การจัดอันดับมหาวิทยาลัย กับการเลือกคณะอย่างเหมาะสม

การจัดอันดับ ranking university ทั้งของtime และของทีมวิจัยสเปน ในระดับwordclass และภูมิภาคของมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เห็นปีนี้ก็ยังเป็นHarward universityอยู่ แต่ก็ไล่บี้มาด้วย cambridge และ oxfordในอังกฤษ จริงๆแล้วพี่เคยเห็นการจัดอันดับก่อนหน้านี้ล้วนแล้วแต่อยู่ในอเมริกาแทบทั้งสิ้น ทั้งstanford princton yale berkeley ที่น่าสนใจของการจัดอันดับในหนังสือเล่มนี้คือ มีมหาวิทยาลัยในทวีปต่างๆค่อนข้างหลากหลายที่ได้อันดับระดับ1-50 และเพือ่นบ้านเราอย่างสิงห์โปร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ก็ติดระดับนี้ด้วยอันดับ19 ส่วนมหาวิทยาลัยปักกิ่งคว้ามหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียและระดับดีที่สุดหนึ่งใน20ของโลกเช่ยเดียวกัน และก็ค้นพบการจัดอันดับที่ทำขึ้นของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยไทยอันมีข้อมูลโดยใช้เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานระดับสากลมีความเที่ยงและเป็นกลางสูง

นิตยสารไทม์ในส่วนของ Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากการพิจารณาปัจจัยต่างๆประกอบด้วย การสุ่มตัวอย่างคณาจารย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก คิดเป็นน้ำหนัก ๕๐% X ส่วนของอาจารย์ชาวต่างประเทศ ๕% จำนวนนิสิตนักศึกษาต่างชาติ ๕% X ส่วนของอาจารย์ต่อนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ๒๐% และผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่อ้างอิงในวารสารทางวิชาการนานาชาติ ๒๐%
อันนี้คือ List ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2548 ซึ่งข้อมูลนี้ NUS : National University of Singapore ใช้พิจารณายอมรับคุณวุฒิและรับพิจารณาให้เข้าศึกษาต่อในระดับ Postgraduate มีดังนี้


ประเภทรวมทุกด้าน (Overall Multi-disciplinary) มีมหาวิทยาลัยไทยผ่านเกณฑ์ 32 มหาวิทยาลัย (จากที่เปิดกันดาษดื่นกว่าร้อยมหาลัย) ยังดีที่มหาวิทยาลัยปิดของรัฐของเราผ่านเกณฑ์ทุกที่ มีคะแนนเรียงตามลำดับดังนี้

1. Chulalongkorn University 67.82
2. Mahidol University 67.47
3. Thammasat University 65.93
4. Chiang Mai University 65.81
5. Kasetsart University (all campus) 64.59
6. Prince of Songkla University 64.20
7. King Mongkut Institute of Technology Lad Krabang 63.14
8. Khon Khaen University 62.68
9. Srinakarinwiroj University 61.76
10. King Mongkut University of Technology Thonburi 60.86
11. Assumption University 59.73
12. Silpakorn University 58.05
13. King Mongkut Institute of Technology North Bangkok 57.67
14. Mahidol International College 57.38
15. Naresuan University 57.23
16. National Institute of Development and Administration : NIDA 56.80
17. Suranaree University of Technology 56.46
18. Bangkok University (International College) 55.82
19. Rajamangaka Institute of Technology (Only Main Campus and Campus in Bangkok) 55.19
20. University of the Thai Chamber of Commerce (Only Business Fields) 54.81
21. Mahanakorn University of Technology 54.70
22. Rangsit University 54.27
23. Burapha University 54.14
24. Walailak University 54.08
25. Bangkok University 53.41
26. Mahadsarakham University 53.12
27. Dhurakitbandhid University 53.00
28. Ubon rajathanee University 52.45
29. Maejo University 51.51
30. Sripathum University 51.33
31. Maefaluang University 51.28
32. Thaksin University 51.15


ประเภทมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ บริหารธุรกิจ การจัดการ และเศรษฐศาสตร์ (Humanity and Social Science Rangking) มีมหาวิทยาลัยไทยผ่านเกณฑ์ 24 มหาวิทยาลัย มีคะแนนเรียงตามลำดับดังนี้

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 69.81
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 69.78
3. มหาวิทยาลัยศิลปากร 67.59
4. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 66.83
5. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 66.77
6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 65.58
7. สถาบันบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 64.42
8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 62.39
9. มหาวิทยาลัยมหิดล 61.88
10. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 61.11
11. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 60.20
12. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) 60.16
13. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล 59.05
14. มหาวิทยาลัยนเรศวร 59.82
15. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 57.62
16. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 57.00
17. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 56.90
18. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 56.39
19. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต 55.74
20. มหาวิทยาลัยบูรพา 55.03
21. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 54.51
22. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 53.47
23. มหาวิทยาลัยทักษิณ 53.38
24. มหาวิทยาลัยรังสิต 52.16


ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ (Science and Technology Ranking) มีมหาวิทยาลัยไทยผ่านเกณฑ์ 19 มหาวิทยาลัย มีคะแนนเรียงตามลำดับดังนี้

1. Mahidol University 67.04
2. Chulalongkorn University 65.95
3. Chiang Mai University 65.26
4. Prine of Songkla University 62.63
5. Kasetsart University (all campus) 61.42
6. King Mongkut Institute of Technology Lad Krabang 61.01
7. King Mongkut University of Technology Thonburi 59.79
8. Sirindhorn International Institute of Technology of Thammasat University 58.58
9. Srinakarinwiroj University 55.26
10. Khon Khaen University 54.94
11. King Mongkut Institute of Technology North Bangkok 53.80
12. Asian Institute of Technology : AIT 53.75
13. Thammasat University 53.01
14. Suranaree University of Technology 52.97
15. NaresuanUniversity 52.84
16. Walailuk University 52.20
17. Rajamangala Institute of Technology (Main Campus and Bangkok Technical Campus) 50.18
18. Mahanakorn University of Technology 50.11
19. Rangsit University 50.07


