Cybertools for Research:
การเขียนรายงานวิชาการ
โดย ประดิษฐา ศิริพันธ์
ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี
Technical communications
or technical writing
the term “technical” refers to knowledge that is more of experts or specialists. Whatever your major is, you are developing an expertise -- you are becoming specialist in a particular technical area. And what you write or say about your field, you are engaged in technical communications.
uTechnical communications is the delivery of technical information to readers/audience in a manner that is adapted to their needs, levels of understanding and educational background. The ability to translate technical information to nonspecialists is a key skill to any technical communicator.
การวางแผนก่อนทำวิทยานิพนธ์
กำหนดหัวข้อเรื่อง (Topic) ควรกำหนดให้แคบไว้ก่อน ไม่ควรหลากหลายเกินไป
อาจารย์ที่ปรึกษา
สำรวจวรรณกรรม (Literature survey)
ร่างสังเขปข้อ (Outline)
uเขียนโครงร่างข้อเสนอวิทยานิพนธ์(Proposal)
สังเขปข้อ (An Outline)
1. บทนำ
2. เนื้อเรื่อง
2.1 หัวข้อย่อยที่ 1
2.2 หัวข้อย่อยที่ 2
2.3 หัวข้อย่อยที่ 3
2.4 ……..
3. ข้ออภิปราย
4. บทสรุปและข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
บทนำและบทลงท้าย (Introduction and Conclusion)
uบทนำ มีความสำคัญมากเพราะผู้เขียนจะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้โดยชี้แจงขอบเขตเนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ การใช้ภาษาต้องถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช้คำศัพท์ที่ใช้สื่อความหมายตรงกับเนื้อเรื่อง วิธีเขียนบทนำง่ายๆคือการยึดตามสังเขปข้อ และจะใช้เนื้อหาในบทนำสำหรับอ่านทวนว่าบทความได้ครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการเสนอให้ผู้อ่านทราบแล้วหรือไม่
บทลงท้าย คือการสรุปเรื่องที่เสนอทั้งหมด ผู้เขียนส่วนใหญ่จะเสนอหัวข้อสำหรับการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง หรืออาจตั้งคำถามเพื่อจุดให้ผู้อ่านแสดงความเห็น วิจารณ์ซึ่งจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการและนักวิจัย และจะชวนให้ผู้เขียนคนอื่นๆเขียนบทความโต้ตอบในเชิงสร้างสรรค์วิชาการต่อไป
เนื้อเรื่อง (Body)และการอ้างอิง
uกรณีที่บรรยายและมีการอ้างอิงทฤษฎี หรือข้อความจากบทความของผู้อื่น
“…………………………………………………………………………………………...” (หมายเลขสำหรับอ้างอิง หรืออ้างชื่อผู้แต่ง, ปีบทความ)
ตัวอย่าง 1) หรือ Larkin, 1981
ข้อความที่แสดงความคิดของผู้เขียน………………………………………………………………………………………………………………………...
เชิงอรรถ พิมพ์ที่ตอนล่างของหน้าที่อ้างอิง จากลำดับที่ 1-2-3 สำหรับแต่ละหน้า
uหรือรวมไว้ตอนท้ายแต่ละบท
บรรณานุกรม การอ้างอิง เชิงอรรถ
บรรณานุกรม การอ้างอิง (Bibliographic references/citation)หมายถึงรายชื่อหนังสือ บทความวารสาร และรายงานการประชุมที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าเพื่อใช้ประกอบการเขียน และพิมพ์ไว้ท้ายบทความ ต่อจากบทลงท้าย บรรณานุกรมจะมีข้อความอธิบายสั้นๆด้วยก็ได้
uเชิงอรรถ (Footnotes) คือการอ้างอิงข้อความบางตอนที่คัดลอกจากหนังสือและบทความ อาจเลือกเฉพาะย่อหน้าหนึ่ง ข้อความเพียง 2-3 บรรทัด คำพูดของนักวิชาการคนใดคนหนึ่ง หรือศัพท์วิชาการที่มีผู้บัญญัติไว้ เชิงอรรถอาจเป็นข้อความที่อธิบายเพิ่มเพื่อช่วยให้อ่านเข้าใจดีขึ้น พิมพ์ไว้ในหน้าที่อ้างอิง หรือท้ายบทแต่ละบท มีเลขกำกับท้ายข้อความที่อ้าง และโยงไปที่เชิงอรรถ
uตัวอย่าง การลงรายการบรรณานุกรม
uAmerican National Standard Institute. American National Standard of Writing Abstracts. ANSI Z39.14-1979.
