด (๒๔)
จริยธรรมทนายความ
ข้อ ๔ ทนายความผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ
หมวด ๒
มรรยาทต่อศาลและในศาล
ข้อ ๕ ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก่ต่างในคดีอาณา เว้นแต่จะมีข้อแก้ตัวโดยสมควร
ข้อ ๖ ไม่เคารพยำเกรงอำนาจศาล หรือกระทการใดอันเป้นการดูหมิ่นศาล หรือผู้พิพากษาในศาล หรือนอกศาล อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียอำนาจศาล หรือผู้พิพากษา
ข้อ ๗ กล่าวความ หรือทำเอกสาร หรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายลวงให้ศาลหลง หรือกระทำการใดเพื่อทราบคำสั่ง หรือคำพิพากษา ของศาลที่ยังไม่เปิดเผย
ข้อ ๘ สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อทำพยานหลักฐา่นเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือโดยปกปิดซ่อนงำอำพรางพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งควรนำมายื่นต่อศาล หรือสัญญจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน (๒๕)
เช่นเดียวกับแพทย์พยาบาล ซึ่งดูแลทุกข์สุขของประชาชนในด้านสุขภาพอนามัยทางร่างกาย นักกฎหมายดูแลทุกข์สุขของประชาชนในด้านความคิดและการกระทำ วิชาชีพนักกฎหมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาชีพนักกฎหมายมีละกษณะพิเศษประการหนึ่งคือ เป็นงานที่ดำเนินการให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งจัดว่าเป็นงานที่ยากลำบาก และเป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการตลอดไป ไม่่ว่ายุคสมัยใด ภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจหลัก ซึ่งต้องการผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ยิ่งไปกว่านั้นประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน และจักต้องทำงานด้วยความอิสระ ไม่อยู่ใต้อำนาจการบงการของผู้ใด จิตติ ติงศภัทิย์ แสดงความคิดเห็นไว้ว่า คุณสมบัติของนักกฎหมายที่จะทำงานด้วยความเป็นอิสระได้ก็คือ "ความกล้าในการแสดงความคิดเห็น นักกฎหมายไม่ใช่บุคคลประเภทขอรับกระผม ที่เรียกว่า yes man หรือที่ล้อกันว่า ใต้เท้ากรุณาบัญชาไม่ผิด" (๒๖)
กล่าวโดยสรุป ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ใช้กฎหมายให้เป็นธรรม รอบรู้วิชาการ และมีอิสระในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม ซึ่งเป็นประเด็นที่ยากลำบากอย่างยิ่ง เพราะบางครั้งอาจต้องเผชิญกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลซึ่งถือว่าอำนาจคือความถูกต้อว
วิชาชีพครูอาจารย์ เป็นวิชาชีพหนึ่งซึ่งเน้นความสำคัญของจริยธรรมในวิชาชีพไว้เป็นอย่างมาก ในกรณีนี้ได้มีการแบ่งไว้อย่างชัดเจน ระหว่างจริยธรรมในวิชาชีพครูในโรงเรียน และจริยธรรมในวิชาชีพอาจารย์ในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หลักจริยธรรมที่ได้กำหนดไว้นั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ ดังนี้
จริยธรรมครู
คุณลักษณะ พฤติกรรมหลัก พฤติกรรมบ่งชี้
๑. มีความเมตตากรุณา ๑.๑ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานและสังคม ๑.๑.๑ ไม่นิ่งดูดาย และเต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังความสามารถ
๒. มีความยุติธรรม ๑.๒ มีความสนใจและห่วงใยในการเรียน และความประพฤติของผู้เรียน ๑.๒.๑ แนะนำเอาใจใส่ ช่วยเหลือเด็ก และเพื่อนร่วมงานให้ได้รับความสุขและพ้นทุกข์
๑.๒.๒ เป็นกันเองกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึกเปิดเผย ไว้วางใจ และเป็นที่พึ่งของผู้เรียนได้
๒.๑ มีความเป็นธรรมต่อนักเรียน