พอมาดูก็พอที่จะยอมรับได้พอสมควร ถึงแม้อาจจะมีข้อแตกต่างกับของสกอ อยู่บ้างแต่ก็ไม่ต่างกันมากนัก เพระาเกณฑ์การให้นำหนักมีความใกล้เคียงกัน พอคราวนี้พี่ก็ดีใจว่าอย่างมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดอย่าง สงขลานครินทร์ เชียงใหม่ ขอนแก่น ติดระดับยูท๊อปของเมืองไทย ตรงนี้คงไม่เกี่ยวกับคะแนนสูงตำที่เราเลือกๆกันจากระบบแอดมิชชันส์ ที่เรามักคิดว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพ ต้องมีระบบการสอนที่ดีกว่า เพราะตัวพี่เองมีญาติที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยบอกได้เลยว่า มหาวิทยาลัยต่างจังหวัดมีอาจารย์ที่ได้รับทุนพัฒนาทางด้านงานวิจัยในสัดส่วนค่อนข้างมาก ในด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และอื่นๆ จึงกล้าการันตีคุณภาพการศึกษาไม่แพ้กรุงเทพแน่นอน แต่เด็กรุ่นหลังๆเห็นเลือกคณะและมหาวิทยาลัยแบบกระจุดตัว พี่กลับคิดว่าตรงนี้เป็นผลเสียในระบบการศึกษา เพระาเรารวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางเพียงอย่างเดียวซึ่งไม่ถูกต้อง เราควรดูทรัพยากร ความถนัดและสาขาวิชา ของมหาวิทยาลัยที่เราจะเลือกเรียนโดยการใช้เกณฑ์เหล่านี้มาเทียบเคียงจะได้เลือกได้อย่างเหมาะสม แต่นี่คือข้อมูลเพียงเบื้องต้น เราต้องเข้าเวปไซต์ชมข้อมูลของแต่ละมหาวิทยาลัย เพำอดูผลงานอาจารย์ งานวิจัย ความเชี่ยวชาญ หลักสูตร จำนวนบุคลากร มันมีจุดเด่นที่ต่างกัน หากเราเรียนในระดับปริญญาตรี ก็คงไม่จำเป็นมากนักที่จะดูรายละเอียดลึกซึ้งมากมาย เพระาการเรียนระดับนี้ยังคงเป็นการปูพื้นฐานสาขาอาชีพ แต่ในมุมมองของพี่(เพียงคนเดียวนะครับไม่เกี่ยวกับคนอื่นๆ ) พี่จะขอชี้แจงอย่างนี้ว่า หากเราจะเรียนจบเพื่อทำงานเลยพี่คิดว่าแต่ละสถาบันไม่ค่อยต่างกันมากนัก เลือกที่ไหนก็ได้เอาตามสะดวก หรือตามความเหมาะสมเลย เพราะส่วนใหญ่การเรียนในระดับปริญญาตรีมักจะเรียนนในเชิงกว้างๆ หลากหลายในสาขาอาชีพนั้นๆ ยังไม่ถึงระดับเข้มข้น เจาะลึก หรือเอาแบบเชี่ยวชาญ แต่ถ้าอยากเรียนเพือ่ศึกษาต่อระดับสูง มหาวิทยาลัยรัฐจะมีจุดเด่นเพระาจะปูพื้นฐานและเพิ่มเติมเทคนิคงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อการเรียนในระดับต่อไป หรือการต่อยอดนั่นเอง อย่างราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนี่พี่คิดว่าเค้ามีจุดเด่นด้านภาคปฏิบัติ งานภาคสนาม หรือระดับofficer ปฎิบัติการ เพราะสถาบันจะมุ่งเน้นให้บัณฑิตทำเป็น โดยมีหลักสูตรการฝึกงานที่เข้มข้นนอกเหนือตำราเรียน หรือถ้าหากใครมุ่งเน้นที่จะเรียนทางด้านเทคโนโลยีเน้นงานในภาคอุตสาหกรรม ก็ควรเป็นสถาบันเทคโนโลยีkmu หรือตระกูลพระจอมเกล้านั่นเอง และสถาบันเทคโนโลยีต่างๆ อันนี้เราก็ควรไปดูความโดดเด่นของหลักสูตร ความเฉพาะทางและงานที่ได้รับรางวัล ช่ยวิศวะคอมประยุกต์พี่คงยกให้พระจอมเกล้าธนบุรี หากเป็นไฟฟ้าคงยกให้ลาดกระบัง หรือหุ่นยนต์คงเป็นพระครเหนือ และสถาบันเทคโนโยโลยีไทย-ญี่ปุ่น คอมพิวเตอร์จุฬา เกษตร บางมด เทคโนโลยีเกษตรและชีวภาพ คงเป็นเกษตร และคลองหก ประมาณนี้ เราก็จะหมดปัญหาเรียนแบบไร้ทิศทางและตามเทรนโดยสิ้นเชิง ก่อนอื่นเราก็ต้องรู้ตัวก่อนว่าเราจะเลือกเรียนอะไร สาขาวิชาไหนและพยายามดูข้อมูลของสาขานั้นๆในแต่ละมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน และลองกำหนดดูว่าเรามีเป้าหมายอย่างไร จะประกอบวิชาชีพอะไร เพือ่จะได้เลือกได้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษามีทุนพัฒนาบุคลากรของ สำนักงาน กพ และมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพือ่ให้อาจารย์ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองหรือเพือ่ศึกษาต่อ รวมถึงทุนทำวิจัยของ สกว และอื่นๆ จึงเชื่อได้ว่าโอกาสข้างหน้าความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัยไทยจะมีมากกว่านี้และอยู่ในมาตราฐานที่ไม่ต่างกัน มีการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่าสถาบัน และมหาวิทยาลัยเอกชนก็มีทุนในลักษณะเช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ในการสอนเพือ่ตลาดแรงงาน พี่คิดว่า มหาวิทยาลัยเอกชนมีระบบการสอนเพื่อตอบป้อนแรงงานได้ตรงที่สุด และมีความถนัดในการผลิตบัณฑิตในภาคอุตสาหกรรม และทางด้านบริหาร