Books
Cleveland and Cleveland. Introduction to Indexing and abstracting. 2nd Ed. Colorado: Libraries Unlimited, 1990.
Cunningham, Ann Marie, and Wendy Wicks. Three views of the Internet. Philadelphia: The National Federation of Abstracting and Information Services, 1993.
Journals
Wiley, Deborah Lynne.”Can the traditional abstracting and indexing services survive? Database 17. December,1994. P. 18-24.
ตัวอย่างที่ 1 (เชิงอรรถ) หนังสือ
…..(5)
(5) L.R. Rabiner and B.H. Juang. Fundamentals of Speech Regognition. Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ, 1993.
ชื่อผู้แต่ง อักษรย่อชื่อต้น ชื่อกลาง (ถ้ามี) 2 คน ใส่ and ก่อนชื่อคนสุดท้าย ชื่อเรื่อง. ชื่อสำนักพิมพ์, ชื่อเมือง, ชื่อรัฐ (ถ้ามี), ปีที่พิมพ์.
uผู้แต่งคนไทย ใช้ชื่อเต็ม ชื่อตามด้วยนามสกุลเสมอ
สำหรับการอ้างอิงทุกรูปแบบและทุกภาษา
ตัวอย่างที่ 2 (เชิงอรรถ) บทความจากวารสาร
…(6)
(6) S. Habinc and P. Sinander. Using VHDL for Board Level Simulation. IEEE Design and Test of Computers, 13:66-77, September 1996.
ชื่อผู้แต่ง อักษรย่อชื่อตัว นามสกุล. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง),ปีที่(Volume): หน้าที่-หน้าที่, เดือน ปี.
ชื่อผู้แต่งต่างประเทศเขียนชื่อต้นเป็นชื่อเต็มก็ได้
ตัวอย่างที่ 3 (เชิงอรรถ) วารสารฉบับพิเศษ
…………(1)
(1) A.Dollas and N.Kanopoulos. Reducing the Time to Market Through
Rapid Prototypeing. IEEE Computer: introduction to the special issue on
“Rapid Prototyping of Microelectronic Systems”. pages 14-15, February
1995.
ชื่อผู้แต่ง อักษรย่อชื่อตัว ตามด้วยนามสกุล มากกว่า 2 คน คั่นด้วย , and
ชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย. ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(พิมพ์ตัวเอียง) “ชื่อ Special issue” (ในเครื่องหมายคำพูด ตัวเอียง). หน้าที่อ้างอิง, เดือน ปี.
ตัวอย่างที่ 4 (เชิงอรรถ) วารสารการประชุม
…(3)
(3) J.W. Picone. Signal Modeling Techniques in Speech Recognition.
Proceedings of the IEEE, 81(9): 1215-1247, 1993.
uสมาคมวิชาชีพมีการประชุมปีละหลายครั้งและพิมพ์รายงานในลักษณะเดียวกับวารสาร อ้างอิงดังนี้:
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความที่เสนอในการประชุม. ชื่อวารสารการประชุม, ปีที่(เล่ม หรือฉบับที่): หน้าที่-หน้าที่, ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่างที่ 5 (เชิงอรรถ) รายงานการประชุม
…(2)
(2) M. Borgatti, R. Rambaldi. G. Gori, and R. Guerrieri. A Smoothly
Upgradable Approach to Virtual Emulation of HW/SW Systems. In 7th
IEEE International Symposium on Rapid System Prototyping, June
1996.
ชื่อผู้แต่ง. ชื่อบทความ. (จาก) ชื่อการประชุม เมือง,รัฐที่ประชุม(ถ้ามี), เดือน ปี.