๒.๑.๑ เอาใจใส่ และปฏิบัติต่อผู้เรียน และเพื่อนร่วมงานทุกคนอย่างเสมอภาค และไม่ลำเอียง
๒.๒.๑ ยินดีช่วยเหลือผู้เรียน ผู้ร่วมงาน และผู้บริหาร โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
๒.๒ มีความเป็นกลาง
๘. มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู ๘.๑ เห็นความสำคัญของวิชาชีพครู
๘.๑.๑ สนับสนุนการดำเนินงาน ขององค์กรวิชาชีพครู
๘.๑.๒ เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาชีพครู
๘.๑.๓ ร่วมมือ และส่งเสริมให้มีการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู
๘.๒ รักษาชื่อเสียงวิชาชีพครู ๘.๒.๑ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดี และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
๘.๒.๒ รักษาความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน
๘.๒.๓ ปกป้อง และสร้างความเข้าใจอันดีต่อสังคม เกี่ยวกับวิชาชีพครู
๘.๓ เกิดความสำนึก และตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี ๘.๓.๑ ปฏิบัติตนให้เหมาะสม ที่เป็นปูชนียบุคคล (๒๗)
นอกจากนี้ยังมีจริยธรรม หรือจรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยดังนี้
จริยธรรมของอาจารย์ที่ปรึกษา
๑. รักษาความลับของศิษย์อย่างเคร่งครัด
๒. พิทักษ์และปกป้องผลประโยชน์ของศิษย์
๓. อุทิศเวลาเพื่องานอาจารย์ที่ปรึกษา
๔. ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มความสามารถ
นอกจากนี้ยังมีหลักการที่อาจารย์ที่ปรึกษา คือ
๑. อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องช่วยให้งานอุดมศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ คือการสร้างบัณฑิตที่เป็นคนที่สมบูรณ์
๒. อาจารย์ที่ปรึกษาจะช่วยพัฒนาความพร้อมทางสติปัญญษ ให้ใฝ่รู้ และวิธีการแสวงหาความรู้
๓. ช่วยให้นิสิตประสบความสำเร็จ และมีชีวิตสมบูรณ์อยู่ในมหาวิทยาลัย
๔. ช่วยให้นิสิตเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
๕. พัฒนาทัศนคติ จริยธรรม และศิลปวัฒนธรรมให้แก่นิสิต
จริยธรรมอาจารย์
๑. อาจารย์พงวางตนให้เป็นผู้ควรแก่การยกย่อง เป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์
๒. อาจารย์ควรเป็นผู้มีเหตุผล พึ่งเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และไม่พึงบังคับไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นมีความคิดเห็นคล้อยตามตน
๓. อาจารย์ไม่พึงปฏิบัติต่อผูั้ใดอย่างมีอคติ โดยอาศัยเหตุผลทางเชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ
๔. อาจารย์ไม่พึงเรียก รับ หรือยอมจะรับประโยชน์ใด ๆ ซึ่งชักนำ หรือาจจชักนำไปให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนไม่สุจริตเที่ยงธรรม หรือให้ หรือรับว่าจะให้ ซึ่งประโยชน์ที่ตนสามารถจะให้ได้ในอำนาจหน้าที่ของตน เพื่อแลกเปลี่ยนกับประโยชน์อันไม่ควรให้
๕. อาจารย์พึ่งมีความรอบรู้ทางวิชาการ พึ่งเตรียมการสอน และเข้าสอนโดยสม่ำเสมอตามกำหนด ในการสอนนั้นจะต้องไม่จงใจปิดบังอำพราง หรือปิดเบือนเนื้อหาสาระทางวิชาการ นอกจากนั้น อาจารย์พึ่งตั้งใจค้นคว้าหาความรู้ในสาขาวิชาของตนมาให้แก่ศิษย์ และพึงสนับสนุนให้ศิษย์มีความก้าวหน้าทางวิชาการอยู่เสมอ (๒๘)
จากตัวอย่างของหลักจริยธรรมครู อาจารย์ที่ยกมาบางส่วนนี้ พอจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า หลักจริยธรรมของทั้งครูในโรงเรียน และอาจารย์ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ นอกจากจะต้องสอนศิษย์ให้เป็นคนที่เก่ง และดีแล้ว ตัวครูอาจารย์เองก็จะต้่องเก่งและดีด้วย ซึ่งนับว่าเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญและยากลำบากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ้งประเด็นความเป็นคนดีนั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะสอนคนให้เป็นคนดี โดยที่ครูอาจารย์ ซึ่งเปรียบประดุจ "เม่พิมพ์" ของชาติสมควรจะต้องเป็นคนดีด้วย