เทคนิคที่พี่อยากจะแนะนำในระดับปริญญาที่สูงกว่า ปริญญาตรี นี่แหละสำคัญ เราจะต้องดูสาขาที่เราเรียนว่าเราจะเรียนอะไร จะประกอบอาชีพอะไร หากเป็นนักวิชาการพี่แนะนำให้เรียนมหาวิทยาลัยรัฐ เพระาจะเน้นด้านการทำวิจัยของบัณฑิตศึกษา หรือหากไปด้านอุตสาหกรรมก็ควรเลือกสาขาที่มีหลักสูตรที่เหมาะกับงานทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน และประกอบกับประสบการณ์วิชาชีพที่เราทำงานอยู่ กับหลักสูตร อันนี้มหาวิทยาลัยจะมีจุดเด่นและหลักสูตรที่ต่างกันออกไป

คราวนี้ก็ลองมาวิเคราะห์ว่าจะเลือกเรียนอย่างไร หรือมีหลักเกณฑ์ดูอย่างไร จึงจะเลือกคณะวิชา และสาขาวิชาได้โดนใจที่สุด เหมาะกับตัวเราเอง เกณฑ์ของพี่นั้นไม่มีอะไรมาก พี่ดูความสามารถของเราก่อนว่าอยู่ในระดับใด หากเลือกมหาวิทยาลัยรัฐ ก็ต้องแข่งขันกับผู้อื่นจำนวนมาก เพราะที่นั่งมีจำนวนจำกัด เราก็ต้องดูความสามารถทางวิชาการว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ศักยภาพตนเองอยู่ในระดับใด แข่งขันได้มากน้อยหรือไม่

ก็ลองมาดูว่าสาขาที่เราจะเรียนมีมหาวิทยาลัยไหนเปิดสอน ระดับคะแนนเป็นอย่างไร จำนวนผู้สมัครเท่าไร มีความเบี่ยงเบนมากน้อยแค่ไหน เกณฑ์การรับมีอะไร มีสถิติที่น่าสนใจอะไรบ้าง และดูว่าความสามารถของเรามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะสอบเข้าได้เมือ่เทียบกับคนอื่นๆ



แต่ที่พูดอย่างนี้มิได้หมายความว่าพี่จะบอกว่าคนที่เรียนไม่เก่งจะไม่มีสิทธิ หรือคนที่ขาดโอกาสจะไม่มีทางสอบได้อย่างที่ตนเองปรารถนา อันนี้เราต้องวางเป้าหมายมาพอสมควรเช่น หากเรารู้ว่าเราจะเข้ามหาวิทยาลัย ช่วงชีวิต มปลาย เราก็พยายามที่จะตั้งใจเรียนมากขึ้นกว่า ม ต้น มีอยู่คนหนึ่งที่เรียน ม ต้น เค้าได้ประมาณเกรด 2.2 แต่พอม ปลายได้เกรดเฉลี่ย 3.2 เพราะเค้าวางเป้าหมายว่าจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ติดในสาขานี้

อันนี้คอการสร้างแรงจูงใจและเป้าหมายไว้ เพื่อเป็นทิศทางกำหนดตัวเราเอง สุดท้ายก็สอบติดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสาขาที่ตนเองอยากเรียนได้ตามประสงค์ อันนี้เป็นสิ่งที่ดี มันจะเป็นแรงกระตุ้น ให้เราพัฒนาตนเอง จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับไอคิวเพียงอย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและเตรียมตัวเพื่ออนาคต ซึ่งความรู้มันมีโอกาสเพิ่มพูนได้เสมอถ้าไม่หยุดนิ่ง