ปัญหาที่มักจะเกิดในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถ
ไม่ทราบว่าส่วนใดเป็นชื่อ นามสกุล
ไม่ทราบว่าจะเลือกชื่อใดเป็นชื่อบทความ ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ
วารสารแต่ละฉบับมีข้อกำหนดการลงรายการบรรณานุกรมและเชิงอรรถไม่เหมือนกัน
รายละเอียด รูปแบบและเนื้อหาที่วารสารแต่ละฉบับเสนอแตกต่างกัน บางครั้งละเอียดมาก บางครั้งสั้นมากและบางครั้งผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถสืบค้นแหล่งสารสนเทศที่อ้างอิงได้
ทำข้อมูลหาย จำได้บางส่วน
การอ้างอิงในวารสารอิเล็กทรอนิกส์
1. อ้างอิงเฉพาะบทความ
2. อ้างอิงถึงบทความวารสารของสำนักพิมพ์เดียวกันที่อยู่
ในฐานข้อมูลบรรณานุกรมOn-line เช่น PubMed
3. อ้างอิงและแสดงบทความฉบับเต็ม
4. ลิขสิทธิ์
การเขียนบทคัดย่อ (Writing an abstract)
uประโยคที่ 1 บรรยายว่าบทความเรื่องอะไร คำศัพท์ที่ใช้ควรสื่อความหมายของเนื้อเรื่องและสามารถใช้เป็นคำสำคัญในการสืบค้น
uประโยคที่ 2 ชี้ให้ผู้อ่านตัดสินใจได้ว่าควรอ่านบทความฉบับเต็มหรือไม่ ระบุประเด็นสำคัญที่บทความเสนอ ไม่ต้องอธิบายรายละเอียด บอกเพียงว่าบทความเป็นรายงานการสำรวจ การวิจัย การทดลอง
ประโยคสุดท้าย แสดงผลการวิจัย
บทคัดย่อ พิมพ์ไว้ที่หน้าชื่อเรื่อง ตอนแรกในหน้าแรกของบทความ
ยาว 100-500 คำ จัดอยู่ไม่เกิน 1 หน้า A4
Summary/Synopsis/Extract/Annotation
A summary - บทสรุป จากบทความเต็มพร้อมผลการวิจัย สำหรับให้ผู้อ่าน เข้าใจเนื้อหาชัดเจนยิ่งขึ้น
An extract - ข้อความบางตอนที่คัดเลือกจากบทความเต็มโดยมีเนื้อความที่อ่านแล้วได้ความเกือบเท่ากับการอ่านเรื่องเต็ม
A synopsis - เรื่องย่อความยาวประมาณ 2000 คำจากบทความที่เคยเผยแพร่แต่ไม่เคยตีพิมพ์ มีเนื้อเรื่อง ตาราง สถิติที่นำไปอ้างอิงได้
An annotation - บทวิจารณ์สั้นๆ คำอธิบายเนื้อหาของบทความหรือหนังสือ ส่วนใหญ่พิมพ์ไว้ต่อจากบรรณานุกรม
มาตรฐานของ ISO
www.iso.ch/cate/0114040
ISO 8:1977 Documentation--Presentation of periodicals
ISO 999:1996 Information and Documentation -- Guidelines for the content, organization and presentation of indexes
ISO 2145:1978 Documentation--Numbering of divisions and subdivisions in written documents
ISO 2384:1982 Documentation--Presentation of scientific and technical reports
รายการสำหรับตรวจสอบครั้งที่ 1
ได้รวบรวมและจัดลำดับหัวข้อที่ต้องการเขียนครบถ้วนหรือไม่
บทความได้ระบุไว้หรือไม่ว่าเขียนสำหรับผู้อ่านเฉพาะกลุ่มเป้าหมายใด หรือระบุว่าผู้อ่านต้องมีพื้นความรู้เพียงใดจึงจะอ่านบทความแล้วเข้าใจดี
ตรวจดูว่าบทความระบุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอแล้วหรือไม่
หากการเขียนบทความได้ค้นคว้าสารสนเทศจากที่อื่น ต้องระบุว่าได้สารสนเทศจากที่ใดบ้าง และมีการอ้างอิงที่เป็นระบบอย่างถูกต้องหรือไม่
รายการสำหรับตรวจสอบครั้งที่ 2
กำหนดและลำดับเลขหัวข้ออย่างเป็นมาตรฐาน
รูปแบบมาตรฐานสากลในการแสดงตาราง สถิติ
บทคัดย่อเรียบเรียงตามมาตรฐานสากลและพิมพ์ไว้ในหน้าชื่อเรื่อง
บทนำควรกล่าวถึงหัวข้อสำคัญอย่างครบถ้วนและไม่ยาวเกินไป
รายการสำหรับตรวจสอบครั้งที่ 3
uบรรณาธิกร ให้ผู้ที่มีความรู้ด้านภาษาช่วยตรวจการใช้ภาษา วิธีการแสดงความคิด การบรรยายและอธิบายว่าอ่านเข้าใจหรือไม่ ส่วนใหญ่ผู้เขียนทราบข้อมูลทุกอย่างอยู่ในใจ อาจเขียนสั้นเกินไปทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นความรู้เฉพาะวิชา อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด
ภาษาพูดและภาษาเขียนไม่เหมือนกัน
ภาษาอังกฤษสำหรับคนไทย ต้องตรวจตัวสะกดบ่อยๆ และต้องให้เจ้าของภาษาที่มีความรู้เฉพาะวิชาช่วยอ่านและแก้ไขไวยากรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น