วิชาชีพนักธุรกิจ เป็นวิชาชีพที่น่าจะมีความขัดแย้งกับประเด็นเรื่องการมีจริยธรรมในวิชาชีพมากที่สุด เนื่องจากนักธุรกิจย่อมแสวงหาผลกำไรเป็นเครื่องตอบแทนการลงมุนทำธุรกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม มีนักธุรกิจหลายคนทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพของตนเและในขณะเดียวกัน ก็สามารถช่วยเหลือพัฒนาทางสังคมไปด้วยได้ มูลนิธิสถาบันการศึกษาวิชาการจัดการแห่งประเทศไทย ได้กำหนดหลักจริยธรรมในวิชาชีกซึ่งนักธุรกิจพึงปฏิบัติต่อลูกค้าไว้ดังนี้
๑. พึงขายสินค้า และบริการในราคายุติธรรม มีกำไรตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้าและบริการ
๒. พึงขายสินค้า และบริการให้ถูกต้องตามจำนวนคุณภาพ ราคาที่ตกลงกัน และมีความรับผิดชอบตามภาระผูกพันของตน
๓. พึงดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ให้โอกาสเท่าเทียมกันที่จะซื้อสินค้า และรับบริการ ไม่ว่าในสภาวะใด เช่น ในภาวะสินค้าขาดตลาด เป็นต้น
๔. พึงละเว้นการกระทำใด ๆ ที่จะควบคุมการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อ หรือรับบริการโดยการใช้ความใหญ่ขององค์กรของตนเป็นเครื่องต่อรอง หรือการซื้อขายโดยวิธีต่างตอบแทนกัน หรือสร้างเงื่อนไขกำหนดให้ลูกค้าต้องทำตาม
๕. พึงละเว้นการกระทำใด ๆ เพื่อทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น โดยไม่มีเหตุผล เช่น การกักตุนสินค้า ปล่อยข่าวอันเป็นเท็จ เพื่อให้ลูกค้าหลงเชื่อ ต้องซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าในสภาพ
๖. พึงปฏิบัติต่อลูกค้า และให้บริการอย่างมีน้ำใจไมตรีอัธยาศัยที่ดีต่อกัน (๒๙)
ดังนั้น วิชาชีพธุรกิจจึงเป็นวิชาชีพที่มีหลักจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น ๆ ประเด็นที่ต่างกันก็คือว่า เป้าหมายของธุนกิจคือกำไร ด้วยเหตุนี้สิ่งที่นักธุรกิจจะต้องคำนึงถึงให้มากก็คือ กำไรที่ได้นั้นส่งผลกระทบต่อสังคมในทางบวก หรือทางลบ ในประเด็นนี้ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ เสนอทางออกให้ โดยการให้นักธุรกิจตั้งปัญหาถามตัวเอง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. ธุรกิจที่ทำนั้นขัดแย้งกับสามัญสำนึกของคุณไหม ถ้าขัดแย้งกับสามัญสำนึก คนอื่นเขาคิดอย่างไรกับคุณ
๒. ธุรกิจที่ทำจะมีผลต่ออนาคตของคุณหรือไม่ ถ้ามี ผลนั้นเป็นบวกหรือลบ
๓. ธุรกิจที่ทำนั้นกระทบกับวิชาชีพไหม ถ้ามีผลกระทบในเชิงขัดแย้ง เขาจะเป็นผู้ที่เป็นมนุษย์เต็มตัวขึ้นมาแล้วคือ เป็นผู้ที่คำนึงจรรยาบรรณวิชาชีพ
๔. ธุรกิจนั้นกระทบต่อสัคงคมไทยไหม ถ้ากระทบแล้วคุณยังทำ แสดงว่าคุณขาดขรรยาบรรณข้อที่สำคัญที่สุดคือข้อที่สี่ก็คือ ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (๓๐)
เนื่องจากวิชาชีพธุรกิจเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาอาชีพ นักธุรกิจจึงสมควรที่จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมในวิชาชีพของตนให้มาก ทั้งนี้เพื่อสร้างศรัทธา และการยอมรับจากสาธารณชนทั่วไปให้บังเกิดแก่วิชาชีพของตน เพราะสาธารณชนก็คือลูกค้าของนักธุรกิจนั่นเอง หากปราศจากศรัทธา และการยอมรับจากสาธารณชนเสียแล้ว นักธุรกิจก็ไม่สามารถธำรงไว้ซึ่งธุรกิจของตนได้เช่นกัน
วิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ แม่ว่าวิชาชีพหนังสือพิมพ์เป็นวิชาชีพเก่าแก่ โดยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่จริยธรรมในวิชาชีพหนังสือพิมพ์เพิ่งจะได้รับการกำหนดไว้รัชกาลปัจจุบันนี้เอง โดยมีใจความสำคัญอยู่ ๗ ประการ ได้แก่
๑. เสรีภาพ เสรีภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ควรหวงแหนที่สุด เพราะถ้าหนังสือพิมพ์ไม่มีเสรีภาพเสียแล้ว วิชาชีพนี้ก็หมดความหมาย
๒. ความรับผิดชอบ หมายถึง การรู้จักหน้าที่ที่ควรทำ ผู้รู้หน้าที่ของตนพบได้ว่าเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
๓. ความเป็นไทแก่ตัว หรือความไม่เป็นทาส คือ การไม่ยอมตกเป็นทาสของอามิสสินจ้าง เพื่อที่จะทำลายผู้ที่ไม่มีความผิด
๔. ความจริงใจ หมายถึง ความจริงวาจา และจริงใจ ไม่เขียนข่าวเท็จ โดยไม่สอบข่อเท็จจริงให้เป็นที่แน่ใจเสียก่อน
๕. ความเที่ยงธรรม คือ ไม่มีอคติ ไม่มีลำเอียง เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการเสนอข่าว
๖. ความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา หมายถึง การไม่กล่าวตำหนิใคร โดยไม่ให้โอกาสชี้แจง ไม่กล่าวล่วงล้ำสิทธิ หรือความรู้สึกส่วนตัวของบุคคล เว้นแต้่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประโยชน์ของประชาชน
๗. ความมีมารยาท หมายถึง มีสมบัติผู้ดี ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบโลน หรือลามกอนาจารในการเสนอข่าว (๓๑)
ประวัติศาสตร์อันยาวนานของวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ จึงเป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู่มาโดยตลอด นักหนังสือพิมพ์รุ่นเก่าต่อสู้เพื่อธำรงไว้ซึ่งจริยธรรมในวิชาชีพ แม้ในระยะนั้นจะยังมิได้มีการกำหนดจริยธรรมในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ดูเหมือนจะมีการยอมรับเป็นหลักปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางโดยนักหนังสือพิมพ์รุ่นเก่าที่มีจริยธรรม หรือที่เรียกกันว่า "นักหนังสือพิมพ์น้ำดี" ว่า จริยธรรม ๒ ข้อแรกคือ เสรีภาพและความรับผิดชอบนั้นจัดว่าเป็นหัวใจของวิชาชีพนัีกหนังสือพิมพ์อย่างแท้จริง แม้จะมิได้มีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนดังในสมัยต่อ ๆ มาก็ตาม
เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นได้่า วิชาชีพข้าราชการ แพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย นักธุนกิจ นักหนังสือพิมพ์ เหล่านี้ล้วนเป็นวิชาชีพสำคัญ และมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมทั้งสิ้น จนอาจกล่าวได้ ถ้าบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมควบคู่กันไป คือ ทั้ง "เก่งและดี" สังคมจะเจริญรุดหน้าไปอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามในทางตรงกันข้าม หากผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ไร้จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพของตนเสียแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับสังคมของเรา
อนึ่ง มีข้่อสังเกตอยู่ ๒ ประการก็คือ ประการแรก เกือบทุกวิชาชีพที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ได้มีการกำหนดกรอบของจริยธรรมไว้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้เป็นการง่ายต่อการตรวจสอบ แต่บางวิชาชีพ เช่น วิชาชีพนักการเมือง มิได้มีการกำหนดจริยธรรมในวิชาชีพไว่้อย่างชัดเจนเหมือนดังอาชีพอื่น ๆ ซึ่งทำให้ยากลำบากต่อการตรวจสอบ พฤติกรรมของนักการเมืองบางคนที่มีพฤติกรรมทางจริยธรรมซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