บริหารเวลา ข้อสอบ และฝึกฝนได้อย่างพอเพียง และจุดอ่อน ณ ตอนนั้นเราต้องรีบหาให้พอ เช่น ไม่เก่งภาษา ไม่เก่งคำนวน เราจะได้จัดการว่า เราจะรักษาระดับของตนเองได้อย่างไร คือเตรียมตัวมากขึ้น หรือใช้วิชาอื่นๆมาช่วงดึงวิชาที่เราไม่ถนัดและเทคนิคอื่นๆ ที่เราคิดว่าเหมาะสม เท่านี้เราก็จะไม่พลาดการสอบอย่างแน่นอน พิเศษก็คือฝึกทำข้อสอบบ่อยๆ เพระาจะได้ฝึกใช้เวลาและมีหลักการคิดหลายแบบโดยเฉพาะวิชาที่ยาก ที่สำคัญอย่าเน้นท่องจำไปสอบ เพราะจากประสบการณ์คนที่เรียนเพียงเพื่อท่องจำได้ ถึงแม้จะได้เกรดเฉลี่ยดี แต่มักสอบไม่ติด ควรฝึกคิดหลายๆทาง อย่างเช่นหาคำตอบแบบอาศัยการตัดชอยส์ และวิเคราะห์หาคำตอบตามโจทย์ และให้เหตุผลว่าทำไมถึงเลือกข้อนี้ และไม่เลือกข้ออื่น มันจะได้โยงความสัมพันธ์ได้ การท่องจำมันจะเป็นพื้นฐานแต่หากเราขาดความเข้าใจ และคิดรอบด้านก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาโจทย์เหล่านั้นได้

ส่วนการเลือกคณะวิชา สาขาวิชา อันนี้ลองเอาทริปพี่ไปใช้ดูเผื่อจะเป็นประโยชน์ แต่เทคนิกการเลือกของพี่อาจทำให้ใครหลายคนไม่พอใจ อันนี้ต้องขอโทษนะครับ ขอไว้เป็นทางเลือกหนึ่งละกัน พี่จะดูอย่างนี้ เช่นหากมีranking พี่ก็จะมาดูว่ามหาวิทยาลัยไหนโดดเด่นสาขาอะไร ซึ่งจริงๆในระดับภาพรวมพี่ไม่ได้เน้นอะไรมากมาย แต่ก็แค่ดุว่าอยู่ในระดับใด เช่ยน ดี ดีมาก หรือพอใช้ พี่ดูความเชี่ยวชาญมากกว่า วิธีการของพี่อาจจะเหมาะกับคนที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโทมากกว่า แต่น้องๆก็พอนะไปประยุกต์ใช้ได้ พี่อยู่ในแวดวงสาขา สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ อักษร ก็จะดูว่ามหาวิทยาลัยใดบ้างที่มีความถนัดและโดดเด่นสาขาเหล่านี้ และก็ดูขีดความสามารถของตนเองว่ามีโอกาสจะแข่งขันได้หรือไม่ พอดประเมินตนเองได้แล้วว่าแข่งขันได้พี่มีความสามารถพอที่จะแข่งขันได้ก็ลองมาดูว่า มหาวิทยาลัยไหนบ้างที่เปิดสอนสาขาที่พี่อยากเรียน และคระนี้มีจุดเด่นอะไร พี่ก็เข้าไปในเวปไซท์ของมหาวิทยาลัยเพือ่ศึกษาข้อมูลของคระวิชา สาขาวิชา อย่างในranking 3อันดับแรก ในสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ อักษร ศิลปกรรม อันได้แก้ จุฬา มธ มศก

พี่ก็มีวิเคราะห์ว่าในกลุ่มวิชาเหล่านี้ มีคณะอะไรบ้าง เช่น จุฬามี เศรษฐศาสตร์ อักษรศาสตร์ สถาปัตย์กรรม บัญชี รัฐศาสตร์ นิติ ศิลปกรรม ครุ อื่นๆ และมธ มี ศิลปศาสตร์ นิติ บัญชี สังคมวิทยา สังคมสงเคราะห์ ถาปัตย์ ศิลปกรรม อื่นๆ ซึ่งสองมหาวิทยาลัยมีคณะด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญใกล้เคียงกัน มีคณะวิชาที่คล้ายกันส่วนมศกมี อักษร โบราณ มัณฑนศิลป์ จิตรกรรม สถาปัตย์ ศึกษา การจัดการ อื่นๆที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นมัณฑนศิลป์ โบราณคดี รองลงมาก็คืออักษรและสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม มาดูละว่าคราวนี้พี่จะมาเลือกคณะโดยมีขั้นตอนอย่างไร สมมุติว่าพี่อยากจะเลือกคณะ รัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง พี่ก็มาดูว่ามหาวิทยาลัยที่พี่เลือกมา3แห่งจากranking มีที่ไหนเปิดสอนสาขาการปกครอง ก็มี จุฬา และธรรมศาาตร์ ดังนั้นก็มาดูว่าภาควิชาปกครองของสองที่นั้น มีจำนวนอาจารย์เท่าไร จำนวนอาจารย์ที่สำเร็จปริญญาเอกเท่าไร อาจารย์ที่ดำรงค์ตำแหน่งศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เท่าไร อาจารย์มีความเชี่ยวชาญอะไร มีผลงานวิจัยด้านอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายเท่าไร และในหลักสูตร เนื้อหาวิชามีอะไร มีวิชาใดน่าสนใจ สมมุติว่าพี่พบว่า อาจารย์ที่ มธ มีความเชี่ยวชาญด้าน วิพากษ์การเมืองไทย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ จุฬามีความโดดเด่นด้านทฤษฎีการเมือง เศรษฐศาสตร์การเมือง สังคมวิทยาการเมือง ก็มาเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าทิศทางการศึกษาของเราจะไปในทางไหน อยากเรียนกลุ่มไหน และจะศึกษาความถนัดด้านอะไร เช่นพี่อยากเรียนกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พี่ก็เลือก มธ แต่หากเน้นทฤษฎีการเมืองก็ จุฬา

จากการจัดranking อาจดูเหมือนว่าจะแบ่งระดับหรือเปล่า พี่คิดว่ามันคือfactor หนึ่งที่จะนำมาสู่การพัฒนาระดับอุดมศึกษาบ้านเรา เพื่อกระจายความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น การเรียนที่มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบจะทำให้เราเรียนได้ตรงกับความถนัดของตนเอง และที่สำคัญจะได้พัฒนาสาขาวิชาให้ตรงกับศักยภาพของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมไปถึงแก้ไขจุดบกพร่องของตนให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่ สมศ กำหนด อันจะเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตอย่างมีคุณภาพ พี่เองเป้นคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนเพราะชื่อเสียงมหาวิทยาลัย แต่พี่ดูความถนัดมากกว่า ว่ามหาวิทยาลัยมีความถนัดอะไร พี่จะลองวิเคราะห์ในกลุ่มที่พี่พอมีความรู้ในการประเมินและติดตามข้อมูลมาเป็นตัวอย่างดังนี้


คณะรัฐศาสตร์ อันนี้หากไม่กล่าวถึงจุฬาธรรมศาสตร์ ก็ได้ เพราะสองแห่งนี้เป้นสถาบันที่มีความถนัดทางด้านนี้จริงๆ ทั้งในตัวบุคลากร งานวิจัย สาขาที่จบ ความเชี่ยวชาญ คะแนนนี่พี่รู้สึกว่าเท่ากัน อาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกนี่จบมาจากสถาบันทางด้านรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อย่างเครมบริจด์ ลอนดอน สกูล ออฟ อีคอนโนมิค berkeleyหรือ ฮาวาย แต่ความโดดเด่นของงานวิจัยอาจแตกต่างกันบ้าง แต่การปกครองในมธ จะเด่นด้านการเมืองไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนจุฬาจะเด่นเศรษฐศาสตร์การเมือง กับสังคมวิทยาการเมืองและทฤษฎีการเมือง นโยบายสาธารณะ เลยบอกได้เลยว่ากินกันไม่ลง แต่ที่ไม่เหมือนคือจุฬามีภาควิชาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา ซึ่งมธ แยกเป็นคณะของตนเอง จึงเปรียบได้ว่าจุฬาได้สอนสังคมวิทยา มานุษยวิทยาควบคู่กับด้านรัฐศาสตร์ในภาคนี้