ประการที่สอง ในปัจจุบันนี้ สังคมไทยเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอันมาก และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งความเจริญทางจิตใจตามไม่ทัน ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าวนี้ สืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพ เป็นระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเช่นเดียวกับประเทศตะวันตกในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบให้สังคมไทยกลายเป็นสังคมที่มีการพัฒนาไปในแนวทางตะวันตก เรารับวัฒนธรรมวัตถุนิยม และบริโภคนิยม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบทุนนิยมตะวันตกเข้าไว้อย่างเต็มที่ กระแสวัฒนธรรมวัตถุนิยมและบริโภคนิยมที่สังคมไทยรับมาในช่วง ๓๐ ปีมานี้ ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการดำเนินชีวิต การศึกษา การแต่งกาย รูปแบบบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนการประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ด้วย
เมื่อได้พิจารณาถึงสาเหตุแห่งความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคมไทย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คณะวิจัยซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ และบุคคลวิชาชีพต่าง ๆ จึงเห็นว่า เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาเรื่องจริยธรรมในวิชาชีพ ทั้งนี้โดยมีความมุ่งหมายว่า การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์หลักจริยธรรมในวิชาชีพ ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ขณะนี้คงจะทำให้สามารถเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
งานวิจัยนี้จึงมีขั้นตอนการดำเนินงานดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๑๑ วิชาชีพ และศึกษาพัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในด้านค่านิยมเชิงจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อจริยธรรมในวิชาชีพของตน
ขั้นตอนที่ ๒ มีการดำเนินงานซึ่งแบ่งขั้นย่อยดังนี้
๒.๑ ศึกษาปัญหาทางจริยธรรมในวิชาชีพที่เกิดขึ้นว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง และประเด็นใดที่มีการประพฤติผิดจริยธรรมบ่อยครั้ง
๒.๒ ศึกษามูลเหตุจูงใจที่ทำให้มีการประพฤติผิดจริยธรรมในแต่ละวิชาชีพว่าีมีอะไรบ้าง และมีมาตรการใดที่จะแก้ไข หรือป้องกันมิให้มูลเหตุเหล่านั้นเกิดขึ้น เพื่อลดปัญหาทางจริยธรรมที่จะตามมา
๒.๓ ศึกษาว่าแต่ละวิชาชีพมีกลไกการตรวจสอบการประพฤติผิดจริยธรรมหรือไม่อย่างไร ถ้ามี กลไกนั้นมีลักษณะอย่างไรบ้าง และกลไกเหล่านั้นมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการประพฤติผิดจริยธรรมได้จริงหรือไม่ ถ้าไม่จริง ผู้อยู่ในวิชาชีพนั้น ๆ จะเสนอกลไกอื่น ๆ เพิ่มเติมสำหรับการตรวจสอบอีกหรือไม่อย่างไร เพื่อให้การตรวจสอบจริยธรรมในวิชาชีพนั้น ๆ มีประสิืทธิภาพอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นการสัมภาษณ์บุคคลผู้อยู่ในวิชาชีพต่าง ๆ วิชาชีพละ ๑๐๐ คน
บทความทั้ง ๑๓ เรื่องนี้ จึเป็นความพยามที่จะประมวลองค์ความรู้เกี่ยกัวบจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๑๑ วิชาชีพ ส่วนอีก ๒ บทความ ในชุดจริยธรรมในวิชาชีพเป็นการเสนอภาพรวมของงานวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑. จริยธรรมในวิชาชีพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ
๒. จริยธรรมพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์
๓. จริยธรรมในวิชาชีพแพทย์ โดย นายแพทย์วิรัช ทุ่งวชิรกุล
๔. จริยธรรมในวิชาชีพพยาบาล โดย รองศาสตราจารย์ ฟาริดา อิบราฮิม
๕. จริยธรรมนักวิจัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร รักษาสัตย์
๖. จริยธรรมนักการเมือง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี เจนวิทย์การ
๗. จริยธรรมในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ
๘. จริยธรรมในวิชาชีพข้าราชการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิภาดา อังสุมาลิน
๙. จริยธรรมในวิชาชีพทหาร โดย อาจารย์สมศักดิ์ ส่งสัมพันธ์
๑๐. จริยธรรมในวิชาชีพตำรจ โดย พลตำรวจโทสุวรรณ สุวรรณเวโช
๑๑. จริยธรรมในวิชาชีพครูอาจารย์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุภัทร ปัญญาทีป
๑๒. จริยธรรมในวิชาชีพนักกฎหมาย โดย นายวิชา มหาคุณ
๑๓. จริยธรรมในวิชาชีพนักธุรกิจ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุภกร์ลักขิ์มณฑลี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
บาความทั้งหมดนี้จึงเป็นผลของการดำเนินงานในขั้นตอนที่ ๑ ซึ่งเป็นการประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในวิชาชีพรวม ๑๑ วิชาชีพ จัดทำเป็นชุดบทความ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงพัฒนาการของหลักจริยธรรมในวิชาชีพต่าง ๆ โดยรวบรวมมาอย่างครบถ้วน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังมิได้มีผู้ใดกระทำมาก่อนเลย ทั้งนี้โดยมีการจัดสัมมนาเรื่อง "จริยธรรมในวิชาชีพ" ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๐ ประกอบด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้่จากการศึกษาวิจัยในขั้ตอนที่ ๑ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น คำวิจารณ์ ตลอดจนข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมการสัมมนา หลังจากการสัมมนาเสร็จสิ้นลงแล้ว คณะวิจัยจะประมวลความคิดและข้อเสนอแนะจากการสัมมนาทั้งหมด เพื่อนำไปเ็ป็นข้อมูลประกอบในการวิจัยภาคสนามในขั้ตนอที่ ๒ ต่อไป
อนึ่ง การดำเนินงานวิจับเรื่อง "จริยธรรมในวิชาชีพ" นี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านผู้อำนวยการกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณื พานิช และ ดร.โชคชัย สุทธาเวศ แห่งฝ่ายความสัมพันธ์ข้ามชาติและทางเลือกในการพัฒนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ให้ความสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยเป็นอย่างดียิ่งมาโดยตลอด คณะวิจัยจึงขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
คณะวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความชุด "จริยธรรมในวิชาชีพ" คงจะเป็นประโยชน์ไใ่เฉพาะแก่วงวิชาการด้านปรัชญาจริยศาสตร์เท่านั้น แต่น่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคมไทยโดยทั่วไปอีกด้วย เพราะการพัฒนาจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจริยธรรมในวิชาชีพมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาประเทศ และประเทศชาติจะพัฒนาไม่ได้เลย หากจริยธรรมของคนในชาติเสื่อทรามลง.
* * *
เชิงอรรถ
๑. Wilburt E.Moore, The Profession: Roles and Rules (New York: Russel Sage Foundatiob, 1970) อ้างโดย T.H. Silcock (ed.), Professional Structure in South East Asia (Canberra: The Australian National University, 1972), p.31.