คณะเศรษฐศาสตร์ บัญชี ถือว่าใกล้เคียงกันมาก ส่วนนิติศาสตร์ ก็ใกล้เคียงกัน แต่จะโดดเด่นกันคนละด้าน จุฬาเด่นกฎหมายเอกชน สิทธิบัตร ธรรมศาสตร์เด่นกฏหมายมหาชน สิทธิมานุษยชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ วิธีพิจารณาความส่วนกฎหมายระหว่างประเทศนี่ใกล้เคียงกัน

อักษรศาสตร์ศิลปศาสตร์อันนี้คงต้องยกให้จุฬาเลย ซึ่งมีความถนัดในกลุ่มวิชาภาษาตะวันตก เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ไทย ประวัติอื่นๆ เรียกได้ว่าเกือบทุกภาค โดยเฉพาะทางด้านวรรณคดี ภาษาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงด้านคติชนและวรรณคดี ส่วนมธ เด่นภาษาตะวันออก อย่างญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ รัสเซีย แต่จะลืมอักษรและโบราณ มหาวิทยาลัยศิลปากรทั้งภาคภาษาตะวันตกและตะวันออกไม่ได้ ภาษาตะวันตกในคณะโบราณจะเน้นภาษาเพื่อการอาชีพ มัคคุเทศก์ และการแปล ซึ่งสาขาฝรั่งเศสและอังกฤษจะมุ่งเน้นการฝึกทักษะรวบด้านอีกทั้งยังมีปรมาจารย์หลายท่านที่มีชื่อเสียง ในด้านการแปล จารึกภาษาตะวันออก ประวัติศาสตร์ รวมไปถึงวิชาด้านโบราณดคี ประวัติศาาสตร์ศิลปะซึ่งถือว่ามีที่เดียวในประเทศไทย และรวมคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในด้านนี้จริงไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

สายศิลปกรรมอันนี้ก็คงต้องเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ที่ซึ่งเน้นด้านการฝึกหัดฝีมือและสาขาจิตรกรรมไทยและสากล รวมไปถึงด้านทัศนศิลป์ อีกทั้งยังมีคณะมัณฑนศิลป์ที่มีความถนัดด้านการออกแบบ โดยเฉพาะสาขาออกแบบภายใน ประยุต์ศิลป์ นิเทศ product ส่วนคณะสถาปัตยกรรมก็จะเป็นจุฬา ในด้านสถาปัตยกรรม อุตสาหกรรมศิลป์ ผังเมืองส่วนศิลปากรจะเด่นเทคนิคสถาปัตยกรรมไทย และประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ในมธ ก็ผังเมืองและชุมชน

นี่คือตัวอย่างข้อมูลเบื้องต้น หากต้องการศึกษารายละเอียดคงต้องลองศึกษาข้อมูลเอกสาร ข้อมูลเวปไซต์ จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกคณะในอนาคต เลือกได้ตรงใจ มีเป้าหมาย และเข้าใจโครงสร้างตลาดแรงงาน

หากใครมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของมหาวิทยาลัยที่ตนเองศึกษาอยู่กรุณาเพิ่มเติมไว้ได้ในกระทู้ จะเป็นประโยชน์มากแก่น้องๆ และบทความดังกล่าวมิได้มีเจตนาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยอื่น หรือสร้างความขัดแย้งใดๆ เพียงแค่นำเสนอข้อมูลตามข้อเท็จจริง เพื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการเลือกคณะ โดยส่วนตัวไม่ได้มีอคติใดใด แต่อยากเสนอแนวทางเลือกด้านหนึ่งเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น