๒. ติน ปรัชญพฤทธิ์, วิชาชีพนิยมของระบบราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: วิวัฒนาการและผลกระทบต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖)
๓. Oxford Advanced Learner's Dictionary (Oxford: Oxford University Press, 1989), p.993.
๔. ส. เสถบุตร, New Modal English-Thai Dictionary (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช ๒๕๓๖), หน้า ๑๑๓๗.
๕. ติน ปรัชญพฤทธิ์, เรื่องเดิม, หน้า ๓๔-๓๕.
๖. Talcott Parsons, "The Professions and Social Structure," in Essays in Sociological Theory, revised edition (Glencoe, Ill: Free Press, 1954), pp. 34-39. อ้างโดย Silcock (ed.), op.cit., p.13.
๗. Joseph A. Kahl, The Measurement of Modernism: A Study of Values in Brazil and Mexico (Austin: Univesitu of Texas Press, 1968) อ้างโดย Silcock (ed.), cit., p.13.
๘. ศึกษารายละเอียกเพิ่มเติมได้จาก บัญชา แก้งเกตุทอง, การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๒), หน้า ๔-๒๔. และ ธารทอง ทองสวัสดิ์, "อิทธิพลตะวันตกกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย. "ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, วิวัฒนาการการเมืองไทย (นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๒), หน้า ๓๕๓-๓๕๗.
๙. พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส อินฺปัญโญ), การสร้างเสริมจริยธรรมแก่วัยรุ่น คณะครูโรงเรียนนฤมิตวิทยา จังหวัดนครราชสีมา พิมพ์เป็นบรรณาการเพื่อเป็นอนุสรณ์ และเทอดพระคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์โทพระยาราชสีมาจารย์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม พระนคร วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๑๑.
๑๐. ชำเลือง วุฒิจันทร์, คุณธรรมและจริยธรรม: หลักการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่นักเรียน (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๔), หน้า ๙.
๑๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐.
๑๒. วิทย์ วิศทเวทย์, จริยศาสตร์เบื้องต้น (กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๒๘), หน้า ๑-๑๓.
๑๓. สาโรช บัวศรี, จริยธรรมศึกษา (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๒๖), หน้า ๑๒.
๑๔. ชำเลือง วุฒิจันทร์, เรื่องเดิม, หน้า ๑๑.
๑๕. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๐.
๑๖. สุภา ศิริมานนท์, จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ (กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด, ๒๕๓๐), หน้า ๑๑-๑๓.
๑๗. ชำเลือง วุฒิจันทร์, เรื่องเดิม, หน้า ๑๐.
๑๘. ติน ปรัชญพฤทธิ์, เรื่องเดิม, หน้า ๔๐-๔๑.
๑๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๗๘-๘๔.
๒๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๕-๙๑.
๒๑. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙-๙๔.
๒๒. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รวมรวมจรรยาบรรณอาจารย์ และจรรยาบรรณวิชาชีพ (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกร์มหาวิทยาัลย, ๒๕๓๔), หน้า ๑๗-๑๘.
๒๓. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๖-๕๘.
๒๔. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖๓.
๒๕. จิตติ ติงภัทิย์. "คติของวิชาชีพทางกฎหมาย," ในจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย, คณะนิติศาสตร์, จริยธรรมนักกฎหมาย รายงานการสัมมนาเรื่อง" ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๐ ธันวาคม ๒๕๒๘ ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพฯ: ป. สัมพันธ์พาณิชย์, ๒๕๒๙), หน้า ๑๑๖-๑๗.
๒๖. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เรื่องดิม, หน้า ๑๒-๑๔.
๒๗. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑.
๒๘. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๐-๕๑.
๒๙. ทบวงมหาวิทยาลัย และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการเสริมสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการเสรมสร้างจริยธรรมในการประกอบอาชีพ" วันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๓ ณ ทบวงมหาวิทยาลัย, หน้า ๗๔.
๓๐. วานิช พลูวังกาญจน์, ฐานันดร ๔ (กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๐).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น